โดย .. ศูนย์วิจัยหมูหลุม (Mooloom Intelligence Unit - MIU)
เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 55 ที่ผ่านมาคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า การเติบโตการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (social media) มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรนำไปสู่การทำแท้งหรือปัญหาคุณแม่วัยใส โดยเฉพาะปัจจุบันกลุ่มเยาวชนและวัยรุ่นช่วงอายุระหว่าง 18-24% เป็นกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊คที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของผู้ใช้ทั้งหมด
โดยการตั้งครรภ์ของหญิงไทยที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์หรือคุณแม่วัยใสมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการคลอดบุตรของมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพิ่มจาก 13.55% ของมารดาที่มีการคลอดบุตรทั้งหมดในปี 2552 เป็น 13.76% ในปี 2553 สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวังขององค์กรอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10% ของมารดาที่คลอดบุตรทั้งปี
และข้อมูลจากการสำรวจพบว่ากลุ่มเด็กและเยาวชนอายุ 15-24 ปี ยังมีอัตราการดื่มสุราสูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ แม้มีแนวโน้มลดลงจาก 24.3% ในปี 2552 เหลือ 23.7% ในปี 2554 ขณะที่คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปดื่มสุราเฉลี่ย 58 ลิตรต่อคนต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 9 เท่าตัว
(ที่มา: สศช.เตือนโซเชียลมีเดียทำแม่วัยใสพุ่ง)
“ใส่บ่าแบกหาม” จึงอยากขอเสนอตัวเลขที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นนี้เป็นกับแกล้มข่าวดังนี้ ..
social media ในสังคมไทย
เว็บไซต์ alexa.com สำรวจเว็บยอดนิยมในประเทศไทยได้ดังนี้
ดูเพิ่มเติม: http://www.alexa.com/topsites/countries/TH
ประชากรบนเฟซบุ๊คในประเทศไทย
รวมยูสเซอร์ทั้งหมด 13,684,540 คน |
ชาย 6,576,200 คน (48.2%) |
หญิง 7,060,640 คน (51.8%) |
|
||
ช่วงอายุ |
|
|
13-15 ปี |
1,527,420 (11.2%) |
|
16-17 ปี |
1,380,000 (10.1%) |
|
18-24 ปี |
4,652,440 (34.0%) |
|
25-34 ปี |
3,900,700 (28.5%) |
|
35-44 ปี |
1,399,640 (10.2%) |
|
45-54 ปี |
515,300 (3.8%) |
|
55-64 ปี |
153,740 (1.1%) |
|
65 ปีขึ้นไป |
155,160 (1.1%) |
(ข้อมูลจาก http://www.checkfacebook.com/ ,เข้าดูเมื่อ 27 ก.พ. 55)
ข้อมูล Twitter เมืองไทย (26-02-2012)
ทวีตทั้งหมด: 2,466,770 ทวีต
จำนวนคนที่ทวีต: 130,855 user
tag ที่มีการพูดมากสุด: #Thestar8
คนที่ถูก mention มากสุด: @Kacha_AF8
คำ/วลีที่ถูกพูดถึงมากสุด: ร้อน
(ที่มา: http://www.lab.in.th/thaitrend/, เข้าดูเมื่อ 27 ก.พ. 55)
การสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์
เมื่อปี พ.ศ.2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์ (ในอดีตมีการสำรวจมาเพียง 4 ครั้ง คือ ปี 2518 2528 2539 และ 2549) โดยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2552 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Two Stage Sampling ทั้งในเขตเทศบาลและ นอกเขตเทศบาล ทั่วประเทศ มีจำนวนครัวเรือนตัวอย่างประมาณ 30,000 ครัวเรือน โดยสัมภาษณ์หญิงอายุ 15 – 59 ปี จำนวน 37,511 คน ซึ่งจำนวนนี้เป็นหญิงเคยสมรสอายุ 15 – 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 2,509 คน วัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี จำนวน 11,971 คน (ชาย 5,364 คน หญิง 6,607 คน) ซึ่งสรุปผลการสำรวจที่น่าสนใจได้ดังนี้ ..
อายุ สถานภาพสมรส และภาค จากผลการสำรวจ พบว่า ปี 2552 ประเทศไทยมีหญิงวัยเจริญพันธุ์ประมาณ 18.8 ล้านคน ประมาณสองในสาม (ร้อยละ 67.7) ของหญิงวัยเจริญพันธุ์อาศัยนอกเขตเทศบาล ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งในสาม (ร้อยละ 32.3) อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล สัดส่วนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อายุ 35 – 39 ปี และ 40 – 44 ปี มีมากที่สุด (ร้อยละ 15.2) ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนของหญิงเจริญพันธุ์อายุ 30 – 34 ปี และ 35 – 39 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 16.2) นอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนของหญิงเจริญพันธุ์อายุ 40 – 44 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 15.0) หญิงวัยเจริญพันธุ์มีสัดส่วนที่อาศัยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด คือ ร้อยละ 32.9 รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 24.5 17.6 13.6 และ 11.5 ตามลำดับ) |
การศึกษา หญิงวัยเจริญพันธุ์สำเร็จการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษามีสัดส่วนมากที่สุด คือ ร้อยละ 32.1 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 22.6 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย และไม่เคยเรียน/ก่อนประถมศึกษา/อื่น ๆ มีเพียงร้อยละ 17.2 15.9 และ 12.0 ตามลำดับ โดยหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีการศึกษาสูงกว่านอกเขตเทศบาล ซึ่งดูได้จากสัดส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและสูงกว่าของในเขตเทศบาลมีมากกว่านอกเขตเทศบาล |
การทำงานและอาชีพ เมื่อพิจารณาการทำงานในรอบปีที่แล้วของหญิงวัยเจริญพันธุ์ พบว่าทำงานร้อยละ 76.3 โดยนอกเขตเทศบาลมีสัดส่วนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ทำงานสูงกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 77.9 และ 73.1 ตามลำดับ) หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ทำงานในรอบปีที่แล้ว ทำงานเป็นเกษตรกรมากที่สุด รองลงมาเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน และค้าขาย/ประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยมีความแตกต่างกันตามเขตการปกครอง คือ หญิงที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลทำงานเป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชนมากที่สุด แต่หญิงที่อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลทำงานเป็นเกษตรกรมากที่สุด |
การเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน จากผลการสำรวจปี 2552 พบว่า ก่อนแต่งงานหญิงสมรสอายุ 15 – 49 ปีที่ตนเองและ/หรือสามีได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวจากบุคลากรสาธารณสุขมีเพียงร้อยละ 15.0 และตนเอง และ/หรือสามีได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมียหรือเชื้อ HIV ร้อยละ 21.7 โดยแยกเป็นตรวจหาทั้งสองอย่างร้อยละ 18.6 ตรวจหาทาลัสซีเมียอย่างเดียวร้อยละ 0.8 และหาเชื้อ HIV อย่างเดียวร้อยละ 2.3 โดยผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลได้รับบริการทั้งด้านข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัวรวมทั้งการตรวจเลือดก่อนแต่งงานในสัดส่วนที่มากกว่าผู้อยู่นอกเขตเทศบาลอย่างเห็นได้ชัด |
อายุแรกสมรส เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจปี 2549 พบว่า หญิงไทยมีอายุแรกสมรสเฉลี่ย (SMAM) ลดลงเล็กน้อย คือจาก 23.1 ปี เป็น 22.2 ปี โดยหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาล สมรสช้ากว่าหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาล และพบว่าความแตกต่างของอายุแรกสมรสเฉลี่ยของหญิงที่อยู่ในเขตเทศบาลและหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลเริ่มลดลงคือ ลดจาก 3.3 ปี ในปี 2549 เป็น 2.8 ปีในปี 2552 |
อายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก อายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของพฤติกรรมการมีบุตร หญิงที่มีบุตรเมื่ออายุน้อยมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะมีโรคแทรกซ้อนระหว่างการคลอด เพราะร่างกายยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ รวมทั้งมีโอกาสเสี่ยงต่อการตายของทารก ผลการสำรวจ พบว่า หญิงไทยมีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรก 23.3 ปี โดยหญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรกต่ำกว่าในเขตเทศบาลเล็กน้อย (23.1 ปี และ 23.9 ปี ตามลำดับ) และหญิงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอายุเฉลี่ยเมื่อคลอดบุตรคนแรกต่ำที่สุดคือ 22.9 ปี ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับปี 2549 ร้อยละ 34.2 ของหญิงไทยอายุ 15 – 49 ปีไม่มีบุตรและร้อยละ 65.8 มีบุตรเกิดรอด หากพิจารณาช่วงอายุเมื่อคลอดบุตรคนแรกของหญิงไทยที่มีบุตรเกิดรอด พบว่า คลอดบุตรคนแรกเมื่ออายุ 20 – 24 ปี มากที่สุด รองลงมาคือ อายุน้อยกว่า 20 ปี และ 25 – 29 ปีซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจปี 2549 |
การใช้การคุมกำเนิด การวางแผนคุมกำเนิดที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อสุขภาพของหญิงและบุตร ดังนี้ 1) ช่วยป้องกันหญิงจากการตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยหรือเมื่ออายุมากเกินไป 2) ช่วยเว้นระยะการมีบุตร และ 3) ช่วยในการกำหนดจำนวนบุตร การสำรวจนี้มุ่งเน้นศึกษาการคุมกำเนิดของหญิงสมรสในวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) พบว่า หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปี ที่คุมกำเนิดวิธีใดวิธีหนึ่งในปี 2552 มีร้อยละ 79.6 ลดลงเล็กน้อยจากปี 2549 ซึ่งมีร้อยละ 81.1 การลดลงของอัตราการคุมกำเนิดพบในทุกภาคยกเว้น ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่อย่างไรก็ตาม ภาคใต้ก็ยังมีอัตราการคุมกำเนิดต่ำที่สุด |
วิธีการคุมกำเนิด ปี 2552 หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปี มีร้อยละ 77.4 ที่ตนเองหรือสามีคุมกำเนิดด้วยวิธีแบบสมัยใหม่ โดยวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 35.0) ตามด้วยทำหมันหญิง(ร้อยละ 23.7) ยาฉีดคุมกำเนิด (ร้อยละ 14.0) ถุงยางอนามัย (ร้อยละ 2.3) และวิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่อื่น ๆ (ยาคุมฉุกเฉิน/ยาคุมหลังร่วมเพศ ยาฝังคุมกำเนิดห่วงอนามัย และทำหมันชาย) ร้อยละ 2.5 ส่วนวิธีแบบดั้งเดิมที่ใช้ ได้แก่นับระยะปลอดภัยร้อยละ 1.7 และวิธีอื่น ๆ ร้อยละ 0.5 อัตราการคุมกำเนิดแปรผันตามอายุของหญิงสมรสกลุ่มอายุ 30 - 44 ปีมีอัตราการคุมกำเนิดสูงกว่ากลุ่มอายุอื่น หญิงอายุน้อยนิยมใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวคือ ยาเม็ดคุมกำเนิดมากกว่าวิธีอื่น รองลงมา คือ ยาฉีดคุมกำเนิด ขณะที่หญิงอายุ 40 – 49 ปี นิยมใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวรมากที่สุด คือ ทำหมันหญิง รองลงมาใช้แบบชั่วคราวคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด |
เหตุผลที่ไม่คุมกำเนิด หญิงสมรสอายุ 15 - 49 ปีที่ปัจจุบันไม่คุมกำเนิดเนื่องจากต้องการมีบุตรเพิ่มมากที่สุด (ร้อยละ 32.8) รองลงมาคือ คิดว่าตนเองอายุมากหรือไม่มีประจำเดือนแล้ว (ร้อยละ 15.2) กำลังตั้งครรภ์ (ร้อยละ 14.7) และสามีไม่ค่อยอยู่บ้าน (ร้อยละ 10.1) เหตุผลที่ไม่คุมกำเนิดของหญิงสมรสมีความแตกต่างกันตามอายุคือ เกือบครึ่งหนึ่งของหญิงสมรสอายุ 15 - 19 ปีไม่คุมกำเนิดเพราะกำลังตั้งครรภ์ มากกว่า 1 ใน 3 ถึงเกือบครึ่งหนึ่งของหญิงสมรสอายุ 20 - 39 ปีต้องการมีบุตรเพิ่ม และร้อยละ 28 - 53 ของหญิงสมรสอายุ 40 - 49 ปี ไม่คุมกำเนิดเพราะคิดว่าตนเองอายุมากหรือไม่มีประจำเดือนแล้ว |
ความตั้งใจมีบุตร ความตั้งใจมีบุตรในที่นี้หมายถึง ขณะตั้งครรภ์บุตรคนสุดท้องแม่มีความต้องการมีบุตรในช่วงเวลานั้น ผลที่แสดงในตาราง 7 พบว่า หญิงเคยสมรสอายุ 15 – 49 ปีที่มีบุตรคนสุดท้องที่ยังมีชีวิตอยู่อายุต่ำกว่า 1 ปี มีถึงร้อยละ 75.9 ที่มีความตั้งใจมีบุตรขณะตั้งครรภ์ สำหรับผู้ไม่ตั้งใจมีบุตรมีเพียงร้อยละ 16.2 (ต้องการมีบุตรแต่ไม่ใช่ในช่วงเวลานั้นร้อยละ 5.5 และไม่ต้องการมีบุตรร้อยละ 10.7) แต่อย่างไรก็ตามพบว่า มีอีกร้อยละ 7.9 ที่ตอบว่าอย่างไรก็ได้ (มีหรือไม่มีบุตรในช่วงเวลานั้นก็ได้) เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มหญิงเคยสมรสอายุ 15 – 19 ปี พบว่าเกือบ 1 ใน 3 ไม่ตั้งใจมีบุตร ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนที่ไม่ต้องการมีบุตรของหญิงเคยสมรสอายุ 15 – 49 ปีทั้งหมดประมาณเท่าตัว ผลดังกล่าวอาจเนื่องจากกลุ่มวัยรุ่นอายุน้อยยังไม่พร้อมจะมีลูก หญิงเคยสมรสกลุ่มที่ไม่ตั้งใจมีบุตรแต่มีการตั้งครรภ์ ทั้งกลุ่มอายุ 15 – 49 ปี และ 15 – 19 ปี มีสาเหตุเนื่องจากลืมกิน/ฉีดยาคุมกำเนิดมากที่สุด รองลงมาคือ คุมกำเนิดแบบวิธีดั้งเดิม (นับระยะปลอดภัย/หลั่งภายนอก) โดยมีข้อสังเกตุสำหรับกลุ่มหญิงที่มีอายุน้อย (15 – 19 ปี) พบว่า เหตุผลที่ไม่ป้องกันคือ ไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ถึงร้อยละ 25.6 |
การเคยใช้การคุมกำเนิด (วัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี) จากผลการสำรวจวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพสมรส พบว่า มีร้อยละ 35.6 เคยใช้วิธีคุมกำเนิด กลุ่มอายุ 15 – 19 ปีมีสัดส่วนการเคยใช้วิธีคุมกำเนิดน้อยกว่ากลุ่มอายุ 20 – 24 ปี (ร้อยละ 15.7 และ 55.6 ตามลำดับ) การเคยใช้การคุมกำเนิดสัมพันธ์กับสถานภาพสมรสคือกลุ่มวัยรุ่นที่สมรส (รวม อยู่กินฉันท์สามีภรรยา) และหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่/เคยสมรสแต่ไม่ทราบสถานภาพสมรส มีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดมากถึงร้อยละ 83.5 และ 70.3 ตามลำดับ แต่กลุ่มวัยรุ่นโสดมีสัดส่วนดังกล่าวน้อยที่สุดเพียงร้อยละ 16.2 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่า วัยกลุ่มอายุ 15 – 19 ปี ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเคยใช้วิธีคุมกำเนิดในสัดส่วนที่น้อยและไม่แตกต่างกันประมาณร้อยละ 15.0 และมีสัดส่วนใกล้เคียงกันทั้งในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล โดยภาคเหนือและภาคกลางมีสัดส่วนของวัยรุ่นที่เคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าภาคอื่น คือ ประมาณร้อยละ 19.0 ในขณะที่ภาคใต้มีสัดส่วนน้อยที่สุด ร้อยละ 12.1 สำหรับวัยรุ่นกลุ่มอายุ 20 – 24 ปี เพศหญิงมีสัดส่วนของการเคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงกว่าเพศชาย (ร้อยละ 57.8 และ 53.4 ตามลำดับ) โดยนอกเขตเทศบาลมีผู้ใช้วิธีคุมกำเนิดมากกว่าในเขตเทศบาล (ร้อยละ 56.4 และ 53.4 ตามลำดับ) ภาคเหนือมีสัดส่วนผู้เคยใช้วิธีคุมกำเนิดสูงที่สุด (ร้อยละ 61.3) และภาคใต้มีการใช้วิธีคุมกำเนิดน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 46.7 ถ้าพิจารณาเฉพาะคนโสด พบว่า ร้อยละ 16.2 ของวัยรุ่นโสดอายุ 15 – 24 ปีเคยใช้การคุมกำเนิด วัยรุ่นชายโสดมีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดสูงกว่าหญิง ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลมีสัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดสูงกว่านอกเขตเทศบาล และกรุงเทพมหานครสูงกว่าภาคอื่นรองลงมาคือ ภาคเหนือ และพบว่า สัดส่วนที่เคยใช้การคุมกำเนิดของกลุ่มอายุ 20 – 24 ปี สูงกว่ากลุ่มอายุ 15 – 19 ปี (ร้อยละ 29.7 และ 8.5 ตามลำดับ) |
การใช้การคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย วัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปี จากการสอบถามกลุ่มวัยรุ่น (15 – 24 ปี) ที่เคยใช้วิธีการคุมกำเนิดพบว่า ร้อยละ 91.9 ยังใช้วิธีคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย โดยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากที่สุด (ร้อยละ 44.9) รองลงมาใช้ถุงยางอนามัย (ร้อยละ 31.4) ยาฉีดคุมกำเนิด (ร้อยละ 9.3) และพบว่ามีการใช้ยาคุมฉุกเฉิน/คุมหลังร่วมเพศร้อยละ 1.8 และมีเพียงร้อยละ 8.1 ที่ไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย ในทั้ง 2 กลุ่มอายุ คือ 15 – 19 ปี และ 20 – 24 ปี พบว่า ผู้ชายมีการป้องกันการตั้งครรภ์มากกว่าผู้หญิงในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายโดยอาจจะเป็นการป้องกันโดยตัวเองเป็นผู้ใช้หรือให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้ใช้ก็ได้ในกลุ่มอายุน้อย (15 – 19 ปี) ผู้ชายมีการใช้ถุงยางอนามัยถึงร้อยละ 72.7 แต่เมื่ออายุมากขึ้น พบว่า ผู้ชายมีการใช้ถุงยางอนามัยลดลงเป็นร้อยละ 49.0 แต่มีสัดส่วนการให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้คุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าสำหรับการคุมกำเนิดของผู้หญิงพบว่า ผู้หญิงมีการใช้ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้นตามอายุ (อายุ 15 – 19 ปี ร้อยละ 56.1 และอายุ 20 – 24 ปี ร้อยละ 60.5) วัยรุ่นโสดอายุ 15 – 24 ปี เมื่อพิจารณาวัยรุ่นอายุ 15 – 24 ปีที่เคยใช้วิธีการคุมกำเนิดเฉพาะกลุ่มคนโสด พบว่า วัยรุ่นโสดกลุ่มนี้มีการใช้วิธีคุมกำเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้คู่ของตนตั้งครรภ์เมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายในสัดส่วนค่อนข้างสูง (ร้อยละ 98.8) แต่วิธีคุมกำเนิดที่ใช้มีความแตกต่างกันคือวัยรุ่นโสดใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวเท่านั้น โดยส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัยมากถึงร้อยละ 72.2 รองลงมาคือ ยาเม็ดคุมกำเนิด (ร้อยละ 18.5) |