Skip to main content

จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ

                คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด  สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจน คือ คนว่างงาน ไม่ต้องพูดถึงยุค 4.0 ที่โรบอทและปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาแทนที่มนุษย์เพิ่ม

 แนวทางชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ๆระดับเจนเนอร์เรชั่นจึงควรหยิบมาพูด เช่น Slow Life

                เรื่องนี้ยังไม่ได้ถอดรหัสออกมาให้ชัดว่าคือใคร คืออะไร ต้องการอะไร และผู้ประกอบการรวมถึงรัฐ ควรจัดสินค้าและบริการอะไรมาสนอง หรือแม้กระทั่งสร้างนโยบายหรือขายโครงการอะไรเพื่อแลกคะแนนนิยม/โหวต  

                สายสโลว์ไลฟ์ในประเทศพัฒนาแล้วนั้น จะไม่ต้านการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ถ้าโครงสร้างทำให้ชีวิตตนง่าย สะดวก ประหยัด ก็ล้วนชื่นชอบทั้งนั้นเพราะจะได้เอาเวลาไปพิถีพิถันกับเรื่องอื่นต่อ แนวทางการเอาชีวิตรอดก็จะมีลักษณะการพลิกชีวิตตัวเองให้อยู่ในการควบคุมของตน ไม่ถูกกำกับด้วย เวลาทำงาน เวลาพัก ที่ถูกนายจ้างกำหนดมา คือ มันไปไกลถึงขนาดที่ว่า การชุมนุมเรียกร้องของแรงงาน จะไม่เน้นเรื่องเรียกค่าตอบแทน หรือเงิน แต่จะเน้น ขอเวลาว่างมากขึ้น สวัสดิการมากขึ้น เพื่อให้ไปใช้ชีวิตมิติอื่นมากขึ้น เช่น ศิลปวิทยาการ หรือพักผ่อน สันทนาการ

                ที่เห็นเป็นรูปธรรมสุด น่าจะเป็น กลุ่ม Slow Life ด้านอาหาร ในยุโรปเมดิเตอร์เรเนี่ยน เป็นรูปธรรม เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชตามธรรมชาติ เก็บมาปรุงแบบพิถีพิถัน และกินเรื่อยๆ นั่งพูดคุย สังสรรค์ไปด้วย 

                หาความสุขตามประสา คนตัวเล็กๆ คนหนึ่งในสังคม

ถ้าจะ Slow Life แบบไม่อดตาย มันต้องผลักดันรัฐสวัสดิการให้สำเร็จก่อน หรือไม่ก็คือ เป็น เศรษฐีมีเวลาว่างอยู่แล้ว

                ใครจะไปคาดเดาได้ว่า ตะกร้อลอดห่วง แบบล้อมวงเตะทีละ 2-3 ชั่วโมง ก็อาจกลายเป็นกิจกรรมฮิตในอนาคต เพราะ ช่างเป็นกิจกรรมสุดฮิป ทั้งยังสะท้อนวิถี SlowLife อีกด้วย

                การเดินป่า หาของตามธรรมชาติ ตามฤดูกิน เพื่อให้ร่างกายและสมองเจอรสสัมผัสใหม่ และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์แบบวิถีกะเหรี่ยง ปกากะญอ เขาก็มีวิถีชีวิตแบบนั้นอยู่แล้ว ก็โดนรัฐจับกุมหรือแปะป้าย บอก "บุกรุกป่า"

 

ของไทยที่วิถี SlowLife, Kinfolk เข้ามาสู่ความสนใจของชนชั้นกลางก็เพราะมีกลุ่ม "คนว่าง" เกิดใหม่ จากการหารายได้ผ่านตลาดการเงินการลงทุน เช่น เล่นหุ้น ลงทุนผ่านกองทุน แทนการทำงานจริงๆ เยอะ

                ในเมื่อมีเงิน มีเวลา ก็ไม่ต้องหา “ป้าย” ฮิปๆ ชิคๆ คูลๆ มาแปะ เสริมความอิ่มอกอิ่มใจและดูดีในสายตาตัวเองและสังคม แต่คำถามที่อาจจะย้อนมาหา คือว่า  “ชีวิตคืออะไร”   เพราะเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องส่วนตัว ที่มาพร้อมความเปลี่ยวเหงา

 

                หากมองสังคมที่เป็นอารยะ การลดความรู้สึกอ้างว้างไร้ค่าไร้ตัวตน จะมาในรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ทำกิจกรรมสาธารณะที่มีคุณค่าต่อผู้อื่นและอิ่มเอิบในใจตน

                การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าร่วมขบวนการทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่อยู่ในสำนึกพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

                การมีส่วนร่วมในการผลักดันระบบรัฐสวัสดิการ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กลุ่มเสี่ยง   ล้วนมีส่วนลดความเสี่ยงจากความอยุติธรรมในสังคม การขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือป้องกันการลุกฮือของมวลชนได้อย่างละมุนละไม

                ยิ่งศึกษาไปถึงรากของมาร์กซ ในมุมของวิทยาศาสตร์สังคม และการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยม เห็นจะเป็นยุโรปเหนือสแกนดิเนเวียนที่ใช้กรอบคิดนี้เป็นแนวทางและพัฒนาโครงสร้างรัฐไปสู่การสังคมอุดมคติผ่านเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย   พรรคแรงงาน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และรัฐสภารัฐ ไปจนถึงการสร้างแนวร่วมในสภายุโรป ผ่านแนวร่วมสหภาพและองค์กรประชาสังคมต่างๆ   ร่วมกันคิดร่วมกันแก้

                แต่กระแสที่มาแรงในตอนนี้ คือ ยุโรปใต้ที่เริ่มย้อนกลับไปถอดบทเรียนของลาตินอเมริกา ที่ใช้แนวทางโรแมนติคเกี่ยวกับการปลุกระดมมวลชนที่ถูกระบบตลาดทุนนิยมโลกเบียดขับขูดรีดจนรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง รู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรม แล้วเกิดความรู้สึกรุนแรงในการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ    เริ่มจากการเดินขบวน การยึด ไปจนถึงการจัดตั้งองค์กรนำแนวพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายเพื่อไปยึดอำนาจในสภา และมีแนวโน้มในการขัดแย้งกับชนชั้นนำทางการเมืองในระดับยุโรป เทคโนแครตในองค์การระหว่างประเทศ และระบบราชการในประเทศ   แต่มีแนวร่วมเป็นขบวนการเคลื่อนไหวในประเทศและข้ามไปถึงประเทศอื่นๆในโลก    มีความรักและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

                สิ่งที่ต้องทำก่อน คือ การก้าวข้ามกับดักทางความคิด เชิงตัวเลขเศรษฐกิจของนักคิดฝ่ายขวา หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

                อย่างไรก็ดี ฝ่ายซ้ายเหล่านี้ที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะชี้ให้เห็นปัญหาของโครงสร้างปัจจุบันอย่างชัดเจน มีแนวทางแก้ไขเป็นรูปธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในสังคมว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุกฮือบานปลายเป็นการใช้กำลังปล้นสะดมใดๆ แต่จะใช้แนวทางเปลี่ยนแปลงเชิงสันติวิธี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนขันพื้นฐานของคนทั้งสังคม

                นั่นคือ ใช้ภราดรภาพเป็นธงนำ

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกที่ต้องนำมาพูดกันก่อนเลยเห็นจะไม่พ้นว่า กฎหมายคืออะไร เพราะไม่งั้นคงไปต่อไม่ได้ และที่จริงเรื่องนี้ก็เป็นปัญหามากในความเป็นจริง  เนื่องจากหลายครั้งเรามีปัญหากับคนอื่น หรือสังคมมีความขัดแย้งเถียงกันไม่จบไม่สิ้นก็ไม่รู้ว่า เรื่องนี้ควรจะจบลงอย่างไร ชีวิตจะเดินต่อไปแบบไหน   ซ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องแรกนี่เกิดขึ้นกับผู้คนมากมายครับ เนื่องจากมันเป็นชีวิตของเพื่อนผมเองที่บ้านเกิดอยู่ต่างจังหวัดแต่เค้าเข้ามาทำงานกรุงเทพฯ แล้วเช่าหอพักอยู่รอบนอกกรุงเทพฯเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากที่ทำงานอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ถ้าไปเช่าหออยู่ใกล้ๆ สงสัยจะไม่เหลืออะไรให้เก็บให้ใช้เลย จนเธอต้องมาบ่นให้ฟังเรื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อกฎหมายเข้ามาใกล้ชีวิตคนธรรมดาอย่างเรามากขึ้น จึงเป็นการยากที่จะไม่สนใจอีกต่อไป   พอเกิดปัญหาขึ้นมากับตัวเอง ทางหนึ่งที่คนส่วนใหญ่พอจะทำได้ คือ ปรึกษากับคนใกล้ตัวที่ร่ำเรียนมาทางกฎหมาย เพราะจะให้ไปปรึกษากับทนาย หรือนักกฎหมายที่ไหนก็ยังไม่กล้า เพราะกลัวว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ไหนควา