Skip to main content

จะพัฒนารัฐ ต้องมุ้งเป้าไปที่ ลูกหลานแรงงานและเกษตรกรโดยเฉพาะสตรี นี่คือสิ่งที่องค์การระหว่างประเทศด้านการพัฒนาเน้นย้ำเสมอ

                คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด  สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจน คือ คนว่างงาน ไม่ต้องพูดถึงยุค 4.0 ที่โรบอทและปัญญาประดิษฐ์จะเข้ามาแทนที่มนุษย์เพิ่ม

 แนวทางชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ๆระดับเจนเนอร์เรชั่นจึงควรหยิบมาพูด เช่น Slow Life

                เรื่องนี้ยังไม่ได้ถอดรหัสออกมาให้ชัดว่าคือใคร คืออะไร ต้องการอะไร และผู้ประกอบการรวมถึงรัฐ ควรจัดสินค้าและบริการอะไรมาสนอง หรือแม้กระทั่งสร้างนโยบายหรือขายโครงการอะไรเพื่อแลกคะแนนนิยม/โหวต  

                สายสโลว์ไลฟ์ในประเทศพัฒนาแล้วนั้น จะไม่ต้านการลงทุนในโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ถ้าโครงสร้างทำให้ชีวิตตนง่าย สะดวก ประหยัด ก็ล้วนชื่นชอบทั้งนั้นเพราะจะได้เอาเวลาไปพิถีพิถันกับเรื่องอื่นต่อ แนวทางการเอาชีวิตรอดก็จะมีลักษณะการพลิกชีวิตตัวเองให้อยู่ในการควบคุมของตน ไม่ถูกกำกับด้วย เวลาทำงาน เวลาพัก ที่ถูกนายจ้างกำหนดมา คือ มันไปไกลถึงขนาดที่ว่า การชุมนุมเรียกร้องของแรงงาน จะไม่เน้นเรื่องเรียกค่าตอบแทน หรือเงิน แต่จะเน้น ขอเวลาว่างมากขึ้น สวัสดิการมากขึ้น เพื่อให้ไปใช้ชีวิตมิติอื่นมากขึ้น เช่น ศิลปวิทยาการ หรือพักผ่อน สันทนาการ

                ที่เห็นเป็นรูปธรรมสุด น่าจะเป็น กลุ่ม Slow Life ด้านอาหาร ในยุโรปเมดิเตอร์เรเนี่ยน เป็นรูปธรรม เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชตามธรรมชาติ เก็บมาปรุงแบบพิถีพิถัน และกินเรื่อยๆ นั่งพูดคุย สังสรรค์ไปด้วย 

                หาความสุขตามประสา คนตัวเล็กๆ คนหนึ่งในสังคม

ถ้าจะ Slow Life แบบไม่อดตาย มันต้องผลักดันรัฐสวัสดิการให้สำเร็จก่อน หรือไม่ก็คือ เป็น เศรษฐีมีเวลาว่างอยู่แล้ว

                ใครจะไปคาดเดาได้ว่า ตะกร้อลอดห่วง แบบล้อมวงเตะทีละ 2-3 ชั่วโมง ก็อาจกลายเป็นกิจกรรมฮิตในอนาคต เพราะ ช่างเป็นกิจกรรมสุดฮิป ทั้งยังสะท้อนวิถี SlowLife อีกด้วย

                การเดินป่า หาของตามธรรมชาติ ตามฤดูกิน เพื่อให้ร่างกายและสมองเจอรสสัมผัสใหม่ และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์แบบวิถีกะเหรี่ยง ปกากะญอ เขาก็มีวิถีชีวิตแบบนั้นอยู่แล้ว ก็โดนรัฐจับกุมหรือแปะป้าย บอก "บุกรุกป่า"

 

ของไทยที่วิถี SlowLife, Kinfolk เข้ามาสู่ความสนใจของชนชั้นกลางก็เพราะมีกลุ่ม "คนว่าง" เกิดใหม่ จากการหารายได้ผ่านตลาดการเงินการลงทุน เช่น เล่นหุ้น ลงทุนผ่านกองทุน แทนการทำงานจริงๆ เยอะ

                ในเมื่อมีเงิน มีเวลา ก็ไม่ต้องหา “ป้าย” ฮิปๆ ชิคๆ คูลๆ มาแปะ เสริมความอิ่มอกอิ่มใจและดูดีในสายตาตัวเองและสังคม แต่คำถามที่อาจจะย้อนมาหา คือว่า  “ชีวิตคืออะไร”   เพราะเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องส่วนตัว ที่มาพร้อมความเปลี่ยวเหงา

 

                หากมองสังคมที่เป็นอารยะ การลดความรู้สึกอ้างว้างไร้ค่าไร้ตัวตน จะมาในรูปแบบการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ทำกิจกรรมสาธารณะที่มีคุณค่าต่อผู้อื่นและอิ่มเอิบในใจตน

                การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจ ด้วยการเข้าร่วมขบวนการทางการเมืองจึงเป็นสิ่งที่อยู่ในสำนึกพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

                การมีส่วนร่วมในการผลักดันระบบรัฐสวัสดิการ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กลุ่มเสี่ยง   ล้วนมีส่วนลดความเสี่ยงจากความอยุติธรรมในสังคม การขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเครื่องมือป้องกันการลุกฮือของมวลชนได้อย่างละมุนละไม

                ยิ่งศึกษาไปถึงรากของมาร์กซ ในมุมของวิทยาศาสตร์สังคม และการวิเคราะห์ปรัชญาวัตถุนิยม เห็นจะเป็นยุโรปเหนือสแกนดิเนเวียนที่ใช้กรอบคิดนี้เป็นแนวทางและพัฒนาโครงสร้างรัฐไปสู่การสังคมอุดมคติผ่านเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย   พรรคแรงงาน พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย และรัฐสภารัฐ ไปจนถึงการสร้างแนวร่วมในสภายุโรป ผ่านแนวร่วมสหภาพและองค์กรประชาสังคมต่างๆ   ร่วมกันคิดร่วมกันแก้

                แต่กระแสที่มาแรงในตอนนี้ คือ ยุโรปใต้ที่เริ่มย้อนกลับไปถอดบทเรียนของลาตินอเมริกา ที่ใช้แนวทางโรแมนติคเกี่ยวกับการปลุกระดมมวลชนที่ถูกระบบตลาดทุนนิยมโลกเบียดขับขูดรีดจนรู้สึกแปลกแยกกับตัวเอง รู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรม แล้วเกิดความรู้สึกรุนแรงในการลุกฮือขึ้นยึดอำนาจรัฐเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ    เริ่มจากการเดินขบวน การยึด ไปจนถึงการจัดตั้งองค์กรนำแนวพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายเพื่อไปยึดอำนาจในสภา และมีแนวโน้มในการขัดแย้งกับชนชั้นนำทางการเมืองในระดับยุโรป เทคโนแครตในองค์การระหว่างประเทศ และระบบราชการในประเทศ   แต่มีแนวร่วมเป็นขบวนการเคลื่อนไหวในประเทศและข้ามไปถึงประเทศอื่นๆในโลก    มีความรักและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์

                สิ่งที่ต้องทำก่อน คือ การก้าวข้ามกับดักทางความคิด เชิงตัวเลขเศรษฐกิจของนักคิดฝ่ายขวา หรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

                อย่างไรก็ดี ฝ่ายซ้ายเหล่านี้ที่ประสบความสำเร็จ ก็เพราะชี้ให้เห็นปัญหาของโครงสร้างปัจจุบันอย่างชัดเจน มีแนวทางแก้ไขเป็นรูปธรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในสังคมว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์รุกฮือบานปลายเป็นการใช้กำลังปล้นสะดมใดๆ แต่จะใช้แนวทางเปลี่ยนแปลงเชิงสันติวิธี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั้งหลายเข้ามามีส่วนร่วมได้ตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย และเคารพสิทธิมนุษยชนขันพื้นฐานของคนทั้งสังคม

                นั่นคือ ใช้ภราดรภาพเป็นธงนำ

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2