Skip to main content

พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว

พลังธรรมชาติ (Force of Nature) เป็นสิ่งที่กฎหมายกล่าวถึงไว้ในหลายฉบับทั้ง กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อยไปจนถึงกฎหมายมหาชนต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ   เนื่องจากพลังธรรมชาติเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์และสังคมอย่างแยกออกจากกันไม่ได้   กฎหมายจึงต้องเข้ามาบอกว่า หากพลังธรรมชาติทำให้เกิดเรื่องต่างๆ ขึ้นมาจะมีผลอย่างไร

เหตุแผ่นดินไหวที่ทำให้ถนนแตกแยกยุบลงไปเป็นหลุมใหญ่ ทำให้รถที่สัญจรผ่านมาตกลงไปจนเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จะถามหาความรับผิดชอบจากใครคงไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่การคาดเดา   ความเสียหายจึงตกเป็นพับแก่ผู้ที่ประสบภัยนั้น   

กฎหมายอาญาพูดไว้ในเรื่องเหตุสุดวิสัย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีใครต้องรับผิดและไม่ถูกกฎหมายลงโทษ  เช่น เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ทำให้หินถล่มลงมาบนถนนทำให้คนที่ขับรถผ่านมาต้องหักหลบจนไปชนป้ายทางหลวงและที่กั้นของรัฐเสียหาย   ผู้ขับรถก็ไม่ต้องรับผิดในการทำให้ทรัพย์สินของรัฐเสียหาย เนื่องจากต้องปกป้องชีวิตตนจากพลังธรรมชาติที่ตนมิอาจควบคุมได้

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็กล่าวไว้ว่าพลังธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ตกเป็นภาระหนี้แก่บุคคลใด   เช่น   เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนถล่มจนต้นไม้โค่นลงมาใส่รถยนต์   เจ้าของที่ดินซึ่งต้นไม้นั้นงอกมาแล้วหักโค่นใส่รถ ก็ไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถ เพราะตนไม่อาจคาดเดาพลังธรรมชาติได้

อย่างไรก็ดี หากบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับพลังธรรมชิตเหล่านั้น มิได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ก็อาจต้องรับผิดได้ เช่น หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่พยากรณ์อากาศซึ่งไม่ใช้ความระมัดระวังตรวจสอบสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหว แล้วไม่ได้แจ้งเตือนสึนามิ ตามที่ระเบียบการต่างๆกำหนดไว้   หากเกิดคลื่นยักษ์ถล่มจนมีความเสียหาย หน่วยงาน/เจ้าหน้าที่เหล่านั้นก็ต้องรับผิดทั้งทางวินัย รับโทษทางอาญา และชดเชยค่าเสียหาย จากความประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอ

อีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย ก็คือ เรื่องลี้ลับ พลังที่อยู่เหนือความเข้าใจของวิทยาศาสตร์ พวกผีสาง นางไม้ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เจ้ากรรมนายเวร สารพัด ภูตผีวิญญาณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่หลายคนมักได้ยินตั้งแต่วิญญาณระดับท้องถิ่น บ้านๆ ไปจนถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพสักการะระดับชาติ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ

พลังลี้ลับที่จะพูดถึงในบทความนี้จึงจะจำกัดวงอยู่ที่ พลังลี้ลับซึ่งวิทยาศาสตร์มิอาจพิสูจน์ได้ว่ามีจริง ไม่มีตรรกะเหตุผลที่ชัดเจน   แต่ปรากฏคนจำนวนคิดว่าควรเชื่อถือและปฏิบัติตาม ไปจนถึงเคารพบูชา ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตกันเลยทีเดียว   เช่น   เรื่องการอวตารบุคคลสำคัญหรือทวยเทพ การเข้าทรง วิญญาณสิงสู่ การกลับชาติมาเกิด   ฯลฯ

ความสำคัญของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า   กฎหมายแบบตะวันตกที่เรารับมาใช้นั้น เกิดขึ้นจากประวัติศาสตร์ของสังคมตะวันตกที่ผ่านความเจ็บช้ำจากยุคมืด ที่ผู้มีอำนาจบารมีอาศัยวิธีการอ้างสิ่งลี้ลับมากำจัดทำลายฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่ขัดผลประโยชน์ แย่งชิงความนิยมไปจากกลุ่มของตน   เช่น   การใช้ความรุนแรงของศาสนจักรต่อกลุ่มคนนอกรีต

การอ้างพระเจ้าเพื่อเผาทำลายเหล่าแม่มดหมอผีที่ทำการปรุงยาพิษ โดยเหตุที่ชาวบ้านเลิกเข้าโบสถ์สวดมนต์หรือไปรับการรักษาพรมน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหลวงพ่อในโบสถ์ เพราะพบว่าแถบชายป่ามีหญิงเก็บของป่าและปรุงยารักษาโรคได้ชะงัดนัก   ใช่แล้ว อำนาจในการรักษาโรค เป็นอำนาจทางการเมือง และเป็นเครื่องมือแย่งชิงความนิยม มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว   ใครที่โผล่มาแย่งชิงอำนาจในการรักษาคนจนจำนวนมาก ย่อมเป็นภัยคุกคามต่อกลุ่มอำนาจเก่าที่คงฐานอำนาจด้วยการเรียกร้องการกตัญญูรู้บุญคุณจากผู้มารับการรักษา

การเกิดรัฐสมัยใหม่จึงมาพร้อมกับการต่อสู้ระหว่าง เจ้าผู้ปกครองรุ่นใหม่ ที่ต้องการสลัดตนออกจากเงาดำคลุมปัญญาและความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน   กับ   ผู้มีบารมีที่ถืออ้างความศักดิ์สิทธิ์ว่าถือพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น รักษาโรค โดยอาศัยความรู้ที่ถ่ายทอดกันมาผ่านกลุ่มของตน ยึดครองอำนาจในการตีความคัมภีร์เที่ยวชี้หน้าว่า คนนั้นนอกรีต นังนั่นเป็นแม่มด นายคนนั้นเป็นหมอผี   โดยไม่มีหลักฐานมายืนยันอย่างหนักแน่น

การรื้อฟื้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้วแต่โดนกดไว้โดยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นการควักเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ถูกซ่อนเก็บไว้ออกมาฟาดฟัน ความเลื่อนลอยของฝ่ายที่อ้างความศักดิ์สิทธิ์อย่างได้ผล   แม้จะต้องใช้เวลาต่อสู้กว่าจะคลี่คลายเป็นร้อยปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เหตุผลและหลักฐานที่พิสูจน์ได้ชัดเจน กลายเป็นรากฐานของกติกาในการอยู่ร่วมกัน   เมื่อใดมีข้อพิพาทก็ต้องตัดสินกันด้วยพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้โดยสามารถเปิดเผยวิธีการและเนื้อหาได้ชัดเจน

สิ่งที่น่าสนใจในประเทศไทย คือ สารพัดกรณีที่ ผีเข้ามาช่วยคลี่คลายคดีปริศนา เด็กที่ระลึกความตายในชาติที่แล้วได้เพราะกลับชาติมาเกิดจึงไปแจ้งเอาผิดกับคนร้าย หรือแม้กระทั่งการทรงเจ้าแล้วไปชี้เบาะแสการกระทำผิด หรือคนผีเข้าแล้วกล่าวหาปรักปรำผู้ต้องสงสัยว่าได้กระทำความผิดจริง    สิ่งลี้ลับเหล่านี้เป็นพลังเหนือมนุษย์ซึ่งกฎหมายไม่อาจยอมรับได้

การรับร้องทุกข์จากอาการเหล่านี้ตรงๆนั้นกระทำมิได้ รวมถึงไม่อาจนำมาเป็นคำให้การหรือเป็นพยานในชั้นพนักงานสอบสวน อัยการ ศาล  แม้ในทางปฏิบัติจะมีการกล้อมแกล้มอยู่บ้างก็เป็นเพียงเทคนิควิธีในการกดดันผู้ต้องสงสัย หรือบีบบังคับญาติสนิทมิตรสหายให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เสียมากกว่า   แต่ต้องไม่ลืมว่าการกระทำเหล่านี้เป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายที่เสียประโยชน์ยกเป็นข้อต่อสู้ในการทำลายความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานและความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการสืบสวน

สิ่งลี้ลับที่กฎหมายยอมรับอย่างชัดแจ้งถึงขนาดมีบัญญัติไว้ในกฎหมายก็มีอยู่เช่นว่า กฎหมายยอมรับว่า การสาปแช่ง ทำคุณไสย เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลผู้ถูกกระทำ  ถือเป็นความเสียหายที่อาจเรียกร้องค่าเสียหายกันได้   ดังที่อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติท่านหนึ่ง ฟ้องร้องบุคคลที่เผาหุ่นเผาพริกเผาเกลือทำพิธีสาปแช่งตนไปสู่ชั้นศาล

ในชั้นศาลก่อนที่จะมีการเบิกความพยาน ก็จะมีการบังคับให้พยานสาบานในกรอบความเชื่อของบุคคลเหล่านั้น เช่น ถ้าเป็นคนพุทธก็จะอ้างถึงคุณพระศรีรัตนตรัย และพระ/วัดสำคัญของท้องถิ่นนั้น   หากเป็น ศาสนิกชนของศาสนาที่มีพระเจ้าก็จะขออำนาจของพระผู้เป็นเจ้าในการควบคุมสัจจะจากบุคคลนั้น   แม้กระทั่งคนที่ไม่มีศาสนาหรือไม่ได้นับถือศาสนาสมัยใหม่ ก็จะต้องสาบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้พยานเกรงว่าจะมีอันเป็นไปหากโกหก

ปัจจุบัน สังคมไทยก็กำลังตะลึงพรึงเพลิดกับ เหล่านักบวชผู้อยู่เหนือกฎหมาย เป็นอันมากเนื่องจากคนในสังคมประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดรู้ดีว่า ตราบที่ยังมีความเป็นคนเหมือนกันย่อมต้องมีความเท่าเทียมกัน ตามหลัก “มนุษย์ทุกคนเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย”   กล่าวคือ ไม่ว่าจะมีหัวโขน อาภร เป็นเครื่องยกตนเหนือคนอื่นในสังคมอย่างไรก็ตาม   หากมีความขัดแย้งเป็นความกันทางกฎหมายแล้วล่ะก็ย่อมต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลตัวเปล่าเล่าเปลือย    หากนักบวชฆ่าคนหรือข่มขืนผู้อื่น ก็ต้องรับโทษและชดใช้ค่าเสียหาย จะลอยนวลไปไม่ได้

แต่สิ่งที่เป็นปัญหามาก คือ สังคมและกลไกรัฐได้ยอมให้นักบวชหรือนักเทศนาทั้งหลาย ใช้อำนาจบารมีกดขี่ข่มเหงผู้อื่น แต่ไม่ได้รับผลทางกฎหมายเรื่อยมา   เสมือนว่าเป็นการให้ท้าย และยกคนเหล่านี้ไว้เหนือกฎหมาย  จนยอมสละชีวิตและทรัพย์สินของสามัญชนได้เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จอมปลอมเหล่านี้   และสังคมที่ยอมให้มีการล่าฆ่าแม่มดโดยไร้ซึ่งพยานหลักฐานที่แน่ชัดเพียงแค่เธอและเขาเหล่านั้นตั้งคำถามกับความศักดิ์สิทธิ์ ก็เท่ากับปิดหู ปิดตา ปิดปาก ไม่ยอมกระชากตัวออกจากหลุมพราง ทั้งที่มีอนาคตที่สดใสเปิดกว้างรออยู่ เพราะความกลัวและหวาดระแวงต่อ “ความจริง”

ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่รัฐไทยไม่ปรากฏเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง ศาสนา กับ รัฐ หรือไม่มีจุดเปลี่ยนจาก สังคมศักดินา เข้าสู่ รัฐสมัยใหม่  เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดูจะศักดิ์สิทธิ์เหนือการแตะต้อง หรือแม้กระทั่งพูดถึงไม่ได้ จึงยังคงดำรงอยู่ และสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ผ่านกระบวนการยุติความเป็นธรรม ทำให้คนจำนวนไม่น้อยต้องถูกกักขังสูญเสียอิสรภาพหรือแม้แต่ชีวิตได้  

ฤาการเน้นย้ำความขึงขลังของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็คือ การอยู่เหนือกฎหมาย หรือ มีบารมีนอกกฎหมาย นั่นเอง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว