Skip to main content

เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้

ความคาดหวังต่อสังคม องค์กรและคนทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน นั้นเห็นว่า สังคมต้องไม่เพิกเฉยต่อความเดือดร้อนของเพื่อนร่วมชาติ ควรมีความเห็นอกเห็นใจ (empathy) กันให้มากกว่านี้ สังคมต้องตระหนักถึงการต่อสู้ของผู้คนที่ต้องเผชิญหน้ากับความไม่เป็นธรรม ที่สำคัญ เมื่อมีประเด็นความไม่เป็นธรรม หรือการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น สังคมต้องร่วมกันผลักดันประเด็น กดดัน ฝ่ายผู้มีอำนาจให้เข้ามาทำหน้าที่ดูแลปกป้องคุ้มครองประชาชน

ในการขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะเป็นประเด็นใด ประชาชนจำเป็นต้องรวมกลุ่ม และรวมตัวกันเป็นลำดับแรก เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง และเสริมอำนาจการต่อรองกับผู้ที่มีอำนาจรัฐ จำต้องเชื่อมั่นในระบบกลไกพรรคการเมือง เพราะพรรคการเมืองจะทำให้สามารถเข้าพูดคุย เจรจา ผลักดันนโยบาย ในพื้นที่เดียวกันกับผู้มีอำนาจ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าการขับเคลื่อนบนท้องถนน

อีกทั้ง เพื่อก่อสำนึกด้านสิทธิมนุษยชนและความเห็นอกเห็นใจกัน สังคมไทยต้องเลิกมองคนที่ด้อยกว่าในแง่ลบ และส่งเสริมให้ความเสมอภาคเท่าเทียมเกิดขึ้นได้จริง แทนที่ จะเป็นการทำในเชิงสงเคราะห์ ต้องมองคนเท่ากัน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อกันและกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และร่วมกันเรียกร้องให้เกิดการกระจายโอกาสให้ทั่วถึงครอบคลุมคนทุกกลุ่มในประเทศ

สังคมไทยต้องคงไว้ซึ่งบทสนทนา (Dialogue) หรือพื้นที่การพูดคุยกัน ในฐานะพื้นที่ปลอดภัย เพื่อบอกเล่ารับฟัง ปัญหา ความทุกข์ร้อน หรือความต้องการของกันและกัน สำหรับการหาเป้าหมายและวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันของสังคม  และควรต้องเห็นร่วมกันในหลักการประชาธิปไตย เรียนรู้กันและกันเพื่อให้เกิดการถกเถียงที่มีอารยะ เพื่อป้องกันไม่ให้ฉันทามติร่วมกันหายไป การต่อสู้ควรยึดถือประเด็นใดประเด็นหนึ่งร่วมกันไว้ให้เป็นประเด็นหลัก  และปัจจัยทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะประเมินได้ว่า ขบวนการขับเคลื่อนทางสังคมจะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ เพราะการมีอำนาจรัฐ ย่อมทำให้การขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ และการจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับขบวนการเคลื่อนไหว

ส่วนความเห็นต่อรัฐ มีหลายประการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ การเรียกร้องให้รัฐต้องเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีในกฎหมายระหว่างประเทศ สร้างกลไกที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และต้องผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากการถูกบังคับให้สูญหาย การทำงานต้องไม่แฝงอำนาจมืด หรือการกระทำนอกกฎหมาย ขณะเดียวกัน รัฐไทยควรมีหน่วยงานปกป้องผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีกลไกคุ้มครองสวัสดิภาพของคนทำงานพิทักษ์สิทธิ์ที่มีโครงสร้างยึดโยงกับประชาชน และเป็นมากกว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคุ้มครองสิทธิประชาชน และควรมุ่งพัฒนากองทุนยุติธรรม ผ่านกรมคุ้มครองสิทธิ ปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือสวัสดิภาพ นักปกป้องสิทธิที่ไม่ใช่เพียงการดำเนินมาตรการเยียวยา

อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งมองว่า ถ้ารัฐเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้เข้าเป็นรัฐภาคีอย่างเคร่งครัด รัฐก็ไม่จำเป็นต้องปกป้องคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด และเห็นว่า “ช่วยเหลือประชาชน ดีกว่าปกป้องนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” อยู่แล้ว

การกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือดำเนินกิจการใดๆ ก็ตามที่สร้างผลกระทบต่อชุมชน หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความคิดเห็นของประชาชน โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาฉันทามติรวมหมู่อย่างแท้จริง มิใช่รัฐ หรือกลุ่มบรรษัทเป็นผู้กำหนดนโยบายแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยกระบวนการเหล่านั้นไม่ใช่การทำกระบวนการแบบพิธีกรรม และต้องให้องค์กรอิสระต่างๆ ได้ทำงานตามกลไกอย่างเป็นอิสระอย่างแท้จริง รวมถึงกระบวนการตุลาการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเคารพหลักการสิทธิมนุษยชนสากลโดยคำนึงถึงความเป็นคนว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา เคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  เช่น เคารพการแสดงความคิดเห็นต่าง

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีส่งเสริมในให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง รัฐควรต้องพัฒนาสถาบันและระบบการศึกษา ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ เพื่อจะทำให้กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเปราะบางที่จำเป็นต้องได้รับการปกป้องมีความเข้มแข็งมากขึ้นภายใต้ความตระหนักรู้ที่ได้จากการศึกษา ตระหนักรู้ถึงสิทธิหน้าที่ วิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของตัวเองและคนในชุมชน

นอกจากนี้ ในการบริหารงานด้านความมมั่นคง ควรจำกัดอำนาจฝ่ายความมั่นคงไม่ให้มีอำนาจมากเกินไป กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ไม่ก้าวก่ายกิจการพลเรือน ต้องยกเลิกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เพราะเป็นหน่วยงานที่หมดยุค หมดภารกิจไปแล้วตั้งแต่จบสงครามเย็น และปัจจุบันก็เป็นเพียงหน่วยงานที่มีไว้เพื่อปกป้องอำนาจอยู่ฝ่ายเดียว ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของฝ่ายประชาชนแต่อย่างใด  การมองประชาชนให้เป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นศัตรู ไม่ใช่แก้ไขปัญหา การไม่มี กอ.รมน. อาจช่วยลดความรุนแรงลงไปได้

ด้านการจัดการความขัดแย้งและส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง รัฐจะต้องหยุดใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกดปราบคนเห็นต่าง  และหันมายอมรับความแตกต่างหลากหลายมากขึ้น  รัฐต้องเป็นกรรมการ เป็นคนกลางที่ทำงานอยู่บนหลักการและความยุติธรรม และควรปรับปรุงระบบรัฐราชการ ทำงานโดยยึดเอาผลประโยชน์ เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลัก ทำความเข้าใจต่อข้อเรียกร้อง หาข้อตกลงร่วม เพื่อนำไปสู่การจัดการความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ การมุ่งกดปราบประชาชน ย่อมไม่มีผลทำให้ความขัดแย้งหายไป เนื่องจากปัญหาความเป็นธรรมต่างๆ ล้วนไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด

สุดท้าย บางส่วนก็เชื่อว่า ถ้าจะเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ เปลี่ยนระบบความคิด การบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหา  ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูยอย่างถอนรากถอนโคน ปรับปรุงโครงสร้างอำนาจรัฐ ให้ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ที่ประชาธิปไตยไทยยังอยู่ในภาวะย่ำอยู่กับที่ คงเพราะรัฐไทยยังขาดจุดเปลี่ยน จุดพลิกผัน และขาดประสบการณ์ จนทำให้คนไทยส่วนใหญ่ยังไร้เดียงสา มองไม่เห็นปัญหา หรือเนื้อร้ายที่คอยกัดกินสังคมอยู่ในทุกวัน และสิ่งสำคัญ คือ ต้องจัดให้มีการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และโครงสร้างรัฐแบบดั้งเดิม ทั้งต้องอาศัยการก่อตัวของสำนึกใหม่ๆ วัฒนธรรมใหม่ๆ ที่จะขึ้นมาเป็นวัฒนธรรมหลักแทนวัฒนธรรมเดิมให้ได้


*จากบทสัมภาษณ์ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ถอดบทเรียนโดย ภาสกร ญี่นาง ในวิจัย การลดความเหลื่อมล้ำด้านความยุติธรรมต่อกลุ่มเสี่ยงโดยศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย, 2565. สนับสนุนทุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว