Skip to main content

1

ผมเป็นคนที่วิตกกังวลกับทุกสิ่งทุกอย่าง ผมวิตกว่าตัวผมผอมไป วิตกว่าผมจะร่วงจนหมดศีรษะ กลัวไปว่าแต่งงานแล้วจะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่พอ กลัวว่าจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ตัวผมเองมีชีวิตไม่ค่อยเป็นสุขนัก ผมจึงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเองที่ปรากฏต่อคนอื่น

เพราะความวิตกกังวล ทำให้ผมเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผมทำงานไม่ไหวอีกต่อไปต้องหยุดงานอยู่กับบ้าน ผมวิตกกังวลมากเกินไปจนเลยขีดขั้นจำกัด คล้ายกับหม้อน้ำเดือดที่ปราศจากวาล์วปิดกั้น จนทำให้ผมต้องเป็นโรคประสาทอย่างหนัก ผมไม่สามารถพูดกับใครได้เลย แม้แต่กับคนในครอบครัวของผมเอง ผมควบคุมความคิดของตัวเองไม่อยู่ และรู้สึกหวาดกลัวไปหมด ผมสะดุ้งสุดตัวแม้เพียงได้ยินเสียงเบาที่สุด และคอยหลบหลีกการเผชิญหน้ากับใคร ๆ ทุกคน

ในบางครั้ง ผมร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย ผมรู้สึกราวกับถูกทุก ๆ คนทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และอยากจะจบชีวิตด้วยการกระโดดลงแม่น้ำให้จมหายไป...

วันหนึ่ง

ผมจึงตัดสินใจออกเดินทางไปฟลอริดา โดยหวังว่า การเปลี่ยนสถานที่จะทำให้ผมรู้สึกดีขึ้น ขณะที่กำลังจะขึ้นรถไฟ พ่อของผมได้ยื่นจดหมายให้ฉบับหนึ่ง และสั่งผมไม่ให้เปิดออกอ่านจนกว่าจะถึงฟลอริดา ผมมาถึงฟลอริดาในขณะที่กำลังเป็นหน้าท่องเที่ยว ผมจึงหาโรงแรมพักไม่ได้ ต้องอาศัยเช่าโรงรถแห่งหนึ่งอยู่

ผมพยายามหางานเป็นคนส่งของอยู่นอกเมืองไมอามี่ แต่ก็ไม่ได้งาน ดังนั้นผมจึงใช้เวลาอยู่ที่ชายหาด  ผมรู้สึกย่ำแย่มากกว่าอยู่ที่บ้านเสียอีก ดังนั้นผมจึงเปิดจดหมายพ่อออกอ่าน ข้อความในจดหมายมีว่า

“ลูกเอ๋ย ตอนนี้เจ้าอยู่ห่างจากบ้านถึง 1500 ไมล์ แต่เจ้าก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้นเลยใช่ไหม พ่อรู้ว่าเจ้าจะต้องรู้สึกเช่นนั้นแน่ เพราะเจ้าได้นำเอาตัวการที่ทำให้เจ้าไม่สบายใจติดตัวไปด้วย นั่นก็คือตัวเจ้าเองยังไงละ ไม่มีอะไรผิดปรกติเกิดขึ้นกับร่างกายหรือจิตใจของเจ้าหรอก ไม่ใช่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าเป็นเช่นนี้หรอก แต่ความคิดที่เจ้ามีต่อสถานการณ์พวกนั้นต่างหาก ที่ทำให้เจ้าต้องเป็นทุกข์ ดังนั้นเมื่อเจ้าได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้แล้ว พ่ออยากให้เจ้ากลับบ้าน แล้วหายจากอาการเหล่านั้นเสียที ”

จดหมายของพ่อทำให้ผมโกรธมาก เพราะผมหวังว่าจะมีใครสักคนสงสารผม ไม่ใช่มาสั่งสอน ผมโกรธมากจนตัดสินใจจะไม่กลับไปบ้านอีกเลย ในคืนนั้นเอง ขณะที่ผมกำลังเดินอยู่บนถนนในไมอามี่ ผมได้มาถึงโบสถ์ซึ่งกำลังมีการทำพิธีกันอยู่ เนื่องจากผมไม่มีที่จะไปอยู่แล้ว จึงแวะเข้าไปในโบสถ์นั้น เพื่อฟังบทเทศน์ในบทที่กล่าวว่า

“ผู้ที่เอาชนะใจตนเองได้นั้น ยิ่งใหญ่กว่าผู้รบชนะได้เมืองทั้งเมือง”

เมื่อเข้ามานั่งในโบสถ์และได้ยินคำสอน เช่นเดียวกับที่พ่อผมได้กล่าวไว้ในจดหมาย ทำให้ผมได้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นครั้งแรกในชีวิต ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนั้น ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน

นั่นคือทัศนคติการมองโลกของผมนั่นเอง

เช้าวันต่อมา

ผมจึงจัดของลงกระเป๋าเดินทางกลับมาบ้าน และอีกอาทิตย์หนึ่งต่อมา ผมก็ได้งานทำ ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง ผมได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ผมเคยหวาดกลัวว่าจะต้องสูญเสียเธอไป ซึ่งขณะนี้เรามีชีวิตครอบครัวที่ผาสุกร่วมกัน พร้อมกับลูก ๆ อีกห้าคน โลกดูสดใสและเป็นมิตรยิ่งขึ้น ผมมีความสุขกับชีวิตขณะนี้อย่างมาก และเมื่อใดก็ตามที่ผมเริ่มไม่รู้สึกสบายใจขึ้นมา ผมจะบอกกับตัวเองว่า ให้ปรับทัศนคติ เกี่ยวกับสิ่งนั้นเสียใหม่ และทุกอย่างก็จะกลับดีเช่นเดิม

ผมอยากจะบอกคุณตามตรงว่า ผมดีใจที่ได้เคยเป็นโรคประสาท เพราะสิ่งนี้ทำให้ผมได้ค้นพบว่า ความคิดและจิตใจของมนุษย์เรานั้นมีพลังเหนือร่างกาย ตอนนี้ผมสามารถใช้ความคิดทำประโยชน์ให้กับตัวเอง แทนที่จะทำให้มันต่อต้านผม พ่อพูดถูกที่ว่าสถานการณ์ภายนอกทั้งหลาย ไม่ได้เป็นต้นตอของความทุกข์ทรมานของผม และในทันทีที่ผมได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ผมก็ได้หายจากอาการทุกข์ทรมาน และอยู่เป็นสุขมาจนบัดนี้

คุณผู้อ่านครับ

เรื่องจดหมายของพ่อ ที่คุณผู้อ่านได้อ่านนี้ ไม่ใช่เรื่องราวของผม ผู้เขียนคอลัมน์นี้หรอกครับ แต่เป็นเรื่องเล่าของลูกศิษย์คนหนึ่งในชั้นเรียนของ เดล คาร์เนกี นักเขียนเชิงจิตวิทยาที่เก่าแก่และโด่งดังคนหนึ่งของโลก ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งของ เดล คาร์เนกี ที่ชื่อว่า “วิธีกำจัด ความวิตกกังวลและมีชีวิตที่ผาสุก” ที่แปลและเรียบเรียงโดย เรณู สุเสวี ซึ่งตีพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์ วลัยลักษณ์ เมื่อเดือน มีนาคม 2532 บรรณาธิการโดย แดนอรัญ แสงทอง ที่โปรยปก ถัดลงมาจากชื่อรวมเล่มเอาไว้ว่า “แบบฉบับของหนังสือคู่มือ ในการจัดการปัญหาชีวิต ขายไปแล้วกว่า หกล้านเล่ม”

ผมตัดทอนเรื่องนี้นำมาเผยแพร่ที่นี่ (และขออนุญาตคุณเรณูผู้แปลและเรียบเรียงในที่นี้ด้วยนะครับ) ก็เพราะเดือนเต็ม ๆ ที่ผ่านมา ผมมีเรื่องต้องวิ่งเข้า ๆ ออก ๆ ทั้งโรงพยาบาลและคลินิกเกี่ยวกับโรคจิตและประสาท เพื่อส่งพี่น้องของผมคนหนึ่งไปทำการบำบัดรักษา อาการป่วยทางจิตประสาท ที่มีอาการเช่นเดียวกับเจ้าของเรื่อง “จดหมายของพ่อ” ที่เนื่องมาจากความวิตกกังวลในชีวิตมากเกินไป จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ หวาดกลัวไปหมดทุกอย่าง แม้แต่ความคิดของตัวเอง จนต้องเอาปืนไปฝากเพื่อน เพราะกลัวว่าตัวเองจะคิดฆ่าตัวตาย แล้วลงมือทำจริง ๆ

ตอนนี้ หลังจากหอบหิ้วกันไปรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกเฉพาะทางแห่งหนึ่ง อาการของเขากลับคืนมาสู่สภาพปกติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว คิดว่าอีกสองสามวันคงกลับไปทำงานได้ตามปกติ ที่ผมนำเรื่องจดหมายของพ่อมาลง ก็เพราะต้นเหตุแห่งความวิตกกังวลจนเกินเหตุของเขาที่ทำให้เขาเป็นเช่นนี้ ผมฟัง ๆ ดูจากการวิเคราะห์ของหมอ ผ่านคำบอกเล่าของเขา ก็คือเรื่องทัศนคติในการมองโลกแบบทำร้ายตัวเอง เช่นเดียวกับเจ้าของเรื่องจดหมายของพ่อนั่นเอง

ผมจึงนำเรื่องนี้มาลงเพื่อยังประโยชน์ประการใดประการหนึ่งแก่ท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน คุณหมอเจ้าของคลินิกที่ผมหอบหิ้วเขาไปบำบัดรักษาจนผมเกือบจะประสาทแดกไปกับเขาได้บอกว่า คนเป็นโรคนี้กันเยอะมาก และเผื่อถึงคิวของเราบ้าง เราจะไม่ได้เสียเวลาวิ่งเข้าไปหาหมอผิดที่ผิดทาง หรือก่นด่าตัวเองเหมือนลูกศิษย์ของ เดล คาร์เนกี ด่าตัวเองว่า

“ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนี้ ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยน นั่นคือทัศนะคติในการมองโลกของผมนั่นเอง”                                                                     

5 ธันวาคม 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

** ภาพประกอบจากหนังสือ ไม่รักไม่บอก 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา