Skip to main content

 

เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
 
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
 
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
 
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
 
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
 
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
 
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
 
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
 
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...   

ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
 
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
 
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
 
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม

แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
 
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า

ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
 

***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com

 


2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
น้องชายอย่าสิ้นคิดสิ้นหวังให้มากนักไปเลยโลกนี้ยังมีคนดีและความดีอยู่โลกนี้ทั้งโลก...ไม่ได้มีแต่คนเลวและความชั่วร้ายอย่างที่น้องชายประณามและสิ้นหวังหรอกโลกนี้ยังมีคนดีและความดีอยู่มากมายมองดูสิเห็นไหมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทุกครั้งที่มีวิกฤตการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นในโลกถึงขั้นทำลายล้างชีวิตมนุษย์อย่างมโหฬารไม่ว่าจะเป็นภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันหรือภัยที่เกิดจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ณ ซีกใดในโลกนี้เราจะเห็นคนดีและความดีของพวกเขาที่ทำให้โลกนี้...…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ชีวิต ชีวิตเป็นเรื่องยาก เพราะชีวิตเป็นอย่างที่มันเป็น ไม่ได้เป็นอย่างที่เราอยากให้มันเป็น อย่างนั้น-อย่างนี้ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  จริงหรือที่เขาพูดกันว่าเราหว่านเมล็ดใดลงไปในท้องทุ่งถ้าหากเมล็ดนั้นมิได้เน่าเปื่อยตายด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งมันย่อมจะงอกงามเติบโตให้พืชผลแก่เราตามชนิดของเมล็ดพืชพันธุ์นั้นดังเช่นชาวนาหว่านเมล็ดข้าวลงไปในท้องทุ่งเขาก็ย่อมได้ต้นข้าวและเมล็ดข้าวเป็นผลของการหว่านเมล็ดลงไปในท้องทุ่งเมื่อถึงวาระแห่งการงอกงามเติบโตและแตกดอกออกผลจริงหรือที่เขาพูดกันว่าการกระทำทุกอย่างทางกาย วาจา และ ใจของคนเราที่เราได้กระทำต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน โลก…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
                     ลมแล้งโชย…ปลิดโปรยใบไม้แห้ง                     สีส้มแดง เหลือง น้ำตาล หวานอมเศร้า                     ร่วงหล่นลอยเคว้งคว้างมาบางเบา                     ซบลานดินเงียบเหงา……
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
                    เป็นอย่างที่เธอเป็นเช่นนั้นแหละ                    ไม่ต้องแตะแต้มแต่งแสร้งเสกสรรค์                    เป็นอย่างที่เธอเป็นเช่นทุกวัน                   …
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ยิ่งชูก้านกิ่งใบไปสู่ฟ้าราวจักคว้าดวงตะวันอันสุกใสลงจากฟ้ามาเล่นเป็นโคมไฟส่องดวงใจตกอับคนคับแค้นและยิ่งสูงขึ้นไปจนไกลลิบราวจักหยิบดวงดาวพร่างพราวแสนมาเรียงร้อยสร้อยดาววับวาวแทนสร้อยใส่แขนเจ้าสาวผู้หนาวรักยิ่งต้องหยั่งรากลึกลงสู่ดินดูดดื่มกินโลกธาตุอย่างหน่วงหนักทุกเส้นสายชอนไชลงไกลนักเพื่อที่จักเติบใหญ่ให้ร่มเงาเพื่อผลิดอกออกผลจนสุกงอมเพื่อโน้มน้อมกิ่งลงดำรงเผ่าเพื่อสืบเนื่องชีวิตนี้แนบเนาเพื่อกล่อมเกลาโลกขมขื่นให้ชื่นบานเพื่อที่จักตายไปในวันหนึ่งเมื่อยามถึงกาลเวลามาเรียกขานทอดกายลงพักผ่อนนอนนิ่งนานอยู่ในกาลนิรันดร์สงบเงียบ.27 มีนาคม 2551กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
วิถีในทางโลกและทางธรรมมันเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามและสวนทางกันแทบทุกกรณี เช่น ในขณะที่ทางโลกสอนให้เรายึดมั่นถือมั่นเอาโน่นเอานี่ แต่ทางธรรมกลับสอนให้เราลดละปล่อยวางทั้งสิ่งที่เป็นวัตถุธรรมและนามธรรม เพื่อจะนำชีวิตไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ จากมุมมองของผม ซึ่งเป็นคนที่ยังมีกิเลสค่อนข้างหนาหนัก ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ยากแสนยากที่ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆที่ยังติดข้องอยู่ในโลก จะเดินเข้าไปสู่ทางธรรมได้ ถ้าหากไม่มีเหตุปัจจัยอะไรสักอย่าง ทำให้เกิดความศรัทธาและแรงบันดาลใจอันใหญ่หลวง ดึงดูดให้เข้าไปโดยเฉพาะการเดินเข้าไปสู่ทางธรรมในฐานะนักปฏิบัติ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
น้องชายน้องชายที่รักของข้าจงฟังคำของข้าและจำใส่ใจเอาไว้ให้ดีอาวุธที่น่ากลัวที่สุดของมนุษย์ คือ ภาษาของมนุษย์ไม่ว่าเจ้าจะเกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีภาษาที่ดีหรือว่าเลวจงจำใส่ใจเอาไว้ให้ดีภาษาที่เจ้ามีอยู่และกำลังใช้สื่อสารมันสามารถที่จะเป็นได้ทั้งข้าทาสผู้รับใช้และเป็นนายของตัวเจ้า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
แล้วในที่สุดก็ถึงวันนี้วันที่อดีตท่านนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางกลับเมืองไทยโดยสายการบินไทยเที่ยวที่ ที จี 603 ที่ร่อนลงบนรันเวย์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 09.40น.ของวันที่ 28 ก.พ. เพื่อกลับมาต่อสู้คดีทุจริตจัดซื้อที่ดินถนนรัชดา ที่ท่านตกเป็นจำเลยที่หนึ่ง รวมทั้งข้อกล่าวหาอื่นๆในช่วงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  ท่ามกลางความดีอกดีใจของฝ่ายที่สนับสนุนที่พากันไปต้อนรับอย่างเอิกเกริก และท่ามกลางความตึงเครียดของฝ่ายคัดค้าน ที่เริ่มส่งเสียงคำรามฮึ่มๆ ออกมาประปรายถึงแม้การยอมรับกลับมาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมในสังคมของอดีตท่านนายกฯ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ค้นพบหนังสือธรรมะเล่มเล็กๆขนาดฝ่ามือ หนาร้อยกว่าหน้าเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “หลวงปู่ฝากไว้” ที่ร้านหนังสือเก่าหลังตลาดมะจำโรงในตัวอำเภอ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากบ้านผมเท่าใดนัก หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือเผยแพร่การแสดงธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งรวบรวมและบันทึกเอาไว้โดย พระโพธินันทมุนีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นลูกศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝ่ายอรัญญวาสีในยุคปัจจุบัน ท่านเป็นพระที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ดังที่ พระโพธินันทมุนี ได้กล่าวเอาไว้ในคำนำหนังสือว่า “หลวงปู่เป็นผู้ไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุด…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หญิงสาวผู้มีฐานะดีคนหนึ่ง เป็นคนที่ชอบตื่นขึ้นมาใส่บาตรพระแต่เช้ามืดทุกวัน จนเป็นกิจวัตร เช้าวันหนึ่ง หลังจากตื่นขึ้นมาใส่บาตรพระเรียบร้อยแล้ว ขณะเดินกลับเข้าประตูรั้วบ้าน เธอก็ได้ยินเสียงร้องครางหงิงๆดังมาจากรั้วข้างประตูด้านใน เมื่อเหลือบตาไปมองดูที่มาของเสียง เธอก็พบกล่องกระดาษแข็งขนาดย่อมใบหนึ่งที่เปิดฝาด้านบนเอาไว้ ซึ่งคงจะมีใครสักคนหนึ่ง เอาลอดรั้วบ้านมาวางไว้ที่นั่น ก่อนที่เธอจะลงจากบ้านออกมาใส่บาตรพระเมื่อเดินเข้าไปดู เธอก็พบลูกหมาตัวเล็กๆ หน้าตาน่ารักน่าสงสารตัวหนึ่ง นอนตัวสั่นอยู่ในกล่องกระดาษที่รองไว้ด้วยเศษผ้าเก่าๆ เธอจึงรีบทรุดลงอุ้มมันเอาไว้แนบอก…