เมื่อพูดถึงคำว่า“เสรีภาพ”
คำ คำนี้ช่างมีพลังอย่างแปลกประหลาด ทำให้รู้สึกดึงดูดเย้ายวนใจสำหรับคนบางคน พอๆกับที่ก่อให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวกับคนบางคน ยิ่งไปกว่านั้นบางคนปรารถนาเสรีภาพ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกหวาดหวั่นอยู่ลึกๆ เรียกร้องอยากจะได้มา และก็กลัวที่จะได้มันมาจริงๆ
ความรู้สึกนานาประการนี้
ย่อม เกิดจากการเข้าถึงเสรีภาพ จากแง่มุมและความหมายต่างๆกัน ผู้ที่ไม่เคยมีย่อมหวาดกลัว ผู้มีแล้วแต่ไม่เข้าใจยิ่งหวาดกลัวกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เคยชินกับการถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และมักมองเสรีภาพไปในความหมายด้านตรงกันข้ามกับกฎเกณฑ์เหล่านั้น คนส่วนมากมักจะมองหาขอบเขตของมันไม่พบ และคิดเอาเองว่า เสรีภาพน่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ในขณะที่ตัวเองก็ไม่กล้าที่จะออกจากกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยชิน
เรากลัวเกินไป
ที่ จะเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนว่าการได้ยึดอะไรบางอย่างเป็นหลักไว้ ย่อมให้ความรู้สึกที่ปลอดภัยกว่า พวกเรายังติดอยู่กับความคิดชนิดที่ว่า
“อยู่กับสิ่งที่เลวน้อยที่สุด ดีกว่าเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่รู้ว่า จะดีหรือเลว”
ความคิดเช่นนี้ ทำให้กระบวนการวิวัฒน์ทางสังคมและตัวเองหยุดนิ่ง เป็นพลังที่เฉื่อยชาและจำยอม
ชีวิตมนุษย์
น่า จะมีโอกาสได้ค้นหาและทดลองสิ่งใหม่ๆหรือไม่ หรือว่ากฎเกณฑ์แบบแผนข้อบังคับ และคำตอบสำเร็จรูป ได้ทดแทนให้รู้สึกอิ่มอกอิ่มใจพอแล้ว และถ้าเลือกเอาอย่างแรก ก็หมายความว่าเราได้เริ่มเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าเสรีภาพนี้ ต่างกันไกลจากความหมายเดิมๆที่เราเคยเข้าใจ จากบทเรียนบทต่อๆไป คงจะทำให้เข้าใจความหมายอันแท้จริงมากขึ้น
มีผู้สงสัยว่า
หาก มนุษย์มีอิสระในตัวเอง และเต็มไปด้วยเสรีภาพแล้ว หากปราศจากแบบแผนกฎเกณฑ์แล้ว สังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จะมิวุ่นวายไปหมดหรือ ต่อคำถามนี้ ตอบได้ง่ายๆว่า เสรีภาพมิได้หมายถึง การทำตามใจตัวเองอย่างสุดโต่ง และไม่ใช่การไร้แบบแผน เพราะเสรีภาพนั่นเองหมายถึงการมีวินัยอย่างสูงสุด ไม่ใช่จากกฎหมายของรัฐหรือกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้ในสังคม...
หากเป็นวินัยในตัวเอง
ที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองด้วยวิจารญาณและจิตสำนึก กลายเป็นความรู้สึกรับผิดชอบโดยส่วนรวม และสำหรับคนที่มีสำนึกต่อส่วนรวม ย่อมรู้ว่าขอบเขตของการกระทำอยู่ตรงไหน ในกรณีนี้ แม้จะไม่มีกฎหมายบังคับ และไม่มีตำรวจเฝ้าดู... เขาก็ย่อมเลือก ที่จะทำและไม่ทำ อย่างมีเหตุผล และเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกเช่นนี้ การณ์ก็กลับเป็นตรงกันข้ามว่า เสรีภาพหมายถึงกฎเกณฑ์อันสูงสุด ที่มนุษย์ยินยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณด้วยตนเอง
จะเห็นว่าความหมายในที่นี้
แตกต่างจากความหมายเก่าๆโดยสิ้นเชิง ความคิดและการกระทำของคนในสังคมอารยะนั้น เข้าถึงแง่มุมความเป็นจริงมากกว่าสังคมทาส ในสังคมใดๆจะเข้าถึงการอยู่ร่วมกันโดยสันติ และความดีงามโดยส่วนรวมไม่ได้เลย หากประชาชนปราศจากเสรีภาพ...
เราพบว่าเสรีภาพ
กับ ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ความเป็นตัวของตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้มีความหมายต่างไปจากนี้ คนเป็นอันมากกลัวที่จะเป็นตัวของตัวเอง และไม่กล้าพอที่จะอนุญาตให้คนอื่นเป็นด้วย ที่จริงไม่น่ากลัวเลย เพราะการเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริงนั้น ย่อมหมายถึงการพัฒนาภายในของมนุษย์ในระดับสูงสุด คุณภาพภายในของปัจเจกชนนั่นเอง ที่จะเกื้อหนุนให้ส่วนรวมดำรงอยู่ได้ หากปราศจากสิ่งนี้
เชื่อแน่ว่าสังคมแบบแผนอันเส็งเคร็งนี้
จะต้องพังทลายลงสักวันหนึ่ง.
หมายเหตุ ; พจนา จันทรสันติ เป็นนักเขียนและนักแปล ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานจากงานเขียนบทกวีอิสระที่ชื่อว่า “ขลุ่ยไม้ไผ่” และงานแปลของ กฤษณะ มูรติ ที่ชื่อว่า “แด่หนุ่มสาว” ที่ผมเข้าใจว่าคุณพจนาเป็นคนแรกที่นำงานของ กฤษณะมาเผยแพร่ และมีผู้แปลติดตามมาอีกมากมายหลายท่าน...
ภาพรวม ผลงาน ของ คุณพจนา ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนเพียวๆของเขาหรือว่างานแปล เป็นงานเชิงศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา ซึ่งเขาก็ได้ยืนหยัดทำงานในแนวนี้มาโดยตลอด และผมเชื่อว่า นี่เป็นเป็นการยืนยันถึงการค้นพบตัวเองของเขาอย่างแน่ชัด...
โดยส่วนตัวผม ผมถือว่าคุณพจนาเป็นนักคิดทางจิตวิญญาณที่สำคัญคนหนึ่งของยุคสมัย งานของเขาเป็นงานที่อบอุ่นเช่นเดียวกับบุคลิกภาพของเขา ที่ใครเห็นแล้วก็รู้สึกปลอดภัย และอยากเข้าใกล้ เป็นงานที่อ่านแล้วก่อให้เราเกิดความรู้สึก...อยากจะพัฒนาความคิดจิตใจของ ตัวเอง โดยไม่ต้องมีใครมาบีบบังคับ และสามารถหยิบมาอ่านได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะเป็นงานที่ขุดค้นเข้าไป ข้างในอันละเอียดอ่อนซับซ้อนของมนุษย์ ที่เขายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆในชีวิตจริงของคนเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนหรืองานแปล ที่คุณพจนาทำออกมาอย่างประณีต มีเป้าหมายที่ชัดเจน และมีคุณูปการต่อผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง...
น่าแปลกใจ
ที่ องค์กรบางองค์กรของรัฐ ที่มอบรางวัลให้ผู้ทำงานดีเด่นเกี่ยวศาสนาทุกปี มักจะให้รางวัลแก่ผู้ที่ทำบุญทางวัตถุอย่างออกหน้าออกตาเป็นหลัก แต่ไม่ได้เหลียวแลคนที่ทำบุญทาง จิตวิญญาณ อย่างอย่างเงียบๆด้วยผลงานที่เป็น มวลอันมหึมา เช่นคุณพจนา คงเป็นเพราะว่าสังคมปัจจุบันของเราเป็นสังคมที่เน้นหนักไปทางวัตถุนิยม การให้คุณค่าสิ่งต่างๆจึงพลอยเน้นหนักไปในเรื่องวัตถุ ตามค่านิยมของสังคมไปจนหมด...
แม้แต่เรื่องศาสนา
ที่เป็นเรื่องของความคิดจิตใจ ที่ทางพุทธศาสนาของเราถือว่าเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดมีคำกล่าวว่า “จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว” ก็ พากันหลงทางไปเน้นหนักในการเรื่องสร้างวัตถุ คนที่ทำงานถูกที่ถูกทาง และยืนหยัดอย่างยาวนานมาโดยตลอด เช่นคุณพจนา - จึงถูกมองไม่เห็น เพราะพวกเราต่างพากันหน้ามืดตามัวอยู่ในโลกของวัตถุนิยมที่ครอบงำพวกเราเอา ไว้อย่างแน่นหนา ถึงแม้โดยส่วนตัว ผมสามารถจะหยั่งรู้ด้วยว่า... คนแบบคุณพจนา ไม่ได้สนใจไยดีอะไรกับเรื่องพวกนี้ก็ตาม
แต่สังคมที่พอจะมีสติปัญญา
ก็น่าจะปักป้ายไว้ให้แก่คุณค่าที่แท้จริง
เพื่อผู้ที่สนใจแสวงหาแนวทางนี้
จะไม่ได้เสียเวลาไปกับของปลอมและฉาบฉวย...
ความเรียงเชิงบันทึกชื่อ “เสรีภาพกับความเป็นตัวของตัวเอง” ของคุณพจนา ที่ผมคัดเลือกมาจากหนังสือ “ชัยชนะ” พิมพ์ครั้งที่ 3 โดยสำนักพิมพ์ เคล็ดไทย 2533 ที่ ผมนำมาเสนอชิ้นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ใครๆได้อ่านแล้ว คงยากจะปฏิเสธได้ว่า ทัศนะในเรื่องเสรีภาพและความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ จากทัศนะของเขา เรายากที่จะไม่ยอมรับว่า
ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดในเรื่องนี้
มันควรจะเป็นเช่นนี้
ใช่หรือมิใช่.
***ขอขอบคุณภาพประกอบจาก โอเคเนชั่น.com
2 สิงหาคม 2553
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์นามนี้เป็นที่รู้จักกันมานาน และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการสื่อมวลชนภาคเหนือตอนบน ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอาวุโสของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้จักเขามานาน ก่อนที่เขาจะเป็นนักหนังสือพิมพ์เสียอีกนั่นคือ รู้จักเขาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กหนุ่มเอวบางร่างน้อย จากดินแดนแห่งขุนเขาและม่านหมอกอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ที่เดินทางจากบ้านเกิดหน้าที่ว่าการอำเภอ ไปบวชเรียนเป็นเณรอยู่ที่วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท ต.บางจาก อ.พระโขนง กรุงเทพฯ ภายใต้ร่มเงาพุทธธรรมของท่านอาจารย์วิริยังค์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติชื่อเสียงโด่งดัง สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคนสองคนหรือผู้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ที่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้เกิดความขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็แล้วแต่ แล้วต่อมา ความขัดแย้งนี้ได้ลุกลามถึงขั้น โกรธ เกลียด และแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย แล้วต่างฝ่ายต่างก็ตั้งหน้าตั้งตา ดุด่า ใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะวิวาทกัน เพื่อเอาชนะคะคานกัน เพื่อทำลายกันให้พินาศไปข้างหนึ่งเมื่อปรากฏการณ์ที่เลวร้ายนี้ได้เกิดขึ้น แทนการยุยงส่งเสริม หรือเข้าไปร่วมถือหางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างที่พวกเรามักจะเป็นกันเพราะมีอคติ รักหรือว่าชอบ-คนนั้นพวกนั้น ผิด ถูก ชั่ว ดี อย่างไร ก็ขอเข้าข้างกันเอาไว้ก่อนแต่เรื่องนี้…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ภาพจาก http://gotoknow.org/file/i_am_mana/DSC04644.1.jpg คุณที่รักผมลงมือเขียนต้นฉบับนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2550 ซึ่งนับจากวันนี้ไปอีก 3-4 วันก็จะถึงวันเลือกตั้ง แต่จนป่านนี้ ผมซึ่งเป็นประชาชนคนหนึ่งของประเทศที่มีสิทธิไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.ในเขต 2 อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ยังนึกไม่ออกเลยว่าควรจะใช้สิทธิอันชอบธรรมนี้ไปเลือกใครหรือพรรคใด หรือว่า...ควรจะโนโหวต คือไม่เลือกใครเลยเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเป็นเพราะว่า ผมเป็นคนที่หน่อมแน้มในเรื่องการเมืองจริง ๆ จึงไม่สามารถวิเคราะห์และตัดสินด้วยตัวเองได้อย่างเชื่อมั่น ว่าใครหรือพรรคการเมืองใดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเป็นคนที่วิตกกังวลกับทุกสิ่งทุกอย่าง ผมวิตกว่าตัวผมผอมไป วิตกว่าผมจะร่วงจนหมดศีรษะ กลัวไปว่าแต่งงานแล้วจะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่พอ กลัวว่าจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ตัวผมเองมีชีวิตไม่ค่อยเป็นสุขนัก ผมจึงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเองที่ปรากฏต่อคนอื่นเพราะความวิตกกังวล ทำให้ผมเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผมทำงานไม่ไหวอีกต่อไปต้องหยุดงานอยู่กับบ้าน ผมวิตกกังวลมากเกินไปจนเลยขีดขั้นจำกัด คล้ายกับหม้อน้ำเดือดที่ปราศจากวาล์วปิดกั้น จนทำให้ผมต้องเป็นโรคประสาทอย่างหนัก ผมไม่สามารถพูดกับใครได้เลย แม้แต่กับคนในครอบครัวของผมเอง ผมควบคุมความคิดของตัวเองไม่อยู่ และรู้สึกหวาดกลัวไปหมด…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
โอ้ นางฟ้าของคนยากจากไปแล้วดั่งดวงแก้วตกต้องแผ่นผาจากไปไกลลิบลับไม่กลับมาจากไปแล้วหนา...วนิดา คนดีคนดีของคนยากของแผ่นดินยุคทมิฬ รัฐ บรรษัท ทำบัดสีถืออำนาจอยุติธรรมคอยย่ำยีขยำขยี้คนจนปล้นทรัพยากรสารพัดในนามของความผิดที่เขาคิดมากล่าวหามาถอดถอนเพื่อขับไล่ไสส่งจากดงดอนจากสิงขร จากน้ำฟ้า ป่าบรรพชนด้วยกฎหมายที่เขาตราขึ้นมาเองใช้เป็นเหตุยำเยงทุกแห่งหนที่มาดหมายครอบครองเป็นของตนขับไล่คนเหมือนหมูหมาเหมือนกาไก่เธอจึงเกิดขึ้นมาเพื่อต่อสู้อยุติธรรมแด่ผู้ที่ยากไร้ทั้งชีวิตอุทิศทั้งกายใจควรกราบไหว้ควรเชิดชู ควรบูชาโอ้ นางฟ้าของคนยากจากไปแล้วดั่งดวงแก้วตกต้องแผ่นผาจากไปแล้วคุณคนดี วนิดาต่อแต่นี้น้ำตา...…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
- สวัสดีครับ- สวัสดีค่ะ- ต้องการพูดกับใครไม่ทราบครับ- ดิฉันต้องการพูดกับ คุณแดนทิวา คนที่เป็นนักเขียนบทกวีค่ะ- ผมกำลังพูดกับคุณอยู่พอดีครับ- โอ๋ ดีจังเลย- เอ...ผมรู้สึกว่า ผมไม่เคยได้ยินน้ำเสียงนี้ทางโทรศัพท์มาก่อนเลยนะ - ถูกต้องค่ะ- ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าคุณกับผมเคยเป็นคนรู้จักกันมาก่อนหรือเปล่านะ- คุณไม่รู้จักดิฉันหรอกคะ แต่ดิฉันบังเอิญรู้จักคุณจากหนังสือรวมบทกวีเล่มหนึ่งของคุณ ที่ดิฉันได้มาจากร้านขายหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง พร้อมกับเบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ของคุณค่ะ- (หัวเราะ) แค่นี้เองหรือครับที่คุณรู้จักผม- ค่ะ แค่นี้เองค่ะ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คนที่ผ่านโลกและชีวิตมาอย่างโชกโชนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า เป็นคนที่เข้าใจมนุษย์ พวกเขามักจะมีคำตอบที่เกี่ยวกับชีวิตอย่างง่าย ๆ สั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง ชนิดที่เราฟังแล้ว...บางทีถึงกับสะอึก และต้องจดจำไปจนชั่วชีวิต เพราะมันเป็นคำตอบที่เต็มไปด้วยพลังทะลุทะลวงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจวันหนึ่งนานมาแล้วผมขับมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้านเข้าเมือง ไปส่งคุณแพรจารุ พูดคุยเรื่องงานกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ในซอยที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะคุณแพรและอาจารย์เลี่ยงไปคุยกันอีกมุมหนึ่งในห้องรับแขก ผมก็นั่งดูหนังจาก ยูบีซี ที่ท่านอาจารย์เปิดค้างไว้ รู้สึกว่าจะเป็นหนังจากยุโรป เรื่องอะไร…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากที่ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาได้จากไป เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ตราบจนกระทั่งถึงวันนี้เป็นเวลา 6 ปีเต็ม ๆ ผมคิดว่านอกจากบทเพลงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวามากมายหลายชุด ที่เขาทิ้งไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่ทำให้เราคิดถึงถึงเขา ยามได้ยินบทเพลงของเขา ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ยังมีสถานที่และผู้คนที่เคยเกี่ยวข้องผูกพันกับชีวิตของเขา บางสถานที่บางบุคคล ที่ทำให้เราคิดถึงเขา ยามได้ไปเยือนสถานที่แห่งนั้น และได้พบใครบางคนดังกล่าว เช่นร้านอาหาร สายหมอกกับดอกไม้ที่ตั้งอยู่ริมถนนเชียงใหม่ 700 ปี หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ มีใครต่อใครมากมายหลายคนบอกผมเป็นเสียงเดียวกันว่า…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ทำไมนะคนเราจึงมักมองเห็นแต่ความผิดพลาดของคนอื่นและชอบกล่าวคำประณามตัดสินลงโทษเขาราวกับว่าตัวเองไม่เคยทำความผิดบาปใด ๆครั้งหนึ่งเมื่อองค์พระคริสต์ทรงเสด็จประทับสอนฝูงชนอยู่ ณ มหาวิหารของกษัตริย์ซาโลมอนราชโอรสของกษัตริย์ดาวิด ผู้ที่มีความชอบเฉพาะพระเจ้าพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริซายซึ่งต่อต้านคำสอนของพระองค์ด้วยความเชื่อที่ต่างกันว่า-พระเจ้าของเขาคือการแก้เเค้นตามคำสอนดั้งเดิมของโมเสสณ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมมีความเชื่อว่าคนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาบ้านเรา ถ้าหากไม่หลงไปปฏิบัติผิดที่ผิดทาง ท่านคงจะรู้กันดีทุกคนนะครับ ว่าเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติธรรม คือการปฏิบัติเพื่อลดละและปล่อยวาง ความยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นตัวของเรา – เป็นของของเรา ซึ่งทางพุทธบ้านเราถือว่าเป็นต้นตอรากเหง้าของความทุกข์ทางใจทั้งหลายทั้งปวงส่วนจะเป็นทุกข์มากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับใจของเรา ที่เข้าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวกำหนด พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเข้าไปยึดถือมากก็ย่อมเป็นทุกข์มาก ถ้าเข้าไปยึดถือน้อยก็เป็นทุกข์น้อยนั่นเองครับนี่เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมที่เข้าใจได้ยาก…