ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร
เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้
ก็พอดี ได้รับเอกสารข่าวการจัดงาน “เวทีสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และนำเสนอการดำเนินงาน โครงการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี โดยส่งเสริมบูรณาการ และการสร้างเครือข่ายการเข้าถึงบริการของกลุ่ม ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย” (CHAMPION / MSM) จาก คุณลำดวน มหาวัน ผู้จัดการ มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) สำนักงานภาคเหนือ ที่ยืนหยัดทำงานนี้มาอย่างจริงจังและยาวนาน ผ่าน แพร จารุ มาให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์ ผมจึงขอลัดคิวเพื่อช่วยงานสังคมนี้โดยด่วน
ครับ ถึงแม้เรื่องเอดส์ในปัจจุบันแทบจะไม่มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเอดส์ และผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี ได้หมดสิ้นไปจากสังคมไทย เอดส์ยังคงมีอยู่ ผู้ติดเชื้อเพราะความประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ยังมีอยู่ เช่นเดียวกับคนตายกันคนแล้วคนเล่าก็ยังมีอยู่อย่างเงียบๆ แต่ไม่ค่อยจะเป็นข่าว เพราะเป็นเรื่องราวที่สื่อกระแสหลักคงจะเลิกให้ความสำคัญกันแล้ว
จากรายละเอียดในข่าว ที่คุณลำดวนฝากมาประชาสัมพันธ์ ทำให้ผมได้ทราบว่าในปัจจุบัน กลุ่มชายรักชาย เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง...เพราะเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในทางวัฒนธรรมสังคมในเรื่องเพศที่แปลกแยก ทำให้พวกเขาเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ยาก ท่านที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือท่านที่เป็นชายรักชาย ควรสนใจเรื่องนี้นะครับ เพราะมันเป็นเรื่องเป็นเรื่องตายของท่านโดยตรงเลยทีเดียว หรือจะไปร่วมงานตามข่าวดังต่อไปนี้ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวท่านเป็นอย่างยิ่ง
ข่าว...
กลุ่มบุคคล และโครงการจาก 30 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งจากกระทรวงสาธารณะสุข และองค์กรภาคประชาชน จำนวน 350 กว่าคน เข้าร่วมเวทีสรุปบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอการดำเนินงานโครงการ CHAMPION / MSM
การจัดเวทีครั้งนี้กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 11 ถึง 14 ก.ค. 54 รวม 4 วัน ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่
วันที่ 13 ก.ค. 54 เวลา 08.30 - 09.30 น. ได้รับเกียรติจากรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นางนฤมล ปานวัฒน์ เป็นประธานเปิดงาน และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม ณ ห้องแสนตอง โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว เชียงใหม่ (เชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้ารับฟังด้วยครับ)
งานกิจกรรมนี้
จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้การทำงานป้องกัน เอช ไอ วี ในกลุ่มชายที่ทีเพศสัมพันธ์กับชาย (Men who have a Sex with men) โดยมุ่งการบูรณาการการทำงานและสร้างเครือข่ายในการเข้าถึงปริการให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งปัจจุบัน ยังถูเรียกขานว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และผู้คนในสังคมเข้าใจผิดว่า เป็นกลุ่มใหญ่ในสังคมที่มีอัตราการติดเชื้อรายใหม่ค่อนข้างสูง และขาดการตระหนักถึงการป้องกันเชื้อ เอช ไอ วี และยังเป็นกลุ่มที่เข้าถึงบริการสาธารณสุขค่อนข้างยาก
ปัญหาต่างๆเหล่านี้
ทำให้เห็นว่า การทำงานที่มุ่งสู่การป้องกันทางการแพทย์อย่างเดียวนั้นไม่ได้ ต้องมีการเชื่อมต่อทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการดำรงอยู่ร่วมกัน
เป้าหมายของกิจกรรมดังกล่าว
จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งของประเทศนี้ ให้หลุดพ้นจากภาพลักษณ์ของการเป็นกลุ่มเสี่ยง ผู้แพร่เชื้อเอดส์ และเพื่อให้คุณค่าของความเป็นเพศที่แตกต่างจากเพศกระแสหลักอย่างเท่าเทียม และไม่ถูกละเมิดสิทธิต่างๆ
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก
สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
องค์กร Family Health International (FHI)
องค์กร UNESCO ประเทศไทย
โดยเวทีครั้งนี้ มุ่งที่จะเปิดพื้นที่ให้กับคนทำงานทั้งภาครัฐ ภาคชุมชน และภาคประชาสังคม ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานซึ่งกันและกัน และเป็นเวทีของการเสนอผลงานการทำงานตลอดระยะเวลา 2 ปี เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ต้องการพัฒนาใหม่ๆ ตลอดจนกำหนดแผนงานร่วมกันในอนาคต ระหว่างชุมชนกับรัฐ โดยมีหมายกำหนดงานดังนี้
11 - 12 ก.ค. 54
เป็นเวทีสรุปบทเรียน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของคนในแต่ละพื้นที่ 5 ประเด็น
1. การทำงานภาคสนาม
2. การทำงานศูนย์เพื่อน
3. การทำงานเรื่องการเข้าถึงบริการ VCT และ STLs (การตรวจเลือดแบบสมัครใจ และการตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
4. การทำงานประเด็นเรื่องเพศ เพศภาวะ เพศวิถี
5. การทำงานด้านประสานงานร่วมมือกับคณะกรรมการเอดส์จังหวัด ฯลฯ
13 - 14 ก.ค. 54 ( เชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังด้วยครับ)
เป็นเวทีนำเสนอข้อค้นพบจากห้องย่อยสู่เวทีใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากการพูดคุยกันในเวทีย่อย 5 ประเด็นดังกล่าว ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มาจากชุมชนในแต่ละพื้นที่ของเครือข่ายความหลากหลายทางเพศที่ทำงานร่วมกัน และเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังด้วย
หมายเหตุ ;MSM (Men who have sex with men) คือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งอาจจะเรียกตนเองว่า เกย์ คนรักเพศเดียวกัน หรือรักต่างเพศหรือไม่ก็ได้ หากแต่เคยมีประสบการณ์ที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกัน
ซึ่งการมีสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกันเอง ก็อาจจะมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาสนับสนุนให้มีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ในที่นี้ภายใต้การทำงานโครงการนี้จำเพาะไปที่กลุ่ม เกย์ กะเทย หรือ สาวประเภทสอง (Transgender) และ กลุ่มชายขายบริการ (Male Sex worker)
ท่านผู้ใดที่สนใจต้องการรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม เชิญติดต่อ
ลำดวน มหาวัน มูลนิธิพัฒนาเครือข่ายเอดส์ (เอดส์เน็ท) สำนักงานภาคเหนือ
โทร 053 - 222417 มือถือ 089 - 6331638 โทรสาร 053 - 222484
อีเมลล์ noi_mahwan@yahoo.com
ดนัย ลินจงรัตน์ สมาคมฟ้าสีรุ้งหางประเทศไทย มือถือ 085 – 139688
6 กรกฎาคม 2554
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่
บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตของผมเป็นชีวิตที่ประสบกับภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนเส้นกราฟมานับครั้งไม่ถ้วน หรือถ้าจะพูดให้ชัดเจนและเข้าใจกันได้ง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นชีวิตที่ประสบกับความรุ่งเรืองและตกต่ำตามวิถีทางและอัตภาพของตัวเองสลับกันไปมา...นับครั้งไม่ถ้วน นั่นเองแต่ก็แปลก...จนป่านนี้ ผมก็ยังไม่อาจทำใจยอมรับและรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ต้องมีขึ้นมีลง นั่นคือเวลาที่ชีวิตผมขึ้นหรือรุ่งเรือง ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองฟูฟ่องพองโต และมองดูโลกนี้สวยงามสดชื่นรื่นรมย์ น่าอยู่น่าอาศัย...ราวกับสวรรค์บนพื้นพิภพแต่พอถึงเวลาที่ชีวิตเริ่มลงหรือตกต่ำ ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองเริ่มห่อเหี่ยวฟุบแฟบ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเคยรู้จักคนบางจำพวกที่มีลักษณะต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ๆ ท่าน อยู่ประการหนึ่ง นั่นคือคน-คนพวกนี้ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาชีวิตมากน้อยหรือหนักหนาสาหัสเพียงใด เมื่อถึงเวลานอนหลับ…เขาสามารถที่จะปล่อยวางปัญหานั้น ๆ ออกไปจากความคิดจิตใจ และนอนหลับได้สนิท ราวกับว่าไม่มีปัญหาใด ๆ มาแผ้วพาน ครั้นเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าวันใหม่ เขาก็จะหยิบยกปัญหาต่าง ๆ มาครุ่นคิดพิจารณาหาทางแก้ไข ปัญหาใดที่แก้ไขได้…ก็จัดการแก้ไขให้เรียบร้อย ส่วนปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้เขาก็สามารถจะปล่อยวางปัญหานั้นเอาไว้ก่อน และหันไปทำธุระอื่น ๆ แทนที่จะเก็บมาหมกมุ่นครุ่นคิด เป็นทุกข์กังวลอยู่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้…