Skip to main content

 

 
 

ผมมักจะได้ยิน
ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า
คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 

นอกจากคำอธิบายที่เป็นนัยยะว่า เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากคะแนนเสียงจำนวนมากที่ไร้คุณภาพเพราะด้อยการศึกษา เขาจึงต้องโค่นล้ม ซึ่งผมฟังแล้ว อดรู้สึกเจ็บปวดแทนทั้งรัฐบาลและพี่น้องที่เป็นคนชนบทไม่ได้ ที่ถูกคนเมืองเขาประเมินคุณค่ากันเช่นนี้  

จึงได้แต่สงสัยมาโดยตลอด
ว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่ก็ไม่สามารถหาคำตอบแบบที่ผมต้องการได้ จนกระทั่งได้อ่านบทสัมภาษณ์  ดร.เอนก เหล่าธรรมทัต  คณะบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาธรรมศาสตร์ ชื่อ  ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ จากหนังสือสารคดีฉบับ 188 ประจำเดือนตุลาคม 2543 คือเมื่อสิบกว่าปีแล้ว ผมจึงได้คำตอบที่ฟังดูเป็นเหตุเป็นผลและชอบธรรม เป็นที่พอใจแก่ตัวเองในระดับหนึ่งได้ จึงขอตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่ผมได้รับคำตอบมาให้อ่าน เผื่อท่านที่มีอาการคันในหัวใจอย่างผม จะได้ทุเลากันลงบ้าง ดังนี้

สารคดี ; แสดงว่าชาวบ้านมองประโยชน์ของประชาธิปไตยเพียงแค่นี้หรือ

ดร.เอนก
; ประชาธิปไตยไทยเป็นประชาธิปไตยของคนสองพวก คือ พวกชาวบ้าน กับ พวกชาวเมือง เป็นประชาธิปไตยสองนครา ถ้าถามชาวบ้านประชาธิปไตยที่เขาต้องการ คือ ส.ส. ต้องสนใจชาวบ้าน เสียงของชาวบ้านทั้งหมู่บ้านที่พร้อมใจกันลงคะแนนให้คนใดคนหนึ่ง มันมีน้ำหนักทำให้ชาวบ้านมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ถ้าชาวบ้านเลือกอิสระ ต่างคนต่างเลือกแบบคนชั้นกลางหรือคนในเมือง เสียงของพวกเขาก็จะไม่มีน้ำหนัก ชาวบ้านรู้ว่าเขามีฐานะต่ำกว่านักการเมือง แต่ขณะเดียวกัน เขาก็สามารถเรียกร้องและต่อรองกับนักการเมืองได้พอควร

การเมืองของเรา
ยังตัดสินด้วยเสียงของคนยากคนจน คนชั้นล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร ฉะนั้นใครอยากมีอำนาจ ก็ต้องทำตัวให้เป็นที่ยอมรับ ให้เป็นที่ไว้ใจ ให้เป็นที่รักใคร่ของชาวนาชาวไร่... (รวมทั้งผู้ใช้แรงงาน / ถนอม ไชยวงษ์แก้ว เพิ่มเติม)

ค่านิยมหรือความคิด
ที่ใช้เป็นมาตรในการมองหรือวิจารณ์สังคมไทย ก็คือเกณฑ์หรือมาตรของคนชั้นกลางในเมือง ซึ่งมีสัดส่วนแค่ 15 - 20 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรไทยทั้งหมด

ความคิด
หลัก ของสังคมไทย จึงเป็นความคิดของคนชั้นกลางหรือคนมีการศึกษา ขณะที่ความเป็นจริงทางการปฏิบัติ คนส่วนใหญ่ของสังคมเรายังเป็นคนยากคนจน ยังเป็นเกษตรกร ซึ่งวิธีคิดของเขาไม่เหมือนกับคนชั้นกลาง

ฉะนั้น
เมื่อเวลาเขาเลือก ส.ส. มาทุกที ก็จะเป็นคนที่ไม่ถูกใจของคนชั้นกลาง บ่อยครั้ง คนชั้นกลางเข้าใจว่าชาวบ้านถูกหลอก แต่เท่าที่ผมไปคุยด้วย ชาวบ้านเขาไม่ได้คิดแบบนั้น เขาคิดว่าเขาได้เลือกคนดีเข้ามา แต่ก็คนเหล่านี้แหละ ที่คนชั้นกลางเขารังเกียจ ไม่ต้องการ คนดีของคนเมืองกับคนดีของคนชนบท จึงไม่เหมือนกัน

คนดีของคนเมือง
ต้องเน้นเรื่องหลักการ
นโยบาย
อุดมการณ์ไม่โกงกิน
ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
ไม่ฝ่าผืนกฎหมายเลย

แต่สำหรับชาวบ้านแล้ว
คนดีคือคนที่เหนือกว่าเขา
รวยกว่าเขา แต่ให้ผลประโยชน์แก่เขาได้
เมื่อเขาถูกรังแก เมื่อเขาทำผิดกฎหมาย
คนดีของเขาช่วยเขาได้

หน้าที่ของ ส.ส. คือเข้าไปช่วยชาวบ้าน เวลาชาวบ้านถูกจับในข้อหาลักลอบขนไม้เถื่อน ส.ส. คนไหนยิ่งช่วยชาวบ้านได้มากเท่าไหร่ ส.ส. คนนั้นก็เป็นคนดี

เพราะฉะนั้น ส.ส. ก็ต้องพยายามไปมีอิทธิพล มีเส้นสายกับ ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ เพราะถึงเวลาที่ชาวบ้านขอให้ช่วยจะได้ช่วยได้

ถ้าถามว่าชาวบ้านเขาคิดอย่างนี้ เขาไม่สนใจกฎหมายหรือเปล่า ไม่ใช่นะ แต่กฎหมายของชาวบ้านไม่เหมือนกับกฎหมายของรัฐ ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด แล้ว ส.ส. ไปช่วยพวกค้ายาเสพติด ชาวบ้านจะด่าให้เลย เพราะเขาไม่ชอบยาเสพติด ชาวบ้านรู้สึกว่า ยาเสพติดเป็นของไม่ดีนั่นเอง แต่ถ้าชาวบ้านถูกจับเรื่องขนไม้เถื่อน เขาจะรู้สึกว่ากฎหมายนั้นไม่เป็นธรรม...

คงจะพอเข้าใจกันได้
พอสมควรนะครับ  ว่าทำไม คนชนบทเลือกตั้งรัฐบาล แล้วคนเมืองจึงต้องหาไปเรื่องล้มกันทุกที และคราวนี้ เสียงจากชนบทก็เป็นผู้เลือกอีก เรามาคอยดูกันซิว่าคราวนี้ คนเมืองเขาจะล้มรัฐบาล ที่กำลังจะมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้หญิงคนแรกของประเทศ กันอย่างไร และจะล้มโดยวิธีการใช้กฎหมาย มาเป็นเครื่องมือเหมือนที่ผ่านๆมา และได้ผลอีกหรือเปล่า

ที่พูดมานี่
ผมไม่ได้คิดจะชักใบให้นาวาของคุณยิ่งลักษณ์เสีย หรือบั่นทอนกำลังใจอะไรกัน เพราะผมเลือกแล้วที่จะยอมรับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคไหนจะขึ้นมาเป็นรัฐบาลตามกติกาของระบอบ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ หรือพรรคอะไรก็แล้วแต่

ผมเพียงแต่กำลังมองไปตามข้อเท็จจริง ที่คนเมืองหรือคนชั้นกลางเขาจะต้องทำกันจนกลายเป็นขนบ เพราะเขามองว่า รัฐบาลที่มาจากคนยากคนจนที่ด้อยการศึกษา จะต้องเป็นรัฐบาลที่ไม่มีคุณค่า แต่นักการเมืองที่เป็นตัวแทนของพวกเขา ถึงคราวเลือกตั้งทีไรก็แพ้ ส.ส. ไม่ดี พรรคการเมืองไม่ดี จากคะแนนที่ไร้คุณภาพ ตามทัศนะมุมมองของพวกเขาทุกที

ดังนั้น
พวกเขาจึงต้องหาเรื่องมาล้มรัฐบาลกันอีกต่อไป เพราะพวกเขาคงคิดกันว่า...ประเทศไทย ควรจะเป็นอย่างที่พวกเขา ซึ่งเป็นผู้กำหนดค่านิยม มาตรฐาน การศึกษา ระบบระเบียบ กฎกติกา และวัฒนธรรมต่างๆในสังคม ต้องการให้เป็นไปแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นกระมัง พวกเขาจึงยอมไม่ได้

เพราะรัฐบาลของคนชนบท
ไม่ใช่คนดี
ตามมาตรฐานของพวกเขานั่นเอง !

หมายเหตุ ; ครับ อันนี้เป็นส่วนปลีกย่อยส่วนหนึ่งของหัวข้อใหญ่ที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์ และตอบต่อข้อสงสัยของผมดังกล่าว ใจจริง ผมอยากจะนำส่วนอื่นที่น่าสนใจมาลงด้วย แต่ก็เกรงว่าท่านผู้อ่านจะเบื่อ จึงตัดมาให้อ่านและพยายามทำให้อ่านกันสนุกๆได้เพียงแค่นี้ ถ้าท่านสนใจอยากจะอ่านทั้งหมด ก็คงต้องไปหาหนังสือสารคดีเล่มนี้อ่านเอาเองนะครับ.

26 กรกฎาคม 2554

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา