Skip to main content

บทความวิเคราะห์
ความขัดแย้งของคณะนิติราษฎร์และฝ่ายที่ต่อต้าน ของ นักปรัชญาชายขอบ ที่ชื่อว่า “วาทกรรมความขัดแย้ง” ที่ลงในหน้าแรกประชาไทตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 เป็นบทความที่ให้ความกระจ่างแก่ตัวผม และใครต่อใครอีกหลายคน ที่สงสัยว่า ทำไมฝ่ายที่ต่อต้านจึงใช้วาทกรรม ด้วยท่าทีของผู้มีอำนาจ กล่าวหา ข่มขู่ ปิดกั้น การแสดงออกของนิติราษฎร์ และทำให้ผมสงสัยอีกว่า พวกเขาคงจะมีดีอะไรสักอย่าง ที่ทำให้พวกเขาเชื่อมั่นเหลือเกิน ที่จะสร้างวาทกรรมร้ายๆ หรือทำอะไรก็ได้แก่นิติราษฎร์ เพื่อให้หยุดความเคลื่อนไหว โดยไม่แคร์สังคมฝ่ายใดทั้งสิ้น ราวกับว่าประเทศนี้เป็นของพวกเขาแต่เพียงผู้เดียว เพียงแค่ยึดกุมและประกาศว่าตนเองเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นความชอบธรรม (หรือว่าความจริง คงจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ไม่รู้)

หลังจากผมอ่านบทความชิ้นนี้จบลง เหมือนคนง่วงนอนนั่งสลึมสลือ แล้วถูกใครสักคนหนึ่งเดินย่องๆเข้ามาข้างหลังเอากำปั้น ทุบหัว จนหายจากอาการง่วงนอนเป็นปลิดทิ้ง

ผมพลันพบว่า
นอกจากบทความชิ้นนี้ จะตอบคำถามดังกล่าวของผมจนเป็นที่พอใจ และนำไปพิจารณาเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งแล้ว บทความที่เขียนขึ้นมาแบบรื้อโครงสร้างและถอดส่วนประกอบ (Factor) ทั้งหมดของโครงสร้างความขัดแย้งออกมาให้เห็นทุกชิ้น บทความนี้ยังได้แจกแจงรายละเอียดสาเหตุของความขัดแย้ง ว่าเริ่มต้นจากใครกับใคร อะไรกับอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ เพราะอะไร และทำไม ฯลฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในรูปการณ์ต่างๆ ด้วยคุณภาพของงาน - ที่ผมพอจะบอกใครต่อใครได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า ถ้าคุณได้อ่านบทความชิ้นนี้ คุณสามารถที่จะเข้าใจการเมืองในบ้านเรา และติดตามความเคลื่อนไหวของมันได้ทั้งความจริงและความเท็จ โดยไม่สับสนหรือหลงทางง่ายๆ เพราะจับต้นตอสาเหตุอันสลับซับซ้อนของความขัดแย้งนี้ได้แล้ว ถ้าหากบทความชิ้นนี้ มิได้เขียนขึ้นมา...เพื่อบิดเบือนความเป็นจริง (ที่แท้จริง)

ผมจึงขอนำบทความชิ้นนี้ ซึ่งมีผู้อ่านโพสต์เข้าไปแสดงความชื่นชมกันมากมายมาลง ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง เพราะนึกเสียดายแทนหลายๆคนที่ไม่ได้อ่าน และขออนุญาตท่านผู้เขียน เปลี่ยนชื่อบทความจาก วาทกรรมความขัดแย้ง มาเป็น ดังนั้น เขาจึงใช้อำนาจ “ปิดพื้น” ของเสรีภาพและเหตุผล ซึ่งเป็นข้อความประโยคหนึ่งในตอนท้ายบทความนี้ เพื่อนำเสนอในแง่มุมใหม่เพื่อเรียกร้องความสนใจจากท่านผู้อ่าน - ให้เข้ามาอ่านกันมากๆ (ทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านนิติราษฎร์ เพื่อร่วมกันช่วยพิจารณา) ด้วยความเชื่อดังที่ ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ นักเขียนวรรณกรรมผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกกล่าวเอาไว้ว่า
“There is no subject so old that some thing new cannot be said about it”
“ไม่มีสิ่งใดเก่า เกินกว่าจะนำมากล่าวถึงในแง่มุมใหม่” ดังต่อไปนี้
..............
..............

จริงๆแล้ว
ปัญหาสังคมไทยเวลานี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า ความขัดแย้งตามที่เป็นจริง เป็นปัญหาที่ยากเกินกว่าจะแก้ไขได้ แต่อยู่ที่การใช้ “วาทกรรมความขัดแย้ง” (ถ้อยคำถกเถียงตอบโต้ - ถนอม ไชยวงษ์แก้ว) แต่อยู่ที่การใช้ “วาทกรรมขัดแย้ง” เพื่อสกัดกั้น และ/หรือปิดทางการแก้ปัญหา

ตัวอย่างเช่น
การอ้างเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง “ที่คาดว่า” จะเกิดขึ้น เพื่อ “ปิดพื้นที่” ในธรรมศาสตร์ ไม่ให้มีความเคลื่อนไหวแก้ ม.112 มหาวิทยาลัยสารคาม ห้ามใช้พื้นที่อภิปราย ม.112 การที่ ผบ.ทบ. และ คุณเฉลิมอยู่ บำรุง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ออกมาประสานเสียงให้นิติราษฎร์หยุดความเคลื่อนไหวรณรงค์แก้ ม.112 (ที่จริงเป็นบทบาทของ ครก.112) อ้างว่า จะก่อให้เกิด “ความขัดแย้งรอบใหม่” เป็นต้น

น่าสังเกตว่า
“ความขัดแย้ง” ที่อ้างถึง คือ “ความขัดแย้ง” ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ฉะนั้น ความขัดแย้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นดังกล่าวจึงเป็น “วาทกรรม” (discourse) ที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป้าหมายทางการเมือง นั่นคือ เพื่อยุติข้อเสนอแก้ 112 และข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหารของนิติราษฎร์ และยุติการเยียวยาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการดำเนินการใดๆของฝ่ายตรงกันข้ามที่ขัดแย้งกับความคิดเห็น จุดยืนทางการเมือง และ/หรือที่จะกระทบต่อสถานภาพ อำนาจ ผลประโยชน์ และโอกาสทางการเมืองของฝ่ายตน

เช่น
ข้อเสนอเรื่องหลักการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างผลพวงรัฐประหาร เป็นข้อเสนอที่แหลมคมทางปัญญาที่ทำให้หวั่นไหวกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นอำมาตย์ กองทัพ พันธมิตร ประชาธิปัตย์ กลุ่มที่ก่อรัฐประหาร 19 กันยา เนติบริกร ทั้งในและนอกธรรมศาสตร์ นักวิชาการ สื่อที่สนับสนุนรัฐประหาร คนเหล่านี้ ต่างมีส่วนทั้งโดยตรงและทางอ้อมไปทำให้เกิดรัฐประหาร 19 กันยา และมีส่วนในการรับรองความชอบธรรมของเขาอย่างแน่นอน หากข้อเสนอเรื่องหลักการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างผลพวงรัฐประหารของนิติราษฎร์เป็นไปได้จริง หลายคนที่ออกมาคัดค้านอาจต้องขึ้นศาล เสียเครดิตทางวิชาการ ทางสังคม พ่ายแพ้ทางการเมืองอย่างราบคาบและยาวนาน

แต่จะทำอย่างไรดี
จะสู้ด้วยเหตุผล พวกเขาก็ไม่มีปัญญาความรู้ ไล่ให้ออกนอกประเทศ ไล่ให้เปลี่ยนสัญชาติ กล่าวหาว่าไม่รู้ประวัติศาสตร์ไทย ด่าว่า ในหลวงไปทำอะไรพวกมึง ด่าว่าเนรคุณ ด่าว่าพ่อแม่ไม่สั่งไม่สอน และด่าหรือขู่อย่างไรก็ไม่ได้ผล เมื่อ “หมดมุข” ก็เลยใช้อำนาจทุกทางเพื่อให้นิติราษฎร์หยุด และใช้ “วาทกรรมขัดแย้ง” สนับสนุนการใช้อำนาจนั้น

อย่างไรก็ตาม
วาทกรรมความขัดแย้งดังกล่าว แม้จะเลยเถิดไปถึงการขู่ว่า ในที่สุดอาจจะต้องไปถึงจุดที่ต้องยุติความขัดแย้งด้วยรัฐประหาร มันก็เป็นมายาคติ (myth) - (มายาคติ - คำลวง ความลวง กลลวง ทางลวง / ถนอม ไชยวงษ์แก้ว) ที่สะท้อนความต้องการของฝ่ายรัฐประหาร และสนับสนุนการทำรัฐประหารทั้งโดยตรงและโดยอ้อมกลุ่มเดิมๆเท่านั้น เพราะนิยามของ “ความขัดแย้ง” สำหรับคนเหล่านี้หมายถึง “การกระทำใดๆที่ขัดแย้งกับความต้องการของพวกเขา” เช่น การแก้ ม. 112 การลบล้างผลพวงรัฐประหาร การเยียวยาฯ การแก้รัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่พวกเขาไม่ต้องการ

ทำไม
พวกเขาจึงไม่ต้องการให้สิ่งดังกล่าวเกิดขึ้น ก็เพราะ
1. มันเป็นการทำลายข้ออ้างและเจตนารมณ์ทั้งปวงของรัฐประหาร 19 กันยา
2. มันทำลายความชอบธรรมของการสังหารประชาชนอย่างป่าเถื่อนในช่วงเมษา - พฤษภา 53 และ
3. พวกเขาบางส่วนอาจเดือดร้อนถึงขั้นต้องขึ้นศาล จะต้องพ่ายแพ้ทางการเมืองยาวนาน หมดโอกาสที่จะทำรัฐประหาร เพราะตามข้อเสนอนิติราษฎร์ จะไม่มีการทำรัฐประหารที่ “หลุดพ้น” จากการต้องรับผิดชอบทางทางกฎหมายอีกต่อไป คุณอาจทำรัฐประหารสำเร็จ แต่เมื่อสังคมกลับคืนสู่สภาพความเป็นประชาธิปไตย คุณต้องขึ้นศาลในความผิดล้มล้างรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีโทษประหารชีวิต

ส่วนพวกนิติกร รัฐศาสตร์บริกร ต่อให้หน้าหนาขนาดไหนก็คงเสียหน้า เสียเครดิตทางสังคม เสียโอกาสทำมาหากินกับฝ่าย อำนาจเก่า จึงพากันดาหน้าออกมาคัดค้านด้วยตรรกะที่มีคุณภาพไม่ต่างอะไรจาก “ตรรกะแบบทหาร”
(หมายถึงให้แก้ปัญหาความขัดแย้งทางความคิด ด้วยการบอกให้ “เงียบ” ซึ่งเป็นตรรกะใน “วัฒนธรรมอำนาจนิยม” เช่น ถ้าลูกหรือลูกศิษย์ถาม หรือเถียงมากๆ พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ก็จะบอกให้เงียบซะ นักศึกษา อาจารย์ ตั้งคำถามมาก วิจารณ์มาก ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ก็บอกให้เงียบซะ พลเมืองตั้งคำถามมาก ผู้มีอำนาจรัฐตัวจริง ก็บอกให้เงียบ บอกให้หยุด ถ้าไม่ยอมทำตาม ก็ใช้อำนาจหรือลงโทษ)
คนเหล่านี้ ยังหลงอยู่ในจินตนาการว่า “รัฐไทยเป็นรัฐประชาธิปไตยภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีทหารเป็นใหญ่”

พูดอย่างถึงที่สุด
วาทกรรมความขัดแย้ง มันคือภาพสะท้อนความขัดแย้งที่เป็นมาตั้งแต่ 19 กันยา (หรือยาวนานเท่ากับการพยายามฟื้น โปรโมท “ลัทธิกษัตริย์นิยม”) ได้แก่ความขัดแย้งระหว่าง
ฝ่ายพยายามฟื้นฟูความเข้มแข็งของรัฐประชาธิปไตยภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กับฝ่ายที่ต้องการสร้างรัฐประชาธิปไตยตามเจตนารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ให้เป็นจริง นั่นคือรัฐประชาธิปไตยสมบูรณ์ที่ประชาชนเป็นใหญ่ หรือเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง

ความขัดแย้งดังกล่าวนี้ คือ ความขัดแย้งที่เป็นจริง และมีนัยสำคัญเป็นอุดมการณ์ ข้อเสนอของนิติราษฎร์มันมีความแหลมคมยิ่งในเชิงอุดมการณ์ ที่ฝ่ายคัดค้านได้แต่ด่าเป็นส่วนใหญ่ เพราะพวกเขากลัวที่จะพูดถึงข้อเสนอ และเหตุผลของนิติราษฎร์ตรงๆ เพราะยิ่งพูดก็ยิ่งจะทำให้สังคมรับรู้ในวงกว้าง แล้วสังคมก็จะเห็นความจริงว่า พวกเขาไม่สามารถโต้แย้งข้อเสนอและเหตุผลของนิติราษฎร์ได้เลย เราจึงเห็นข้อเสนอแปลกๆของฝ่ายคัดค้านนิติราษฎร์ที่ว่า
“สื่อควรใช้วิจารณญาณในการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับข้อเสนอและเหตุผลของนิติราษฎร์”

สิ่งที่ฝ่ายสร้าง
หรือ “ผลิตซ้ำ” วาทกรรมความขัดแย้ง พยายามทำอยู่ตลอดเวลา คือการสร้างมายาคติว่า
นิติราษฎร์ไม่เอาเจ้า
อยู่ตรงกันข้ามกับในหลวง

เหมือนอย่างที่สร้างมายาคติ ที่ทำให้พวกเขาบรรลุผลในการทำรัฐประหาร 19 กันยา มาแล้ว คือ
ทักษิณล้มล้างสถาบัน
ทักษิณอยู่ตรงกันข้ามกับนายหลวง
เอาทักษิณเท่ากับไม่เอานายหลวง

แล้วก็ยังสร้างมายาคติต่อไปว่า
แก้รัฐธรรมนูญก็คือแก้เพื่อทักษิณ
สังคมไทยจะตกอยู่ภายใต้ “เผด็จการผูกขาด” โดยทักษิณ

พวกเขาพยายามเบี่ยงเบนเรื่องแก้ ม.112 ให้เป็นเรื่องของตัวบุคคล คือ เป็นเรื่องความไม่จงรักภักดีต่อ “ในหลวง” องค์ปัจจุบัน และเรื่องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นเรื่องแก้เพื่อ “ทักษิณ” แล้วก็พยายามปั่นกระแสความขัดแย้งให้สังคม โดยใช้สื่อ “กระแสหลัก” และสื่อ “สลิ่ม” เป็นเครื่องมือ

แน่นอนว่า
พวกเขาจะละเว้นที่จะอภิปรายอย่างตรงไปตรงมา กับข้อเสนอแก้ ม.112 และข้อเสนอหลักการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อลบล้างผลพวงรัฐประหาร ของ นิติราษฎร์ มาตราเยียวยาฯ และการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล เพื่อ โดย จะก่อให้เกิดความก้าวหน้าของประชาธิปไตยอย่างไร จะก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคมอย่างไร เป็นต้น

ที่ละเว้นจะอธิบายการถกเถียง เพราะว่าพวกเขาไม่มีปัญญาจะหักล้างเหตุผลงได้ ดังนั้น พวกเขาจึงใช้อำนาจ “ปิดพื้นที่” ของเสรีภาพและเหตุผลในมหาวิทยาลัย และพวกเขาก็ขู่ให้ “หยุดเคลื่อนไหว”
นี่คือวิธีคิดของพวกผลิตซ้ำวาทกรรมการขัดแย้งบนนิยาม “ความขัดแย้ง” ที่ว่า “ความขัดแย้ง”
ย่อมหมายถึง การกระทำใดๆที่ขัดแย้งกับความต้องการของข้า.

ครับ
นักปรัชญาชายขอบจบบทความของเขาเพียงแค่นี้ แต่เมื่อผมคลิกเข้าไปอ่านบทความชื่อ วิญญาณหลอนของการลอบสังหาร ที่ คุณนิรมล โฆษ แปลจาก The Ghost of Massacre ที่ลงหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 วันเดียวกัน และเป็นเนื้อหาเดียวกัน แต่บทความนี้ได้โฟกัสมุมมองไปที่เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษา ประชาชน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2519 เมื่อ 36 ปีก่อนว่า ได้เกิดวาทกรรมเช่นนี้กล่าวหาผู้รียกร้องประชาธิปไตยจากพวกฝ่ายขวาหรืออำนาจเก่าว่า เป็นพวกที่ต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนจะลงมือล้อมปราบและสังหารหมู่อย่างเหี้ยมโหดในธรรมศาสตร์ เช่นเดียวกับวาทกรรมที่เกิดขึ้นกับทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ก่อนจะถูกทำรัฐประหาร 19 กันยา มาเทียบกับชะตากรรมของนิติราษฎร์ที่กำลังเผชิญกับวาทกรรมชุดเดียวกันอยู่ในขณะนี้

โดยบทความชิ้นนี้ ได้แสดงความเห็นที่น่าพรั่นพรึงเอาไว้ในตอนจบว่า
“...เมื่อนั่งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มันยากที่จะเชื่อว่าประวัติศาสตร์อย่างนั้น จะสามารถซ้ำรอยเกิดขึ้นได้อีกครั้ง ยิ่งพิจารณาบริบทที่ต่างจากเดิม แต่บางทีอาจจะเป็นอย่างสำนวนที่ว่า
plus ca change c’est la meme chose
ยิ่งเปลี่ยนแปลงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเหมือนเดิมมากเท่านั้น
มันอาจเป็นลางสังหรณ์ แต่เป็นลางสังหรณ์จากนักวิเคราะห์ผู้ช่ำชอง คงมีแต่สายลมที่โบกพัดใต้กิ่งใบแห่งบรมโพธิ์ เท่านั้น ที่จะรู้คำตอบ...”

ผมอ่านแล้วถึงกับขนลุก กับลางสังหรณ์ที่บทความกล่าวว่า เป็นลางสังหรณ์จากนักวิเคราะห์ผู้ช่ำชอง และได้แต่ภาวนาขออย่าให้มันเกิดขึ้น ถ้าหากนิติราษฎร์ยังไม่ยอมหยุดการเคลื่อนไหว เพราะเพียงแค่วาทกรรมโต้แย้งกัน พวกเขาก็ก้าวกระโดดข้ามเหตุผล ไปล่วงลุการใช้อารมณ์แบบดิบๆด้วยโทสะล้วนๆกล่าวหาดุด่านิติราษฎร์ว่าอยู่ตรงกันข้ามกับสถาบันกษัตริย์ ติดตามด้วยการใช้อำนาจ ข่มขู่ ปิดกั้น เสรีภาพของนิติราษฎร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเปิดกว้างที่สุดของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

ถ้าหากมีการรุกฆาตกัน ใครเลยจะรู้ว่า สังคมฝ่ายที่ต่อต้านนิติราษฎร์ ที่มีนักคิดทางสังคมท่านหนึ่งนิยามเอาไว้อย่างน่าตกใจว่า มันเป็นสังคมที่ Absurd (ไร้สาระ ไร้ความหมาย ไร้เหตุผล) จะดลบันดาลให้เกิดอะไรที่มัน Absurd เป็นบ้ากันยิ่งไปกว่านี้...กับผู้ที่คิดต่าง เช่น นิติราษฎร์

ก็เท่านั้น
ไม่ว่าจะมีอะไรที่ร้ายแรงเกิดขึ้นกับใครในสังคม
วันและเดือนแห่งความรักในประเทศนี้
ก็ยังคงดำเนินต่อไปด้วยความรื่นรมย์อย่างน่ามหัศจรรย์
เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
นอกความรักและความรัก เท่านั้น
อาเมน !

14 กุมภาพันธ์ 2555
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา