Skip to main content

20080225 ภาพดอกไม้สีแดง ประกอบเรื่องเล่าเล็กๆ

เมื่อไม่นานมานี้
ผมได้ค้นพบหนังสือธรรมะเล่มเล็กๆขนาดฝ่ามือ หนาร้อยกว่าหน้าเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “หลวงปู่ฝากไว้” ที่ร้านหนังสือเก่าหลังตลาดมะจำโรงในตัวอำเภอ ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากบ้านผมเท่าใดนัก หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือเผยแพร่การแสดงธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งรวบรวมและบันทึกเอาไว้โดย พระโพธินันทมุนี

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นลูกศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝ่ายอรัญญวาสีในยุคปัจจุบัน ท่านเป็นพระที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ดังที่ พระโพธินันทมุนี ได้กล่าวเอาไว้ในคำนำหนังสือว่า
“หลวงปู่เป็นผู้ไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุด แต่มีปฏิภาณไหวพริบฉับไวมาก และไม่มีผิดพลาด พูดสั้นๆย่อๆแต่อมความหมายไว้อย่างสมบูรณ์ คำพูดของท่านแต่ละประโยคมีความหมายและเนื้อหาจบสิ้นลงโดยสิ้นเชิง เหมือนหนึ่งสะกดจิตผู้ฟังหรือผู้ถาม ให้ฉุกคิดอยู่เป็นเวลานาน แล้วก็ต้องใช้ความตริตรองด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง”

เมื่อผมได้อ่าน
บันทึกธรรมะสั้นๆร้อยกว่าเรื่องของหลวงปู่ในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีทั้งธรรมะแบบธรรมดา แบบชวนขบขัน และแบบสัจธรรมล้วนๆ  ผมก็เห็นคล้อยตามที่ พระโพธินันทมุนี ได้เกริ่นกล่าวเอาไว้ ไม่เชื่อคุณลองชิมอ่านตัวอย่างที่ผมคัดมาดังต่อไปนี้

1.ทุกข์เพราะอะไร
สุภาพสตรีวัยกลางคนผู้หนึ่ง เข้านมัสการหลวงปู่พรรณนาถึงฐานะของตนว่าอยู่ในฐานะดี ไม่เคยขาดแคลนสิ่งใดเลย แต่มาเสียใจกับลูกชายที่สอนไม่ได้ เพราะลูกไม่อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดี ตกอยู่ภายใต้อบายมุขทุกอย่าง ทำลายทรัพย์สมบัติและจิตใจของพ่อแม่ จนเหลือที่จะทนได้ ขอความกรุณาหลวงปู่ให้ช่วยแนะอุบายบรรเทาทุกข์ และแก้ไขให้ลูกชายพ้นจากอบายมุขนั้นด้วย
หลวงปู่แนะนำสั่งสอนไปตามเรื่องราวนั้นๆ ถึงแนะอุบายทำใจให้สงบ รู้จักปล่อยวางให้เป็น เมื่อสุภาพสตรีผู้นั้นกลับไปแล้ว หลวงปู่ได้ปรารภธรรมให้ฟังว่า
“คนสมัยนี้ เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด”

2. จริงตามความเป็นจริง
สุภาพสตรีชาวจีนคนหนึ่ง ถวายสักการะแด่หลวงปู่แล้ว เข้ากราบเรียนว่า ดิฉันต้องไปอยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำมาค้าขายอยู่ใกล้ญาติทางโน้น ทีนี้บรรดาญาติๆก็เสนอว่า ควรจะขายของชนิดนั้นบ้างชนิดนี้บ้าง ตามแต่เขาจะเห็นดีว่าขายอะไรได้ดี ดิฉันยังมีความลังเลใจ ตัดสินใจเองไม่ได้ว่าควรจะเลือกขายของอะไร จึงขอให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยว่า จะให้ดิฉันขายอะไรจึงจะดีเจ้าคะ
หลวงปู่ตอบว่า
“ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ ถ้ามีคนซื้อ”

3. คนละเรื่อง
มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดแดนไกลสามสี่คน เข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของพวกเขาแล้ว คงคุ้นเคยกับพระแบบนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อน สังเกตจากการนั่ง การพูด เขานั่งตามสบาย พูดตามถนัด
ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่า หลวงปู่องค์นี้คงสนใจในเรื่องเครื่องรางของขลัง เขาจึงพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนอย่างไร ในที่สุดก็งัดเอาของออกมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่ คนหนึ่งมีเขี้ยวหมูตัน คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ อีกคนมีนอแรด ต่างคนต่างอวดอ้างของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ คนหนึ่งเอยถามหลวงปู่ว่า
“อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันครับ”
หลวงปู่อารมณ์รื่นเป็นพิเศษจึงตอบว่า
“ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดรัจฉานเหมือนกันหมด”

4. รู้ให้พร้อม
ระหว่างที่หลวงปู่อยู่รักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นั้น มีผู้ไปกราบนมัสการและฟังธรรมเป็นจำนวนมาก คุณบำรุงศักดิ์ กองสุข เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการปฏิบัติสมาธิภาวนา นัยว่าเป็นลูกศิษย์ของหลวง พ่อสนอง กตปุญโญ แห่งวัดสังฆทาน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นวัดปฏิบัติที่เคร่งครัดฝ่ายธุดงค์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน ได้ปรารภธรรมกับหลวงปู่ ถึงเรื่องการละกิเลสว่า
“หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้”
หลวงปู่ตอบว่า
“ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง”

5. ขันติ
เท่าที่อยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ตลอดเวลาอันยาวนาน ไม่เคยเห็นท่านแสดงอากัปกิริยาใดๆ ให้เห็นว่า ท่านอึดอัดหรือรำคาญจนทนไม่ได้ ถึงต้องบ่นอุบอิบอู้อี้กับกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไปเป็นประธานไม่ว่าในงานสถานที่ใดๆ ท่านจะไม่ทำตัวเป็นเจ้ากี้เจ้าการรื้อฟื้น หรือให้เขาจัดแจงดัดแปลงอะไรใหม่ หรือไปในสถานที่มีกิจนิมนต์ แม้จะต้องนั่งนานหรืออากาศอบอ้าวอย่างไร ก็ไม่เคยบ่น

เวลาเจ็บไข้ไม่สบาย หรือเวลาอาหารมาไม่ตรงเวลา แม้จะหิวกระหายสักเพียงใด ก็ไม่เคยบ่น หรือสำออย หรือแม้รสชาดอาหารจะจืดจางอย่างไร ก็ไม่เคยเรียกหาเครื่องปรุงเพิ่มเติมอะไรเลย ตรงกันข้าม ถ้าเเห็นพระเถระรูปไหน ชอบเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ขี้บ่น หรือทำสำออยให้คนอื่นเอาใจ หลวงปู่มักจะปรารภให้ฟังว่า
“แค่นี้อดทนไม่ได้หรือ ถ้าแค่นี้อดทนไม่ได้ จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้อย่างไร”

6. ไม่เบียดเบียนวาจา
หลวงปู่กล่าววาจาบริสุทธิ์ เพราะท่านกล่าวเฉพาะวาจาที่เป็นประโยชน์ และไม่ทำให้ตนและผู้อื่นเดือดร้อน…เพราะคำพูดของท่าน แม้จะมีผู้ใดมาพูดชักชวนให้ท่านวิพากษ์วิจารณ์ใครๆให้เขาฟังสักอย่าง ท่านก็ไม่เคยคล้อยตาม

หลายครั้งมีคนถามท่านว่า หลวงปู่ ทำไมพระนักพูดนักเผยแพร่ธรรมะระดับประเทศบางองค์ เวลาพูดหรือเทศน์ จึงชอบโจมตีผู้อื่น หรือพูดกระทบกระแทกพระเถระด้วยกัน พระพูดในลักษณะนี้ จ้างผมก็ไม่นับถือ
หลวงปู่ตอบว่า
“ก็ท่านมีภูมิรู้ มีภูมิธรรมอยู่อย่างนั้น ท่านก็ต้องพูดไปตามความรู้ความถนัดของท่านนั่นแหละ การจ้างไม่ให้นับถือ ไม่มีใครเขาจ้างกันหรอก เมื่อไม่อยากนับถือ ก็อย่าไปนับถือสิ ท่านคงไม่ว่าอะไรหรอก”

7. อยู่ ก็อยู่ให้เหนือ
ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีก็จริง แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส และสุขภาพแข็งแรงอนามัยดี แม้ผู้อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมา ก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคล้ำหรืออิดโรย หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดออกมาให้เห็น

ท่านมีปรกติสงบเย็นเบิกบานอยู่เสมอ มีอาพาธน้อย มีอารมณ์ดี ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่เผลอคล้อยตามคำสรรเสริญ หรือคำตำหนิติเตียน
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนาที่สนทนาธรรม เรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์โดยลักษณะการอย่างไร
หลวงปู่ตอบว่า
“การไม่กังวล การไม่ยึดถือ นั่นแหละคือวิหารธรรมของนักปฏิบัติ”

ครับ นี่คือสื่อธรรมะสั้นๆ ของหลวงปู่ดูลย์ ที่ผมได้อ่านแล้ว รู้สึกว่ามันเป็นธรรมะที่น่ารัก อ่านแล้ว คิดแล้ว…ทำให้เราต้องอุทานกับตัวเองว่า เออ ใช่ๆ สิ่งที่ถูกต้องและดีงาม มันต้องเป็นอย่างนี้นี่เอง สาธุ!

18 กุมภาพันธุ์ 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  แล้วในที่สุด ผมก็ได้รับรู้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องเป็นราว (ที่อยากรู้มานาน) ของ คุณหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเครือข่ายราษฎร์อาสาปกป้องสถาบัน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่ออกมาต่อต้านข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์และครก.112 จากการเป็นวิทยากรรับเชิญอภิปรายในเรื่องนี้ ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ FCCT เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 55 ที่ประชาไทนำมาลงในหน้าแรกประชาไท เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 55 ทั้งคลิปภาพและเสียงการอภิปรายที่ใช้ภาษาอังกฤษล้วนๆ และเนื้อหาที่ประชาไทแปลแบบย่อความมา รวมทั้งการตอบคำถามของผู้สื่อข่าว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเข้าใจว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ช่างเถิด ถึงแม้ว่า เขาจะดื่มตั้งแต่ลืมตาตื่นขึ้นมา ตั้งแต่เช้าจนจรดเย็น เพื่อบำบัดความเปล่าเปลี่ยวในหัวใจของเขา ในยามที่ชีวิตของเขาตกต่ำ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
การต่อสู้กันทางการเมืองครั้งนี้ เป็นการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำในสังคมที่ขัดแย้งกัน หรือพูดง่ายๆก็คือระหว่างทุนเก่ากับทุนใหม่ ที่ช่วงชิงอำนาจกันเพื่อขึ้นเป็นรัฐบาล ที่ต่างฝ่ายต่างมีประชาชนเป็นฐานคะแนนเสียงสนับสนุนอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย ซึ่งต่างจากการต่อสู้กันในยุคเดือนตุลามหาวิปโยค ที่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับประชาชน นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน โดยตรง
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคน คนหนึ่งล้มลงป่วย เขาย่อมได้รับการเยียวยารักษา ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน ยากดีมีจนอย่างไร หาไม่เช่นนั้น..อาการป่วยไข้ของเขาย่อมลุกลามใหญ่โต และชีวิตเขาย่อมมีอันเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้กระทั่งถึงแก่ชีวิตได้  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  800x600 Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH MicrosoftInternetExplorer4 /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-priority:99; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt;…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1. ผมสัมผัส งานวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองของ คำ ผกา ด้วยความรู้สึกเดียวกันกับใครบางคนหรือสองคนสามคน ที่เคยแอบเป็นห่วงความแรงเธอ และต่อมาต่างก็พากันเลิกรู้สึก เมื่อเธอยืนยันความเป็นตัวตนของเธออย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยืนหยัดอยู่ได้มานานจนเป็นปรกติธรรมดามาจนถึงวันนี้ และสรุปกันว่ามันเป็นธรรมชาติวิสัยของเธอที่ต้องเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับสังคมที่เคยตกอกตกใจ ต่างก็เคยชิน...และยอมรับความเป็นตัวตนในการสื่อสารของเธอ ทั้งคนที่รักเธอและเกลียดเธอในเรื่องอุดมการณ์ความคิดที่ต่างกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  สวย เขาก็หาว่า สวยแต่รูปจูบไม่หอม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบโดย อรวรรณ ชมพู จาก ชมพูเชียงดาว coffe" คุณพยายามหลีกเลี่ยงลดละ การดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การถกเถียงกันเพื่อเอาชนะกัน การทะเลาะเบาะแว้งกัน การท่องเที่ยวในยามวิกาล การขับรถด้วยความรีบร้อน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  น้ำท่วม เดือนตุลาคม 2554 ไหลลงไปจากที่สูงลงไปท่วมท้น ทุกหนทุกแห่งที่เป็นที่ต่ำ - ตามธรรมชาติของน้ำ ไม่ละเว้นว่าพื้นที่แห่งนั้นจะเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้าน ล้านเท่าไหร่ ไม่ละเว้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองหลวงหรือชนบท แม้แต่วัดวาอารามศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนกราบไหว้ ยังมิอาจป้องกัน ยังมิอาจสวดมนต์ภาวนาใดๆ ขอให้มวลมหึมาของอุทกภัยอันยิ่งใหญ่ ละเว้นไว้อยู่กับองค์พระปฏิมา