Skip to main content

คนเหนือ

หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า


...
ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก...


วิถีชีวิตคนเมือง

อยู่กันอย่างเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มีอะไรแบ่งปันกัน ชอบอยู่อย่างสงบไม่ทะเลาะกัน ผักตำลึงตามรั้วพืชผักในสวนในบ้านขอแบ่งปันกันได้ บ้านชิดติดกันตักแกงใส่ถ้วยให้กัน บ้านใดมีงานศพงานแต่งงานไม่ต้องแจกบัตรเชิญเพียงบอกด้วยวาจาหรือเพียงทราบข่าวผู้คนในชุมชนก็ไปร่วม กาลเวลาผ่านไปทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย ผู้คนโยกย้ายคนรุ่นใหม่ถูกหล่อหลอมตามยุคสมัย ความคิดถูกป้อนข้อมูลใหม่ แนวคิดวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมจืดจางไป คนรุ่นลูกรุ่นหลานทอดทิ้งสังคมบ้านเกิด มุ่งเดินตามรอยสังคมเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบตัวใครตัวมัน ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อกินอาหารไร้คุณภาพตามห้างสรรพสินค้า


ในตัวเมืองเชียงใหม่

หลายแห่งถูกกลืนด้วยสังคมเมือง คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมาอาศัยอยู่บ้านติดกัน ไม่รู้จักกัน รั้วไม้ไผ่รั้วที่ปลูกด้วยกระถิน ต้นชา ฯลฯ หายไปกลายเป็นคอนกรีตสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวว่า ในเชียงใหม่เหลือชุมชนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบคนเมืองเพียง 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนวัดเกตุ และชุมชนวัดศรี-สุพรรณ


ในชนบทดั้งเดิม

ที่ข้างประตูหน้าบ้านจะมีหม้อน้ำกระบวยตั้งอยู่บนที่วางสูงจากพื้นราว 50 เซนติเมตร ที่วางนี้บางแห่งจะทำหลังคามุงด้วยกระเบื้องแผ่นเล็ก บางแห่งเป็นแผ่นไม้สร้างอย่างสวยงาม ใครผ่านไปมาหิวน้ำก็แวะกินได้


เจ้าของบ้านจะเปลี่ยนน้ำในหม้อดินทุกวัน ในปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว ผมเคยทำงานในหลายอำเภอ เช่น ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง และเชียงดาว เคยเห็นหม้อน้ำหน้าบ้านที่ถนนเข้าถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว เพียง2-3แห่งอีกแห่งหนึ่งจะพบในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเชียงดาว เช่น โรงเรียนบ้านเชียงดาว

 



มีเหตุการณ์

ที่เป็นอุทาหรณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนที่ผมสอนหนังสือ ทุกเช้าและเย็นจะมีชาวบ้านเดินผ่านบ้านหลังหนึ่งไปยังนาข้าวของตน หน้าบ้านหลังนี้จะมีหม้อน้ำหรือ “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” วางตั้งอยู่ใครผ่านไปมากระหายน้ำก็มักตักน้ำดื่มเสมอ วันหนึ่งตอนเย็นผู้ที่ดื่มน้ำบ้านหลังนี้ท้องร่วงรุนแรงต้องหามส่งโรงพยาบาลราว8-9คน ผู้ใหญ่บ้านสอบสวนเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านยืนยันหนักแน่นว่าไม่ได้ใส่อะไรในหม้อน้ำ ผลการสอบสวนในเวลาต่อมาได้ทราบความจริงว่ามีผู้ที่มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าของบ้านนำสลอดมาใส่ในหม้อน้ำ เพื่อไม่ให้เรื่องยุ่งยากยืดยาว ผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ผู้ร้ายตัวจริงรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลคนป่วยกำชับอย่าทำอีก...จากนั้นหิ้งน้ำหน้าบ้านหรือฮ้านน้ำหน้าบ้านก็หายไปจากหมู่บ้าน


หม้อน้ำหน้าบ้าน

ของคนเมืองเรียกชื่อว่า “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” เป็นนัยบอกถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่กันอย่างมีจิตใจที่ดีต่อกันคือมีคุณธรรมนั่นเอง โลกหมุนไปทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ฉลาดย่อมรู้จักรักษาสิ่งที่คิดว่ามีคุณค่าก็ต้องรักษาไว้ แต่มิได้หมายความว่าเราต้องจมอยู่กับโบราณวัตถุ จารีตประเพณีซากปรักหักพังที่พูดไม่ได้จนไม่มองไปข้างหน้า....ผมเขียนเรื่องนี้ต้องการเพียงยกมือชูป้ายบอกว่า

ให้เหลียวหลังฤาแลหน้าวิถีแบบไทยด้วยใจ (สมอง) แบบสากล” เท่านั้นเองครับ.



บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…