Skip to main content

คนเหนือ

หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า


...
ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ แพร่ น่าน ตาก...


วิถีชีวิตคนเมือง

อยู่กันอย่างเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มีอะไรแบ่งปันกัน ชอบอยู่อย่างสงบไม่ทะเลาะกัน ผักตำลึงตามรั้วพืชผักในสวนในบ้านขอแบ่งปันกันได้ บ้านชิดติดกันตักแกงใส่ถ้วยให้กัน บ้านใดมีงานศพงานแต่งงานไม่ต้องแจกบัตรเชิญเพียงบอกด้วยวาจาหรือเพียงทราบข่าวผู้คนในชุมชนก็ไปร่วม กาลเวลาผ่านไปทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปด้วย ผู้คนโยกย้ายคนรุ่นใหม่ถูกหล่อหลอมตามยุคสมัย ความคิดถูกป้อนข้อมูลใหม่ แนวคิดวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมจืดจางไป คนรุ่นลูกรุ่นหลานทอดทิ้งสังคมบ้านเกิด มุ่งเดินตามรอยสังคมเมือง ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบตัวใครตัวมัน ใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อกินอาหารไร้คุณภาพตามห้างสรรพสินค้า


ในตัวเมืองเชียงใหม่

หลายแห่งถูกกลืนด้วยสังคมเมือง คนต่างถิ่นต่างวัฒนธรรมมาอาศัยอยู่บ้านติดกัน ไม่รู้จักกัน รั้วไม้ไผ่รั้วที่ปลูกด้วยกระถิน ต้นชา ฯลฯ หายไปกลายเป็นคอนกรีตสิ้นความสัมพันธ์ต่อกัน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวว่า ในเชียงใหม่เหลือชุมชนที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบคนเมืองเพียง 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนวัดเกตุ และชุมชนวัดศรี-สุพรรณ


ในชนบทดั้งเดิม

ที่ข้างประตูหน้าบ้านจะมีหม้อน้ำกระบวยตั้งอยู่บนที่วางสูงจากพื้นราว 50 เซนติเมตร ที่วางนี้บางแห่งจะทำหลังคามุงด้วยกระเบื้องแผ่นเล็ก บางแห่งเป็นแผ่นไม้สร้างอย่างสวยงาม ใครผ่านไปมาหิวน้ำก็แวะกินได้


เจ้าของบ้านจะเปลี่ยนน้ำในหม้อดินทุกวัน ในปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว ผมเคยทำงานในหลายอำเภอ เช่น ฝาง แม่อาย ไชยปราการ เวียงแหง และเชียงดาว เคยเห็นหม้อน้ำหน้าบ้านที่ถนนเข้าถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว เพียง2-3แห่งอีกแห่งหนึ่งจะพบในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเชียงดาว เช่น โรงเรียนบ้านเชียงดาว

 



มีเหตุการณ์

ที่เป็นอุทาหรณ์เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนที่ผมสอนหนังสือ ทุกเช้าและเย็นจะมีชาวบ้านเดินผ่านบ้านหลังหนึ่งไปยังนาข้าวของตน หน้าบ้านหลังนี้จะมีหม้อน้ำหรือ “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” วางตั้งอยู่ใครผ่านไปมากระหายน้ำก็มักตักน้ำดื่มเสมอ วันหนึ่งตอนเย็นผู้ที่ดื่มน้ำบ้านหลังนี้ท้องร่วงรุนแรงต้องหามส่งโรงพยาบาลราว8-9คน ผู้ใหญ่บ้านสอบสวนเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านยืนยันหนักแน่นว่าไม่ได้ใส่อะไรในหม้อน้ำ ผลการสอบสวนในเวลาต่อมาได้ทราบความจริงว่ามีผู้ที่มีเรื่องขัดแย้งกับเจ้าของบ้านนำสลอดมาใส่ในหม้อน้ำ เพื่อไม่ให้เรื่องยุ่งยากยืดยาว ผู้ใหญ่บ้านสั่งให้ผู้ร้ายตัวจริงรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลคนป่วยกำชับอย่าทำอีก...จากนั้นหิ้งน้ำหน้าบ้านหรือฮ้านน้ำหน้าบ้านก็หายไปจากหมู่บ้าน


หม้อน้ำหน้าบ้าน

ของคนเมืองเรียกชื่อว่า “ฮ้านน้ำ” หรือ “หิ้งน้ำ” เป็นนัยบอกถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนอยู่กันอย่างมีจิตใจที่ดีต่อกันคือมีคุณธรรมนั่นเอง โลกหมุนไปทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่ฉลาดย่อมรู้จักรักษาสิ่งที่คิดว่ามีคุณค่าก็ต้องรักษาไว้ แต่มิได้หมายความว่าเราต้องจมอยู่กับโบราณวัตถุ จารีตประเพณีซากปรักหักพังที่พูดไม่ได้จนไม่มองไปข้างหน้า....ผมเขียนเรื่องนี้ต้องการเพียงยกมือชูป้ายบอกว่า

ให้เหลียวหลังฤาแลหน้าวิถีแบบไทยด้วยใจ (สมอง) แบบสากล” เท่านั้นเองครับ.



บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ศึกครั้งนี้ใหญ่หลวง มันไม่พูด รุกคืบคลานไปข้างหน้าไม่มีหยุด เหมือนเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ในหนังฝรั่งประเภท ไซไฟ (Sci-Fi) สภาพคล้ายเมือกฟองปุด ไหลกลืนกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เป็นมฤตยูเงียบ เลือดเย็น มันคือกระแสน้ำ มิใช่หยดน้ำ...กระแสน้ำครั้งนี้เหมือนข้าศึกบ้านเมืองยุคปัจจุบัน ไม่มีการเจรจาพักรบ พักเหนื่อยพักหายใจ ไพร่พลมหาศาลหนุนเนื่อง หัวเมืองใหญ่น้อยจากเหนือลงใต้ถูกโจมตีแตกพ่าย มันกรีฑาทัพมุ่งโจมตีเมืองหลวง ที่มั่นสุดท้ายของเรา ปริมาณมหาศาล มาแรงและเร็ว มันคือกระแสน้ำ...…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ลองพิจารณาคำพูดของน้องธัญญ์ คุณสรยุทธจากรายการ “ เจาะข่าวเด่นช่อง 3 .”(14 มิ.ย. 2554)ถามว่า “ ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์มา เคยมีเวลาใดที่รู้สึกทุกข์ใจบ้างหรือไม่ ?.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  3 เมษายน 2554 ได้ทราบข่าว นักเรียนไทยในสิงคโปร์ประสบอุบัติเหตุ ถูกรถไฟ  MRT ของสิงคโปร์ทับขาขาดทั้งสองข้าง ในเวลาต่อมาได้มีการเสนอข่าวเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ได้ทราบเรื่องราวต่อมา คนไทยที่ได้รับอุบัติเหตุครั้งนี้ ชื่อ เด็กหญิงณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ อายุ 14 ปี เดินทางไปเรียนซัมเมอร์คอร์สภาษาอังกฤษ เคมบริดจ์ ที่สิงคโปร์ เธอเป็นนักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดตรัง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หากวิเคราะห์เรื่องน้ำท่วม ปีหนึ่งหากท่วม 1 ครั้งต่อปี ประชาชนเดือนร้อนก็ช่วยเหลือกันไป มอบถุงยังชีพมอบอาหาร ให้ค่าชดเชยหลัง 5, 000 บาท พอพ้นฤดูน้ำท่วมปัญหาหมดไปลืมกันไป ปีหน้าว่ากันอีกที ไม่ทราบว่ามีแผนป้องกันระดับประเทศไหมหนอ มีหน่วยงานใดเป็นเจ้าของเรื่องป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ยังขาดการทำงานที่เป็นระบบ คือสอดคล้องสัมพันธ์กันทุกขั้นตอนการทำงาน ยังขาดเอกภาพ ขาดความร่วมมือ  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ที่บ้านทุ่งแป้ง  อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ฝนตกตลอดคืนวันที่ 6 , 9 , 13 กันยายน พ.ศ. 2554 พอเช้าวันที่ 14 กันยายน แม่น้ำขานเริ่มมีระดับสูงขึ้นรวดเร็ว และล้น บ่าข้ามถนนข้างแม่น้ำเข้าท่วมบ้านทุ่งแป้งจำนวน 90 กว่าหลังคา ระดับน้ำสูงขึ้นช้าๆ ต่อมาเริ่มท่วมถนนข้างบ้าน ที่คั่นระหว่าง บ้านผมกับวัดทุ่งแป้ง    ได้ยินเสียงน้ำไหลซ่าเข้าประตูวัด บริเวณบ้านผมได้ถมดินให้สูงก่อนปลูก น้ำ จึงยังไม่ท่วม บ้านอื่นรอบๆถูกน้ำท่วมหมดแล้ว มีเพื่อนบ้านนำรถยนต์มาฝาก 2 คัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  กรณีกลุ่มชาวบ้านอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อ้างว่าได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเตรียมยื่นรัฐบาลชุดใหม่แก้กฎหมายจำนวน 3 ฉบับ รวมทั้งมีการต่อต้านและกล่าวโจมตีเจ้าหน้าที่นั้น ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชี้แจงว่า ไม่น่ามีปัญหาเพราะได้ชี้แจงทำความเข้าใจแล้วว่า จุดมุ่งหมายของทั้งกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้ดำเนินคดีกับชาวบ้าน แต่ดำเนินคดีกับกลุ่มทุนคนรวยคนมีเงิน ที่ไปบุกรุกเพื่อตัดวงจรการบุกรุกป่า ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    อธิบดีกรมป่าไม้กล่าวอย่างน่าสนใจ คดีบุกรุกป่าไม้ ใช้เวลาในการสอบคดีนาน 1-10 ปี กรณีบุกรุกอุทยานทับลาน ใช้เวลานานมาก กว่าคดีจะสิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ให้รื้อถอนออกไป แต่ยังไม่ยอมรื้อ กรมป่าไม้จะใช้วังน้ำเขียวเป็นโมเดล ในการจัดการปัญหาการรุกป่า ให้เป็นตัวอย่างกับพื้นที่อื่นอย่างถึงที่สุด  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมป่าไม้ สำนักงานการปฏิรูปที่เดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้ามาร่วมกันดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มข้าราชการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่ทำผิดกฎหมาย เช่น เอกสารที่ไม่ชอบให้กับเอกชนบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(ส.ป.ก.)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  คนบางคนเสียชีวิตแล้ว ยังมีคนคิดถึง นึกถึงผลงานความดีที่ได้ทำ ยิ่งเสียชีวิตเพื่อปกป้องสิ่งอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและผู้อื่น คนยิ่งไม่ลืมเลือน น่าเสียดาย คนทั่วไปมักยกย่องชื่นชม สืบสานเจตนารมณ์ เมื่อเขาหมดสิ้นลมหายใจ ยามมีลมหายใจเข้าออก มีกำลังทำงาน กลับไม่มีใครตระหนัก ให้การสนับสนุน ให้พลังใจ ไม่มีเลยจริงๆ คนหนึ่งนั้นคือ คุณสืบ นาคะเสถียร  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    มีภาพคลื่นผู้คนแย่งกันขึ้นสะพานเรือ  แต่สะพานหย่อนลงไม่ถึงพื้น จึงไม่มีใครเข้าไปได้ มีอะไรบางอย่างขัดสะพานที่ทำหน้าที่คล้ายประตูเข้าเรือ เรือถูกคลื่นสึนามิกระแทกเคลื่อนเข้าใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์ “ โอ้โฮ ! น้ำมันท่วมสูงถึงเพียงนี้หรือ ?.” ผมพูดในใจ คลื่นพาเรือใกล้ภูเขาเอเวอเรสต์เข้าไปอีก ใกล้เข้าไปๆ เรือติดเครื่องไม่ได้ เพราะประตูปิดค้างอยู่ ทำให้ไม่สามารถถอยเรือออกห่างภูเขาเอเวอเรสต์ได้ ถ้าเรือกระแทกเขาเอเวอเรสต์ที่ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ เรือย่อมแตกเป็นหลายเสี่ยง พระเอกดำน้ำลงไปแก้ไข ตื่นเต้นเหลือเกิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  นักตีความ ให้ความสนใจโคลงบทนี้มาก ต้องมาตีความกันอย่างหนัก เหตุการณ์จริงคือ สลัดอากาศจี้เครื่องบินโบอิ้ง จำนวน 2 ลำ พุ่งชนอาคารเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ของอเมริกา ซึ่งเป็นตึกแฝดพังทลายลง(11 กันยนยน 2001) เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น  ตรงตามคำพยากรณ์ แต่ปี เดือน ไม่ตรงกัน