อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ประจำวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 มีข่าวหนึ่งสะดุดตาและสมอง หนังสือพิมพ์พาดหัวข่าวว่า
“ ทึ่ง ‘ ข้าวไม่ต้องหุง’ ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย.” มันสะดุดตาตรงที่ ข้าวไม่ต้องหุง ข้าวอะไรไม่ต้องหุง ? ต้องเป็นข้าวที่มีคุณภาพพิเศษมากๆแน่นอน สะดุดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบอกว่า ศูนย์วิจัยคิดค้นรายแรกของไทย อะไรที่มีคำว่าวิจัย ผมสนใจเสมอ เพราะมันหมายถึง การค้นหาคำตอบในเชิงวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ความจริงได้ อ่านรายละเอียดข่าวแล้ว พอจะตกผลึกได้ว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่คิดค้นข้าวไม่ต้องหุง สำเร็จรายแรกของไทย อ่านมาถึงตอนนี้ หัวใจชักพองโตด้วยความภาคภูมิใจ คนไทยเก่งนะ เกิดความอยากไปดูให้เห็นกับตา ที่ศูนย์วิจัยแห่งนี้ อยากดูข้าวที่ไม่ต้องหุง มันมีลักษณะอย่างไรหนอ ข่าวบอกว่า ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ โถ ! อยู่ใกล้ๆบ้านผมนี่เอง ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่อยู่ที่ถนนโค้งก่อนถึงสี่แยกตลาดมะจำโรง ฝั่งตะวันออก ถนนสันป่าตอง เชียงใหม่ ผมบอกตนเอง ต้องขับรถยนต์ไปดู ไปหาข้อมูลรายละเอียดให้ได้ บ้านผมอยู่บ้านทุ่งแป้งแค่นี้เอง
6 กรกฎาคม 2553
ผมขับรถยนต์พร้อมภรรยาออกจากบ้าน พารถคดเคี้ยวไปตามถนนเป็นหลุมเล็กทะลุถึงตลาดต้นแหน ตรงมุมถนนข้างตลาดต้นแหน จะเป็นหลักกิโลเมตรที่ 33 พอดีครับ ผมขับรถเลี้ยวซ้าย ขึ้นเหนือเข้าอำเภอสันป่าตอง ราว 5 กิโลเมตรก็ถึงหน้าศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ หมู่ 3 ตำบลมะขามหลวง อำเภอสันป่าตอง เชียงใหม่ เปิดไฟเลี้ยวขวา จอดรถนิ่งกลางถนน พอถนนว่าง ขับรถเข้าไปช้าๆ จอดที่ป้อมยาม ถามยามถึงคุณสกุล มูลคำ นักวิชาการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ ยามชี้ตรงเข้าไปตามถนน พร้อมเปิดเสาที่ขวางทางเข้า ผมกล่าวขอบคุณ ขับรถเข้าไปช้าๆ ตากวาดมองซ้ายขวา ตามประสาคนแปลกสถานที่ ถนนเป็นคอนกรีต มีต้นไม้ใหญ่น้อยมากมาย มีอาคารสวยงามปลูกเป็นระยะ เป็นระเบียบ บรรยากาศเงียบสงบ มองจากข้างนอก คาดว่าคงมีอาคารสัก 2-3 หลัง มีเนื้อที่แคบๆ พอขับรถเข้ามาเห็น เนื้อที่กว้างขวางทีเดียว อาคารหลายหลัง บ้านพักอีก จอดรถหน้าอาคารหลังหนึ่ง น่าจะเป็นอาคารที่ติดกับด้านหลังสุดของศูนย์วิจัย ฯ จอดรถเดินข้ามถนนไปยังอาคารชั้นเดียว มีผู้หญิงต่างวัย 2 คนต้อนรับ ได้ความว่า
คุณสกุล มูลคำ นักวิชาการชำนาญการศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ เดินทางไปประชุมที่เชียงใหม่ เจ้าหน้าที่อัธยาศัยดีบอกว่า หากจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้าวไม่ต้องหุง คงไม่เหมาะสมเพราะเป็นผู้น้อย ขอให้มาพบหัวหน้าฯ ดีกว่า เธอให้หมายเลขโทรศัพท์คุณสกุล มูลคำ หมายเลข 089-9509061
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
หากไม่ย้ายเมืองหลวง
คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป มาในแนวสู้ไม่ถอย ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท แรงงานว่างงาน 7-9.2 แสนคน และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม ในวงเงินประมาณ 7.56 แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ประเทศแรก
ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ในอดีต
มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค ลองไล่ตามลำดับ
เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาในในสมัยรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พอมาถึงยุคท่านสมัคร สุนทรเวช เจ้าของวลีเด็ดๆ เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ อะไรกันนักหนา ฯลฯ” ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
การย้ายเมือง
มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ ดังเช่น เมืองลำพูนในอดีต ในปี พ.ศ. 1490 เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก ผู้คนล้มตายมากมาย ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี” คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญหรือมอญ และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม
เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง
ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้
1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่
2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่
3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…