ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
รอหมอนานๆน่าเบื่อ
ส่วนใหญ่นั่งเงียบที่แถวเก้าอี้ หูคอยฟังนางพยาบาลเรียกพบหมอ ส่วนตานั้นจับจ้องดูความเคลื่อนไหวของนางพยาบาล บางคนฆ่าเวลาด้วยการพูดคุยกับคนข้างเคียง ได้ยินนางพยาบาลที่ประจำห้องตรวจรียกชื่อคนไข้เป็นระยะๆ แล้วผายมือให้นั่งรอคิวที่เก้าอี้ข้างประตูห้องตรวจ นั่งรอหมอนานๆไม่รู้ทำอะไร ผมฆ่าเวลาโดยมองดูสิ่งรอบๆตัวให้สบายตา ดูพยาบาลชุดขาวสะอาด ผิวขาวสะอาดสะอ้าน คนนี้หน้าสวย คนนั้นตาสวย คนนี้พูดเพราะ ทุกคนเคลื่อนไหวตลอด บ้างก้มหน้าพิมพ์ข้อมูลที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ หมอเดินเร็วสลับวิ่งเข้าห้องตรวจโน้นออกห้องนี้ เสียงคนไข้นั่งหรือยืนรอคุยกันเบาๆ บางครั้งได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ลั่น ขณะหยอดยาตาเพื่อตรวจ ยานี้จะแสบมาก
ตาผมจับจ้องที่หมวกนางพยาบาล
หมวกมีรูปทรงคล้ายผ้าโพกหัวผู้หญิง ความจริงหมวกนางพยาบาลได้วิวัฒนาการมาจาก หมวก
แม่ชีในศาสนาคริตส์ เพราะนางพยาบาลเริ่มจากผู้ศรัทธาในพระเจ้า รวมทีมกันทำงานช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ทำให้นึกถึง ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (ค.ศ.1820-1910) ผู้บุกเบิกด้านพยาบาลยุคใหม่ ผู้นี้ได้รับการขนานนามว่า “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (Lady of the Lamp) ผลงานที่ดังที่สุดของเธอคือ เธอพร้อมกับคณะนางพยาบาลอาสาสมัครหญิง 38 คน ได้ไปแนวรบ ไครเมีย ประเทศตุรกี เพื่อดูแลพยาบาลทหารที่บาดเจ็บ
เวลาผ่านไปจนเที่ยงวัน
นางพยาบาลยังไม่เรียกพบหมอ กินข้าวกลางวันเสร็จ มานั่งรอหมอต่อในช่วงบ่าย การรอนานๆตั้งแต่ 7 โมงเช้าจนถึง 15.00-16.00 น. คนไข้บางคนจะมีอารมณ์หงุดหงิด คุณยายท่านหนึ่งอายุราว 60 ปีเศษ ดูยังแข็งแรง เปลี่ยนจากท่านั่งเหยียดขาทั้งสองข้าง เป็นนั่งขัดสมาธิบนม้ายาว แล้วเปลี่ยนเป็นท่ามือขวาท้าวคางค้ำศีรษะไว้ เอ่ยกับพยาบาลประจำห้องตรวจข้างหน้า ที่ทำหน้าที่เรียกคนไข้พบหมอ
“ เมื่อใด จะได้ตรวจซักเตื้อ รอตั้งแต่ 7 โมงเจ้า ?”
“ รอสักครู่ คนไข้มันนัก(มาก) ต้องตรวจตามคิวเจ้า.”
“ อย่างนี้ ไปกาดหลวงก่อนท่าจะดีเนาะ ?” คนไข้หญิงสูงวัยกล่าวประชด แกหมุนตัวเปลี่ยนเป็นท่าเหยียดขาทั้งสองข้าง ใครได้ยินเสียงแกพูด ต่างหันไปจ้องคู่สนทนาที่กำลังจะชักธงรบสงครามปาก มันเหมือนพายุอารมณ์ที่พัดมาอย่างอย่างรวดเร็ว ผมเห็นหน้าขาวของนางพยาบาลแดงเรื่อขึ้นทันที เธอนิ่งเหมือนข่มอารมณ์เต็มที่
“ ตามใจแม่เน้อ.”
การสนทนาจบลงอย่างไร้จิตวิญญาณ รอและรอ ไม่มีทางเลือกอื่น
ผมตื่นจากภวังค์
ได้ยินเสียงนางพยาบาลเรียกชื่อ ที่สุดแห่งการรอคอย ผมได้รับการตรวจเวลา 17.00 น.เศษ ม้ายาวตรงกลางห้องว่างโหวงเหวง เหลือคนไข้แค่ 3 คน ผมบอกอาการให้หมอทราบ
“ มีแสงแวบๆคล้ายฟ้าแลบในตาใช่ไหม ?” หมอหนุ่มหน้าตายิ้มแย้มถาม
“ ครับ และยังมีเยื่อบางๆลอยไปมา มัน มันเหมือนตะกอนลอยไปมาในน้ำยั้งงั้นแหละครับหมอ .” ผมรีบอธิบายละล่ำละลัก
“ เอ้า ! หมอตรวจดูก่อนนะ ลืมตาให้กว้าง เงยหน้ามองข้างบนมากๆ เอ่อ ! อย่างนั้น หมอจะป้ายยาที่ตาก่อน เพื่อให้มองเห็นชัด จะวัดความดันลูกตาหน่อยนะ ยาแสบนิดหนึ่ง .”
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พื้นที่ป่าเมืองไทยล่าสุดเหลือเท่าไร ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2552 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ามากกว่า 72 ล้านไร่ เฉลี่ยป่าถูกทำลายปีละ 1.6 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าร้อยละ 53.3 หรือประมาณ 171 ล้านไร่ พอมาถึงปี พ.ศ.