ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม
ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1 ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม มีข้อมูลระบุว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงในรอบ 50 ปีของเมืองเชียงใหม่
ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป
ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป
น้ำท่วมประเทศไทย
ปี พ.ศ.2554 ปริมาณน้ำทั้งสิ้นหรือที่เรียกว่ามวลน้ำมากถึง 1.6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร มวลน้ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหลแรงและมาเร็ว มวลน้ำมากว่าปีที่แล้ว (พ.ศ.2553) ถึง 3 เท่าทีเดียว การสร้างเขื่อนเพื่อกักน้ำและปล่อยน้ำ ให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์นั้น เขื่อนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ จะแก้ปัญหาได้ถ้ามวลน้ำมีขนาดปานกลางหรือน้อย ถ้ามวลน้ำมากอย่างปีนี้ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เลย หลายจังหวัดโดนน้ำท่วมหนัก เช่น นครสวรรค์ อยุธยา ลพบุรี ที่ติดกรุงเทพฯได้แก่จังหวัด ปทุมธานี นนทบุรี โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจังหวัดอยุธยาถูกน้ำท่วมหมด
ผลสำรวจล่าสุดของเอเบคโพลล์รายงานว่า มาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมมีประชาชนรับรู้ 59.8 % ประชาชนรู้สึกว่าความช่วยเหลือพอเพียง 79.3 % ผลโพลล์ยังบอกอีกว่า ประชาชนเห็นใจและพอใจที่นายกรัฐมนตรีทุ่มเทการทำงาน ล่าสุดนายกฯ ประกาศใช้มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เมื่อ 21 ตุลาคม 2554 เวลา 17.00น. เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำท่วมเป็นไปอย่างมีเอกภาพ เป็นระบบ พูดได้ว่ารัฐบาลนี้คิดไวทำไว พยายามแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองทุกนาทีทุกชั่วโมง นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจงานด้วยตนเอง วางแผนรองรับทั้งวันนี้ และอนาคตถึงการเยียวยาดูแลผู้ประสบอุทกภัยทั้งประชาชนและคนงาน ทั้งชาวนา
ทุ่มเทพลังลงไปเถอะท่านนายกฯและคณะรัฐบาล ทำเต็มที่ เต็มศักยภาพ ประชาชนจะเห็นเอง ขอปรบมือเป็นกำลังใจให้ครับ ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ถือเสียว่า เป็นการทดสอบจากพระเจ้า ทดสอบความเข้มแข็ง อดทน ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้นำประเทศและรัฐบาล อีกส่วนหนึ่งยังชื่นชมผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ที่ทุ่มพลังทั้งมวลพยายามปกป้องน้ำท่วมกรุงเทพฯสุดชีวิต ปรบมือให้ทุกฝ่ายทุกคนที่รวมพลังสู้ภัยน้ำท่วม ความลำบากพิสูจน์คนได้หลายอย่าง ได้พบผู้เสียสละ ผู้เอื้อเฟื้อ มิตรแท้ ความมีสติ ความสุขุมเยือกเย็น ผู้กล้าที่แท้จริง.
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พื้นที่ป่าเมืองไทยล่าสุดเหลือเท่าไร ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2552 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่ามากกว่า 72 ล้านไร่ เฉลี่ยป่าถูกทำลายปีละ 1.6 ล้านไร่ และในปี พ.ศ. 2504 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าร้อยละ 53.3 หรือประมาณ 171 ล้านไร่ พอมาถึงปี พ.ศ.