หากไม่ย้ายเมืองหลวง
คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป มาในแนวสู้ไม่ถอย ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท แรงงานว่างงาน 7-9.2 แสนคน และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม ในวงเงินประมาณ 7.56 แสนล้านบาท
ภารกิจรัฐบาลไทย
ที่ต้องทำต่อไป ทราบว่าได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันน้ำท่วมระดับชาติขึ้น ประกอบด้วยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำ เรียกว่ากูรูด้านน้ำท่วม ครั้งนี้และจะได้หลอมความรู้ความคิดเห็นเป็นหนึ่งเดียว ทิศทางเดียวกัน ในการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วม ที่จะท่วมหนักร้ายแรงในอนาคต น้ำท่วมหนักปี พ.ศ. 2554 จะเป็นกรณีสำหรับศึกษาได้อย่างดีที่สุด น้ำฝนมากน้อยแค่ไหน จะส่งผลต่อปริมาณน้ำในเขื่อนหรือไม่ คูคลอง ประตูระบาย จะช่วยระบายน้ำได้อย่างไร ประชาชนมีบทบาทแค่ไหนต่อปัญหาน้ำท่วมบ้าน การป้องกันน้ำท่วมโรงงานอุตสาหกรรมสำคัญ จะทำอย่างไร กล่าวรวมๆก็คือการบริหารจัดการน้ำที่เป็นองค์รวมนั่นเอง เป็นการบริหารน้ำในภาพรวม สัมพันธ์กันทุกระดับ
รูปแบบสิ่งก่อสร้าง
และที่อยู่อาศัย คงกลับมาใช้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของเรา คือไม่ปลูกสร้างบ้านขวางทางน้ำไหล ใต้ถุนบ้านต้องโล่ง ช่วยการไหลผ่านของน้ำได้สะดวกรวดเร็ว อาจเป็นบ้านแบบบ้านลอยน้ำในอินโดนีเซีย บ้านลอยน้ำเขมร บ้านลอยน้ำที่ออนตาริโอ คานาดา บ้านลอยน้ำในมาเลเซีย บ้านลอยน้ำภูมิปัญญาชาวบ้านที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี บ้านลอยน้ำประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองลอยน้ำ (Float City)
ในอนาคต
คงไม่เกินปีหรืออาจเร็วกว่านี้ เมืองที่มีสิทธิต้องเผชิญน้ำท่วมใหญ่ได้แก่ กัลกัตตา มุมไบ ดาการ์ กว่างโจว โฮจิมินห์ เซียงไฮ้ กรุงเทพฯ(ลำดับที่ 7) ย่างกุ้ง ไมอามี่ ไห่ฟง หากย้ายเมืองหนีน้ำท่วม การย้ายเมืองหลวงเป็นเรื่องปรกติ หาควรตื่นตระหนกกังวลจนเกินไป การละลายของภูเขาน้ำแข็ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดพายุรุนแรงบ่อยขึ้น เหล่านี้เป็นเรื่องที่เราๆท่านๆรู้ดี ผืนดินอยู่ใกล้ชายฝั่ง หรือที่ราบลุ่มจะจมลง การย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่สูงก่อนถูกน้ำจมทั้งเมือง เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ถ้าหากทอดสายตามองออกไปไกลๆในอนาคต ท่านว่าทางเลือกใดจะคุ้มค่ากว่ากัน ระหว่างงบประมาณที่ใช้ย้ายเมืองหลวง กับงบประมาณที่ใช้ป้องกันน้ำท่วมและเยียวยาหลังน้ำลด
นายวิทเซอร์ บูมส์
ผู้เชี่ยวชาญจากเนเธอร์แลนด์กล่าวว่า การป้องกันน้ำท่วมต้องใช้งบประมาณมหาศาลต่อปี อย่างเนเธอร์แลนด์ แต่ละปีใช้งบหมื่นล้านบาท อีกไม่กี่ปีต้องเพิ่มเป็น 8 หมื่นล้านบาท หรือ 0.4 % ของจีดีพี.