Skip to main content

ตอนเช้า

จะกวาดบ้านทุกวัน เศษฝุ่น ขี้จิ้งจก จะมีเสมอ ลากไม้กวาดช้าๆไปที่หัวบันไดบ้าน บันไดจะอยู่ด้านข้างทอดสู่เบื้องล่าง มีเศษหญ้าแห้งหย่อมหนึ่ง ผมฉงนมันมาได้อย่างไร หรือเจ้าไส้กรอกสุนัขตัวเดียวในบ้านคาบมา เช้าวันที่สองเหมือนเดิม เศษต้นหญ้าแห้ง มีใบไม้แห้งเพิ่มมา คงไม่ใช่เจ้าไส้กรอกคาบมาเล่นแน่นอน แต่ยังหาคำตอบไม่ได้ กวาดที่หัวบันไดบ้านในเช้าอีกวันต่อมา เศษต้นหญ้าแห้งปรากฏที่เก่าเวลาเช้าเช่นเดิม ความสงสัยทวีคูณ ยืนครุ่นคิดที่หัวบันไดบ้าน มือถือไม้กวาดค้างไว้ เงยหน้าดูเพดานที่หัวบันได ใต้ชายคามีเศษหญ้าแห้งอัดตามช่องไม้ระแนง ที่ตีเป็นฝ้าเพดาน ไม้ระแนงจะตีห่างกันราว 1 นิ้วเศษ เป็นนกแน่เลย มันคงคาบหญ้าแห้งมาทำรัง หญ้าบางส่วนที่คาบมาคงหล่นลงมาที่หัวบันได เมื่อประจักษ์แจ้งผู้สร้างที่อยู่อาศัยโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ผมจึงซุ่มจับตัว ตอนกลางวันจะนั่งเก้าอี้ใต้ถุนบ้าน อ่านหนังสือเขียนหนังสือ ตาคอยสังเกตดูนกที่ปรากฏตัว


มันเปิดเผยตัวแล้ว

เป็นนกเอี้ยง 3 ตัว เวียนกันคาบหญ้าแห้งบินหายไปใต้หลังคาเหนือหัวบันไดตลอดวัน ผมยอมไม่ได้ มันอาจนำโรคมาให้ ยังทำให้บ้านรกรุงรัง มูลถ่ายออกมายังสกปรกอีกด้วย ผมจึงทำการต่อต้านโครงการของมัน มันขนหญ้าทำรังตอนกลางวัน ตอนเช้าผมใช้ไม้เขี่ยออก มันไม่ยอมแพ้ ผมก็ไม่ยอมหยุด มันขนผมรื้อ มาซิมา สู้กันด้วยความอึด ความทนทาน ผมจะไม่ใช้หนังสะติ๊กยิงมัน ไม่ส่งเสียงขับไล่มัน เราจะสู้กันอย่างมีกฎกติกา มารยาท ฝ่ายนกเอี้ยงมีกำลังนก 3 ตัว ฝ่ายผมมีกำลังคน 2 คนคือผมกับภรรยา การต่อสู้ระหว่างคนกับนกดำเนินไปได้ 1 เดือน ผมเริ่มเบื่อเริ่มท้อ ส่วนเจ้านกเอี้ยงยังส่งเสียงร้องแก๋ๆประสานงานกันเป็นทีมขนหญ้าอย่างคึกคัก ผมหารือกับภรรยา เราควรเปลี่ยนยุทธวิธี เธอแนะให้ใช้หุ่นไล่กา ผมหยุดคิดมันจะได้ผลหรือ มันเป็นเป็นเพียงหุ่นหลอกๆไร้ชีวิต เพราะความเบื่อความเหนื่อยใจจึงยอมให้เธอทำหุ่นไล่กาขับไล่นกเอี้ยง เธอนำเสื้อกั๊กไหมพรมสีดำแขวนไม้แขวนเสื้อ นำไปเกี่ยวใต้หลังคา ณ จุดที่นกบินแวบเข้าสร้างรัง


ผมสังเกตดูอย่างสนใจ

น่าแปลก น่าอัศจรรย์ สำหรับยุค พ.ศ.2555 เจ้านกเอี้ยงมันไม่บินมาทำรังอีกเลย ผมยิ้มหัวเราะฮ่าๆในใจ เจ้าแพ้ข้าแล้ว...ผิดคาด เจ้านกเอี้ยงยังไม่ยอมสะบัดยกธงขาวยอมแพ้ มันย้ายมาทำรังต่อใต้หลังคาที่จั่วด้านหน้าบ้าน มันอึดจริงๆ ยังขยันขนหญ้าแห้งมาทำรังทั้ง 3 ตัว ผมจะยอมแพ้มันได้อย่างไร ยอมมันก็เสียคน ผมรวบรวมพลังใจสู้มันอีกครั้ง ให้มันเสียนกไปเลยดีกว่าเราเสียคน ใต้ชายคามันสูงมาก ผมต้องใช้ไม้ยาวขึ้น ตรงปลายไม้ผูกตะขอแบนๆ ทำให้งอเพื่อใช้เกี่ยวหญ้าที่จุกช่องไม้ระแนง ผมต้องแหงนคอแหงนหน้าขณะเกี่ยวหญ้าแห้ง ที่นกคาบมาทำรังทุกเย็นออก ใช้เวลาเกี่ยวนานกว่าจะหมด ปวดเมื่อยลำคอมาก ร่ำๆจะยอมแพ้เจ้านกเอี้ยง แต่กลัวเสียคน กัดฟันสู้แบบปากกล้าขาสั่น สู้กับมันแบบ “เสือสั้นตวัก สุนัขจนตรอก” นานถึงครึ่งเดือน มันจึงไม่มาทำรังอีก มันเสียนกไปเลย เสียนกตั้ง 3 ตัว ผมหายใจโล่งอก ไม่ต้องปวดเมื่อยลำคออีกต่อไป...ขอบใจนายจริงๆ.                                     

 

 .........................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…