Skip to main content

 

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 


ผมย้ายที่นั่ง

เปลี่ยนแว่นอันใหม่เพื่อเปลี่ยนมุมมอง จะไม่เรียกว่า “โจรก่อการร้าย” หรือ”โจรแบ่งแยกดินแดน” หรือ”ผู้ก่อความไม่สงบ”ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเป็นการมองมุมเดียวแล้วตั้งชื่อตามความเข้าใจ บนข้อมูลจากสื่อที่ได้รับทางเดียว แต่จะเรียกกลางๆว่า “ผู้ก่อเหตุรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้” น่าจะเหมาะสม การตัดสินสรุปเรื่องราวใด คงต้องหาข้อมูลรอบด้านทั้งสองฝ่าย มองย้อนหลังไปหาอดีต หารากเหง้า

อาณาจักรปัตตานี

ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่น่าจะเกิดในสมัยแคว้นลังกาสุกะ ราวพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง ปี พ.ศ.2329 รัชกาลที่ 1 ทรงยกทัพไปตีเมืองปัตตานีได้ ปัตตานีจึงตกเป็นของสยามตั้งแต่บัดนั้น สยามยึดเอาทรัพย์สมบัติและปืนใหญ่ที่หล่อในสมัยรายาบีรูไป 3 กระบอก เหลือมาถึงกรุงเทพฯเพียง 1 กระบอก คือปืนใหญ่       พญาปัตตานี ปัจจุบันอยู่หน้ากระทรวงกลาโหม แต่ความไม่พอใจต่อการปกครองของชาวสยาม ทำให้เกิดกบฏ 2 ครั้ง ต่อมาสมัยรัชการที่ 2 จึงแยกปัตตานีเป็น 7 หัวเมือง พอถึงรัชกาลที่ 3 ทรงตัดสินพระทัยให้ราชวงศ์กลันตันปกครองปัตตานีต่อมา และกวาดเอาเชลยมาตั้งถิ่นฐานริมคลองแสนแสบ จนมาถึงปี พ.ศ.2445ในรัชกาลที่ 5 ได้จัดการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ถือเป็นปีสิ้นสุดของอาณาจักรปัตตานี กลายเป็นส่วนหนึ่งของสยามโดยสมบูรณ์

ในปี พ.ศ.2466

 ชาวบ้านจำนวนมากออกมาประท้วงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ในรัชกาลที่ 6 ทรงออกพระบรม       ราโชบายไว้ 6 ข้อ เพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่และข้าราชการ นำไปสู่การยุบมณฑลปัตตานีเป็น 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จึงถึงปัจจุบัน พอมาถึง พ.ศ.2482 จอมพล ป.พิบูลสงครามจัดตั้งสภาวัฒนธรรม บังคับให้ประชาชนสวมหมวก แต่งกายแบบไทย ห้ามพูดภาษามลายู ทำตามวัฒนธรรมไทย และยังมีการกดขี่จากเจ้าหน้าที่รัฐ จนลุกลามเป็นกบฏในปี พ.ศ.2491 มีคนเสียชีวิต 400 คนยังไม่พอ มีการประท้วงของชาวบ้านกว่า 3 หมื่นคนในพ.ศ.2528 เมื่อกระทรวงศึกษาธิการออกคำสั่งให้ประดิษฐานพระพุทธรูปข้างเสาธงโรงเรียน เพื่อจัดกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้าทุกวัน...เป็นปีที่ผมดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ได้นำพระพุทธรูปจำนวน 3 องค์บรรทุกรถสี่ล้อรับจ้างขึ้นอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งมอบให้โรงเรียนดำเนินการ...อีก 3 ปีต่อมาออกคำสั่งห้ามคลุมศีรษะ(ฮิญาบ)เข้าสถานศึกษาหรือกรณีมัสยิดกรือเซะ มีผู้เสียชีวิต 107 คน รวมทั้งเหตุการณ์ตากใบมีผู้เสียชีวิต 84 คน.

การศึกษาประวัติศาสตร์

ปัตตานีในภาษาไทย มีไม่มากนัก หลักสูตรในโรงเรียนนำเสนอตามที่ชนชั้นปกครองที่มีอำนาจขณะนั้นตั้งธงไว้ เรื่องราวบางอย่างจึงไม่ได้ถูกบันทึกไว้หรือละเลยมองข้ามไป ประวัติศาสตร์ในโรงเรียน จึงเป็นเพียงเหตุการณ์ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด บางครั้งถูกบิดเบือนผิดเพี้ยนไป ปัตตานีในประวัติศาสตร์ไทย คือประเทศเอกราช แขก ที่มีแต่เรื่องวุ่นวาย มีการเคลื่อนไหวประท้วงและก่อการกบฏ อิสลามในประเทศไทยมี 2 กลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่าแขกหรือบัง ขอบอกว่า แขกพวกหนึ่งใจไม่รักคนไทยเลย ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนไทย แขกพวกนั้นเรียกว่า แขกมลายู ...อย่ามึนหัวนะครับ อีกพวกหนึ่งเรียกว่า แขกไทย  แขกไทยก็คือพี่น้องอิสลามที่เป็นคนไทยทั้งกายและใจ ไม่เอาเรื่องศาสนามาเป็นปัญหา ไม่ว่ากรณีใด ส่วนพวกแขกมลายูตั้งตัวเป็นโจรปัตตานี...ผมยิ่งค้นคว้าหาความจริงมากขึ้น ก็ยิ่งเข้าใจและเห็นใจพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนใต้มากขึ้นเป็นลำดับ.

 ................................................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อบิดาสาวทราบ จึงมอบไข่จำนวนหนึ่งให้ชายหนุ่ม และให้รีบกลับบ้านโดยเร็ว ทันใดนั้น ได้ยินเสียงม้าวิ่งดังก้องมาแต่ไกล เป็นเสียงผีม้าบ้อง ซึ่งได้ไปเลียซากหัวควาย จึงได้ลิ้มรสพริกแต้อันเผ็ดร้อน มันจึงรู้ว่าเพื่อนแกล้ง ชายหนุ่มรีบลงเรือนสาว วิ่งกลับบ้านโดยเร็ว โดยมีผีม้าบ้องวิ่งไล่ตามไปติดๆ เมื่อเกือบทัน ชายหนุ่มก็โยนไข่ให้ 1 ฟอง ผีม้าบ้องก็หยุดเลียกินไข่ที่ตกแตกบนพื้นดิน ชายหนุ่มก็วิ่งห่างออกไป เหตุการณ์จะเป็นเช่นนี้ทุกระยะ เมื่อไข่หมดก็ถึงบ้านพอดี วิ่งขึ้นบ้านแล้วก็กลับบันได ตามคำแนะนำของบิดาสาว ผีม้าบ้องมาถึง มันพูดว่า ‘ เรือนใช่ บันไดบ่ะใจ่…’ ชายหนุ่มได้ยินเสียงม้าร้อง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ครูที่เราเคารพศรัทธา มีตั้งแต่อนุบาลถึงมหาวิทยาลัย ท่านเป็นครูทั้งการสอนและความประพฤติ ใครหนอเป็นครูคนแรก ตอบได้เลยว่าพ่อแม่ พ่อแม่บางคนทันสมัย ได้ทราบถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่า เด็กสามารถเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา มีการอ่านหนังสือให้เด็กฟังขณะอยู่ในท้องแม่ เป็นการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เด็กจะมีการพัฒนา เช่น ด้านภาษา กล้ามเนื้อ อารมณ์ ฯลฯ
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ควันจะฟังรู้เรื่องหรือไม่มิอาจยืนยันได้ แต่เด็กๆอย่างพวกเรา มักจะพูดอย่างนี้ทุกคน มันได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง บางครั้งว่าแก้เคล็ดแล้ว ย้ายที่นั่งผิงแล้ว ไฟยังตามรังควานไม่เลิก แสบจนต้องหลิวตาเบนหน้าหนี ยุคสมัยนั้น แต่ละบ้านจะมีการนั่งผิงไฟยามกลางคืน ส่วนใหญ่หย่อมบ้านยังใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด โทรทัศน์วิทยุยังไม่มี บ้านใครมีวิทยุใช้ถ่าน ถือว่าเยี่ยมยอด ทันสมัย ดังและเท่ ใครมักพูดถึงเสมอ วิทยุต้องใช้ถ่านเป็นลังทีเดียว วิทยุนี้จะมีหลอดตัวเร่งเสียงให้ดัง จึงได้เกิดสำนวนเปรียบเปรยคนพูดเสียงดังว่า “อู้ดังเหมือนวิทยุ 8 หลอด”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ใกล้ประตูบ้านอู๊ด เห็น “อุ๊ยลอย” ยายของอุ๊ด กำลังใช้ปลายนิ้วหมุนกระบอกข้าวหลาม กลับไปมาตามราวเหล็กเหนือกองถ่านแดง ราวเหล็กสำหรับผิงกระบอกข้าวหลามมีสองด้านขนานกัน ถ่านแดงๆกองอยู่ระหว่างราวทั้งสองนี้ กองถ่านแดงๆจะส่งความร้อนให้กระบอกข้าวหลามทั้งสองแถว แม่ของอุ๊ดเป็นลูกสาวของอุ๊ยลอย อุ๊ยลอยอายุ 60 กว่าปีไล่เลี่ยกับอุ๊ยคำของผม แต่ก็ยังขายข้าวหลามเลี้ยงตนเอง ผมวิ่งขึ้นบันไดไปหาอุ๊ยคำ กอดเอวอุ๊ยแล้วเหนี่ยวไหล่ลงมา กระซิบที่หูของตังค์ 1 บาท บอกจะไปซื้อข้าวหลาม “กิ๋นข้าวเจ้าแล้ว ยังบ่ะอิ่มเตี้ยกา ?” อุ๊ยบ่นแต่มือล้วงเข้าไปใต้เสื้อกันหนาว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ทำตามอุ๊ยบอก เดินลงบันได สวมรองเท้าแตะที่เย็นเล็กน้อยมานั่งก้อม (ม้านั่งเตี้ย) ข้างกองไฟ เจ้านากคงนอนต่อไป ปีกจมูกสีดำชื้นๆขยับขึ้นลง แสงแดดอ่อน ค่อยสาดส่องลอดใบไม้กิ่งไม้สู่ลานบ้าน ความหนาวเยือกถูกเทพแห่งความร้อนรุกไล่ เสียงอุ๊ยตะโกนจากบนบ้าน ให้ผมปัดกวาดสาดแหย่ง (เสื่อที่ทอจากผิวคล้า คือกกชนิดหนึ่ง) ที่ปูบนตั่ง (ที่สำหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจมีขาหรือไม่มีขาก็ได้) ให้สะอาด ตั่งนี้อยู่ข้างรั้ว ห่างจากกองไฟเล็กน้อย สักครู่อุ้ยถือถ้วยมายืนที่ตีนบันได เรียกผมให้ไปรับ ผมสาวเท้าไปหา อุ๊ยบอกว่า “แกงผักขี้หูด” ใส่ปลาแห้งมันร้อน ให้ถือย่างระมัดระวัง อีกถ้วยใส่แคบหมูกรอบๆขนาดชิ้นละคำน่ากิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ปีนี้หนาวเหน็บจนคางสั่น ฟันกระทบกันดังกึกๆ วิทยุรายงานว่า หนาวที่สุดในรอบ 30 ปี ผมวัย 10 ขวบกับอุ๊ยคำ (มารดาของพ่อหรือแม่)เข้านอนแต่หัวค่ำ ไม่ได้มาหิง(ผิง)ไฟข้างรั้วเหมือนทุกคืน พ่อแม่ผมที่อยู่อีกหลังหนึ่ง มานั่งหิงไฟสักพัก พ่อได้ส่งเสียงถามอุ๊ย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เวลา 13.00 น. เศษ ผมจำได้ว่าเป็นวัน “มาฆบูชา” เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา โรงเรียนปิด ผมไม่ได้ไปฝึกสอนที่โรงเรียนเทศบาลวัดเชียงยืน บอกก่อนว่า ผมเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครูเชียงใหม่ (มหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน) กำลังศึกษาในระดับ ป.ป.(ประโยคครูประถม) หลักสูตรเรียน 1 ปี ขณะนี้อยู่ระยะฝึกสอน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  อาจารย์ชูชัย อธิบายตัวอย่างพีชคณิตบนกระดานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ท่านหันมามองพวกเราสลับกับการบอกความเป็นมา เมื่อได้คำตอบของโจทย์แล้ว ท่านโยนเศษชอล์กกะให้ลงในกล่อง มันลงกล่องได้พอดิบพอดี เป็นครั้งแรกในการโยนราวสิบกว่าครั้ง ท่านยิ้มพอใจในผลงาน ขยับแว่นตานิดหนึ่ง หันมามองพวกเราอีกครั้ง “แค่นี้แหละ...เข้าใจไหม ? ใครไม่เข้าใจตรงไหนถามได้”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
หัวมะพร้าวถูกมีดสับเป็นฝาเล็กๆ เราใช้มือง้างออก เสียบหลอดดูดจากแม่ค้าลงไป กลิ่นหอมมะพร้าวเผาเข้าจมูกขณะเราก้มลงดูดน้ำมะพร้าวแสนหอมและหวาน เราแบ่งกันดูด พอน้ำหมด เราจะใช้นิ้วมือหยักเนื้อเป็นชิ้นเล็กๆมาชิมก่อน จับมะพร้าวทั้งลูกทุบลงกับพื้นหินผ่าเสียงดังโป๊ะๆ จนกะลาแตก เราใช้มือทั้งสองดึงง้างให้กะลาแยกเป็นสองส่วน เนื้อมะพร้าวที่ล่อนไม่ติดกับผิวข้างใน จะปรากฏเป็นผลกลมให้เราได้ลองลิ้ม เนื้อมันมันนุ่มหอมเหมือนน้ำมะพร้าว ถ้าเป็นมะพร้าวแก่เนื้อจะหนา เนื้อจะบางถ้ามะพร้าวหนุ่ม กะลาที่กินหมดแล้วเราโยนเข้าป่าเพราะไม่มีถังขยะ ในน้ำใสยังมีกะลาถูกทิ้งลงไปหลายแห่ง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าร้านนี้ ผมกินประจำ จะปั่นรถถีบ “ราเล่ห์” (RALEIGH) สีเขียวคู่ใจมาซื้อกินเสมอมา ซื้อไปกินกับข้าวเหนียวที่บ้านอร่อยมากครับ ไม่ใช่กินแบบประหยัด สาเหตุหนึ่งคงมาจากถูกสอน อะไรๆก็กินกับข้าวเหนียว เราเดินผ่านร้านนี้มาแล้ว แต่เสียงตะหลิวสัมผัสกระทะขณะผัดก๋วยเตี๋ยว ยังดังตามหลังเรามาแล้วห่างหายไป แต่ภาพเส้นราดหน้าขนาดขนาดใหญ่ ที่ถูกจับวางบนแผ่นวัสดุใส่ ซึ่งรองด้วยกระดาษหนังสือชั้นล่างสุด เจ้าตี๋คนผัดฝีมืออันดับหนึ่งของร้าน ใช้กระบวยตักน้ำราดหน้า ที่มีเนื้อหมูชิ้นหวาน คละเคล้าผักคะน้าคลุกน้ำขุ่นข้น ถูกเทราดลงบนเส้น…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ห้างตันตราภัณฑ์ เป็นร้านขายของที่ดังที่สุดของเชียงใหม่ขณะนั้น ใครซื้อสินค้าจากร้านนี้ถือว่าคุณภาพเยี่ยมแต่ราคาค่อนข้างแพง สินค้าขายมีนานาชนิด เช่น เสื้อกันหนาว เสื้อ กางเกง รองเท้า น้ำหอม เครื่องใช้ไฟฟ้า นาฬิกา แว่นตา ของเล่นเด็ก ฯลฯ พวกเราเดินกันไปจนสุดถนนท่าแพ มองข้ามถนนไปตรงหน้า จะเห็นประตูท่าแพ พวกเรานักเที่ยววัยรุ่นผู้ชอบเที่ยวแบบประหยัด เลี้ยวซ้ายตามกันไปเป็นพรวน เดินไปไม่กี่ก้าวจะถึงโรงหนังสุริวงค์ พาเหรดเข้าไปในโรงหนัง กระจายกันดูหนังแผ่นตามแผงที่ติดรูป โดยมีกระจกปิดอีกชั้น เป็นภาพโปรแกรมหนังที่ฉายในวันนี้ และโปรแกรมต่อไป…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา “เจียงใหม่” ครั้งกระนั้นเป็นอย่างไร อยากฉายภาพให้คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันได้รับรู้ อยากเล่าเรื่องราวที่ผมได้พบเห็น ได้โลดแล่นบนแผ่นดินนี้ ได้เดินไปมาบนถนน ได้หายใจได้สัมผัส และยังเหลือร่องรอยเค้าเดิม มากบ้างน้อยบ้าง ให้ผู้คนในวันนี้ได้มองเห็นบ้านเรือน ถนนหนทาง สะพานนวรัฐ เจดีย์กิ๋ว เจดีย์หลวง ประตูท่าแพ ดอยสุเทพ ห้วยแก้ว ฯลฯ วัฒนธรรมอันดีงามของคนเมือง ทั้งยังสามารถเชื่อมโยงเรื่องราวที่ผ่านมาไม่นานกับปัจจุบันได้ โดยสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ สิ่งตีพิมพ์เก่าได้ไม่ยากนัก