Skip to main content

 

 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
 

กุยโน่หน้าตาผิดแผกกะเหรี่ยงทั่วไปคลานไปหา  พนมมือคุกเข่า  พระดอนพนมมือหลับตาว่าคาถา  108  มือซ้ายจับหัวอันใหญ่กว่าคนธรรมดา  ก้มหน้าเป่าพรวดบนหัวมีผมดำรุงรัง  เจ้ากุยโน่มีอาการสั่นสะท้านเฮือกหนึ่ง  ก้มหัวลงกราบอย่างสำนึกบุญคุณ
 
“ นี่พ่อเฒ่า  เมื่อกลับไปถึงบ้าน  คงต้องช่วยกันป้องกันหมู่บ้านกะเหรี่ยงจากการปล้นสะดมของทหารพม่าแตกทัพ  ท่านคิดจะป้องกันประการใด .”  พระดอนถามด้วยห่วงใย

“ กลับไปเฮาคงต้องคิดหาทางต่อสู้ป้องกันกับคนเฒ่าในหมู่บ้าน คนหนุ่ม  รวมทั้งหมอผีประจำเผ่า  เฮาคิดไว้พ่องแล้วจะมีการขุดหลุมขวาก แร้ว  ดักตาข่าย  ทำหน้าไม้เพิ่ม  และย้ายหมู่บ้านขึ้นไปอยู่บนดอยสูงกว่าเดิม เฮามีที่แล้ว ด้านหน้าติดริมห้วย  มีทางเดินขึ้นทางเดียว  จัดยามคอยดูทั้งกลางวัน กลางคืน  หลวงพ่อ.”

“ คงจะดี  เป็นห่วงเจ้ากุยโน่  ที่พ่อเฒ่าเล่าหื้ออาตมาฟังว่า  เวลาต่อสู้กัน  สู้กันคนต่อคนใครทานเจ้ากุยโน่บ่ได้  จึงมีคนมารุมมันคนเดียว  มันต้องสู้คนหลายคน   โอกาสพลาดพลั้งบาดเจ็บมีมาก  หลวงพ่อขอแนะนำว่า ต่อไปหื้อเจ้ากุยโน่สวมปลอกเหล็ก  ตั้งแต่ข้อมือทั้งสองจรดใต้ข้อศอกใช้ป้องกันอาวุธคู่ต่อสู้ได้อีกทางหนึ่ง  ส่วนหน้าอกและหลัง  หื้อสวมเกราะไม้ไผ่  คงสงสัยนะว่าเกราะไม่ไผ่เป็นอย่างใด .”

“ ข้าบ่เคยได้ยินมาก่อน.” กะเหรี่ยงอาวุโสกล่าวด้วยประกายตาสงสัยระคนตื่นเต้น
                           
“ นำไม้ไผ่มาทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ  ขนาด 3 นิ้วมือ  แล้วร้อยด้วย เชือกต่อๆกันจนเป็นแผ่น  ใหญ่ขนาดปิดหน้าอกมิด  ทำ 2 แผ่น  นำมาผูกเป็น 2 แผ่นต่อกัน  เวลาจะใช้ยกสวมที่คอ  เกราะไม้ไผ่จะคลุมลงทั้งแผ่นหน้าอกและแผ่นหลัง ช่วยหื้อปลอดภัยอีกทางหนึ่ง.”
                         
“ ไหว้สาครูบาเจ้า.”  
       
เจ้ากุยโน่ชายร่างสูงใหญ่ผิดมนุษย์มนา  หน้าตาเหมือนชนเผ่ามองโกล  พูดอย่างตื้นตันในความเมตตาห่วงใหญ่ของหลวงพ่อ  พนมมือแล้วก้มกราบ
                         
“ บ่เป็นหยัง  คนเฮาต้องช่วยเหลือกัน  พึ่งพาอาศัยกัน  บ้านเมืองฝางยินดีต้อนรับทุกคน  เจ้าจะเดินทางวันนี้เลยกา   ท่านพ่อเฒ่า .” พระดอนหันไปถามกะเหรี่ยงอาวุโส

“ ใช่   ครูบาเจ้า  เฮาจะรีบกลับไปดูบ้าน  ต้องสร้างบ้านหลังใหม่หื้อเสร็จโดยเร็ว  ก่อนโจรพม่าจะกลับมาปล้นอีก  ส่วนเจ้ากุยโน่ไปแล้ว จะกลับมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้า.”
                           
“ ทำไมเป็นอย่างนั้น   พ่อเฒ่า .”

“ เพราะว่า  หมอผีประจำหมู่บ้านมันทำนายว่า  หากเจ้ากุยโน่พบผู้ช่วยชีวิตมันเมื่อใด  หื้อมันรับใช้ผู้นั้น  เป็นการตอบแทนคุณด้วยผู้นั้นเป็นตนบุญมาเกิด  จะมาสร้างบ้านเมืองต่อไป  หมอผียังบอกอีกว่าชาติก่อนเจ้ากุยโน่เป็นทหารเอกของตนบุญคนนั้น.”

พระดอนหน้าตายังเย็นสงบ  ไม่กล่าวต่อความ  เพียงเอ่ยขึ้นว่า  

“ แล้วแต่เจ้ากุยโน่  หลวงพ่อยินดีต้อนรับ  เจ้ากุยโน่มีฝีมือเชิงรบ คงมาช่วยฝึกเด็กหนุ่มเมืองฝางหื้อเข้มแข็งยิ่งขึ้น  หากหลวงพ่อกับเจ้ามีบุญร่วมกันจริง  เราคงได้พบกันนะ และเมื่อเจ้าได้เป็นทหาร เจ้าคงต้องเปลี่ยนจากเกราะไม้เป็นเกราะโลหะแทน.”
 
                                         

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ขณะเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ยินผู้ใหญ่หลายคนมานั่งคุยกับย่า พูดในทิศทางเดียวกันว่า อุ๊ย(ย่าหรือยาย)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ตื่นแล้ว ยังหนาวขอนอนงอเข่านิ่งๆต่ออีกหน่อย เสียงเจ้าเหมียวแมวตัวผู้ประจำบ้านร้องเหมียวๆที่ประตูห้องนอน ได้ยินเสียงเล็บมันข่วนประตูถี่ มันจะมาร้องทุกเช้าปลุกเจ้าของบ้าน ผมตะโกนบอกมันว่ายังไม่ลุกยังหนาวอยู่ มันไม่ยอมยังคงร้องเหมียวๆและข่วนประตูต่อไป ผมชักฉุนมันเป็นเจ้าของบ้านหรือผู้อาศัย พูดกันคนละภาษา อับจนสุดปัญญาหาล่ามแปล มันอาจคิดว่าเราเป็นคนใช้ก็ได้ ถ้าหิวมันร้องเราก็เอาอาหารให้ มันหนาวมันร้องบอกอีก
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
มองเข้าไปในมิติการเมืองไทย
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบที่เข้าอวยพรว่า “...ไม่ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างไรเราก็น้อมรับ...ขอโอกาสให้ทำงานอยู่จนครบ เทอม จะได้ตอบว่า ผลงานที่ได้แถลงไว้ทำได้อย่างไร ได้คะแนนเท่าไรบ้าง.”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้หาเสียงเลือกตั้งให้พรรคเพื่อไทย โดยชูนโยบายเด่นด้าน ความปรองดอง การแก้ไขและป้องกันยาเสพติด ปราบปรามคอรัปชั่น ยกร่างรัฐธรรมนูญ และอื่นๆอีกยาวเหยียด และท่านมักจะทิ้งท้ายวาทะสำคัญคือ “ ขอโอกาส” จากประชาชน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ฮัก(รัก)รออยู่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ท่านยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เดินทางมาบ้านเกิดที่เชียงใหม่ เป็นการกลับมาบ้านเกิดครั้งแรก หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านตั้งใจจะกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดหลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ(10 สิงหาคม 2554) แต่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จึงต้องอยู่กรุงเทพฯ เพื่อบริหารจัดการน้ำก่อน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    หากไม่ย้ายเมืองหลวง คนไทยจะปักหลักอยู่ที่เดิมสู้ต่อไป  มาในแนวสู้ไม่ถอย  ขอแก้ตัวอีกสักครั้ง  หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม  กรุงเทพฯจะต้องมีระบบป้องกันน้ำท่วมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าปัจจุบัน  และคาดว่าจะใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว  ลองมาดูตัวเลขความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554  ธนาคารโลกได้ประเมินค่าความเสียหายประมาณ 1.36 ล้านล้านบาท  แยกเป็นความเสียหายจากทรัพย์สิน 6.4 แสนล้านบาท  ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ 7.16 แสนล้านบาท  แรงงานว่างงาน 7-9.2  แสนคน  และไทยจะใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากน้ำท่วม  ในวงเงินประมาณ 7.56  แสนล้านบาท…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ประเทศแรก ที่จะจมมหาสมุทร คือประเทศมัลดิฟว์ ประเทศเป็นเกาะอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย มีประชากรราว 270,000 คน มีพื้นที่ 298 ตารางกิโลเมตร เล็กกว่าภูเก็ตที่มีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร มัลดิฟว์เป็นหมู่เกาะปะการัง มีหาดทรายขาวและสวยงามมาก หมู่เกาะกระจายราว 1,200 เกาะ พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลราว 1.5 เมตรเท่านั้น ประธานาธิบดีคนใหม่ชื่อ นายโมฮัมเหม็ด แอนนี นาชิด กำลังหนักใจเกี่ยวกับการมองหาที่ตั้งประเทศแห่งใหม่ ได้มองไปที่ประเทศศรีลังกา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
     ในอดีต มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  การย้ายเมือง มักมีสาเหตุต่างๆ ที่สำคัญ  ดังเช่น  เมืองลำพูนในอดีต  ในปี พ.ศ. 1490  เมืองลำพูนได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงคือ “โรคห่า” หรืออหิวาตกโลก  ผู้คนล้มตายมากมาย  ผู้ที่ยังไม่ตายเห็นว่า  ถ้าอยู่ต่อไปอาจต้องเสียชีวิต  จึงพากันไปอยู่เมือง “สุธรรมวดี”  คือเมืองสะเทิม  ประเทศรามัญหรือมอญ  และยังระหกระเหินย้ายไปอยู่เมืองอื่นนานถึง 6 ปี  เมื่อทราบว่าโรคระบาดลดลง  จึงพากันกลับมาอยู่เมืองลำพูนดังเดิม เวียงกุมกาม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง ที่อยุธยาถูกน้ำท่วม มูลค่าลงทุนหลายแสนล้านบาท ตามลำดับดังนี้ 1.นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องหนัง ฯลฯ มูลค่าลงทุน 9,472 ล้านบาท คนงาน 14,000 คน โรงงาน 48 โรง พื้นที่ 2,050 ไร่ 2.ส่วนอุตสาหกรรมโรจนะ ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนไฟฟ้า โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ฯลฯ มูลค่าลงทุน 58,000 ล้านบาท คนงาน 90,000 คน โรงงาน 183 โรง พื้นที่ 12,000 ไร่ 3.นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมฯ…