กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเอง
สองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิด
จากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต ถึงวันที่เจ้าของสวนต้องล้มป่วยด้วยฤทธิ์ของสารเคมี สวนแห่งนี้จึงค่อยๆ ผ่านวันคืนแห่งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาสู่สภาพปัจจุบัน
ต้นมะพร้าวนั้นถูกปลูกขึ้นในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นเนื่องจากข้าวกำลังล้นตลาด
ปลาตัวโตในบ่อ เลี้ยงไว้แต่ไม่กิน เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ การเลี้ยงปลานั้นช่วยให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้น
พืชผักใกล้บ้านและที่ปลูกริมลำเหมืองใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ทำเอง ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น
“แล้วเรื่องโรคเรื่องแมลงละครับ ?” ผมถาม
“ก็มีบ้าง แต่เราปลูกหลายๆ อย่างรวมกัน มันก็ช่วยคุมกันไป ถ้ามีแมลงบ้างก็ถือว่าแบ่งกันกิน ให้มันกินบ้าง เรากินบ้าง ไม่เป็นไร”
เครื่องสีข้าวแรงคน ตั้งอยู่กลางกองข้าวเปลือกใต้หลองข้าว สีแต่พอหุง เมื่อหมดจึงสีใหม่ การสีข้าวแบบนี้ทำให้จมูกข้าวไม่ถูกทำลาย ข้าวแต่ละเมล็ดจึงเปี่ยมด้วยสารอาหาร
สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นอยู่ในสวนแห่งนี้ ได้แก่บ้านพักหลังเล็กทั้งที่เป็นบ้านไม้ไผ่และบ้านดินที่ปลูกเรียงรายรอบบริเวณ อันเนื่องมาจากที่นี่ได้จัดกิจกรรมธรรมชาติบำบัดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นอกจากผู้ที่มาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับและผู้มาเข้ารับการรักษาแล้ว ยังมีผู้มาเข้าคอร์สบำบัดเรียนรู้เรื่องการรักษาสุขภาพวิถีไท ทำให้ต้องมีที่พักรองรับ
เอกชัย จินาจันทร์ เจ้าของสวนรุ่นที่สอง เล่าว่า แต่เดิมนั้น บิดาให้ความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติธรรม ต่อมาตนเองได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัด จนกระทั่งสามารถให้คำแนะนำและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ จึงได้ดำเนินกิจกรรมด้านนี้ควบคู่ไปกับการทำเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบัน สวนสายลมจอย อยู่ในเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเริ่มมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังอาหารกลางวัน จำนวนผู้มาเข้ารับการบำบัดประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่มานวด,ฝังเข็ม,พอกโคลน ฯลฯ พวกเรานั่งฟัง เอกชัย และ พี่ต้อม ผู้จัดการสวนสายลมจอย บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองผ่านแผนผัง “นาฬิกาอวัยวะ” ซึ่งบอกช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะภายในแต่ละส่วน หากเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับนาฬิกาอวัยวะนี้ได้ ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปอย่างสมดุล ไม่โอนเอนไปมา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเสียสมดุล
03.00 – 05.00 ปอด ตื่นนอนในช่วงนี้ได้ ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด
05.00 – 07.00 ลำไส้ใหญ่ ช่วงเวลาของการขับถ่าย เพราะลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด
07.00 – 09.00 กระเพาะอาหาร หากได้ทานอาหารเช้าในช่วงนี้จะมีพลังงานตลอดวัน
09.00 – 11.00 ม้าม อารมณ์โกรธ เครียด อิจฉา ริษยา มีผลต่อม้าม ซึ่งสร้างเม็ดเลือดขาว
คนที่ใช้อารมณ์ด้านลบเป็นประจำจึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
11.00 – 13.00 หัวใจ ช่วงเวลาหลังอาหารเที่ยงควรงีบหลับสัก 20 นาที (cesta) จะทำให้ สดชื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
13.00 – 15.00 ลำไส้เล็ก ช่วงนี้มีการดูดซึมอาหารมากทำให้หิว แต่ไม่ควรรับประทานอะไรมาก
15.00 – 17.00 กระเพาะปัสสาวะ -
17.00 – 19.00 ไต ช่วงนี้คนจำนวนมากมักจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ไต
ควรจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่ควรหักโหม
19.00 – 21.00 กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเตรียมนอน
21.00 – 23.00 พลังงานรวม -
23.00 – 01.00 ถุงน้ำดี -
01.00 – 03.00 ตับ -
“เรื่องการดื่มกาแฟละครับ ?” ใครคนหนึ่งถาม
“กาแฟมีประโยชน์ คือช่วยกระตุ้นสมองและหัวใจ แต่ควรดื่มหลังอาหารและไม่ควรดื่มมาก เพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด” เอกชัย ตอบ
ตื่นตีสี่ มื้อเช้าเจ็ดนาฬิกา พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เข้านอนสามทุ่ม นี่คือวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ คือระบบที่พระพุทธองค์ทรงทราบ และนำปฏิบัติมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว
หลังจบการบรรยาย เราต่างมองหน้ากันแล้วยิ้ม เพราะเราต่างรู้ดีว่าแต่ละคนใช้ชีวิตผิดจากนาฬิกาอวัยวะ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย และเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากหากตั้งใจจะปฏิบัติจริง
หรือไม่ใช่?
สองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิด
จากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต ถึงวันที่เจ้าของสวนต้องล้มป่วยด้วยฤทธิ์ของสารเคมี สวนแห่งนี้จึงค่อยๆ ผ่านวันคืนแห่งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาสู่สภาพปัจจุบัน
ต้นมะพร้าวนั้นถูกปลูกขึ้นในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นเนื่องจากข้าวกำลังล้นตลาด
ปลาตัวโตในบ่อ เลี้ยงไว้แต่ไม่กิน เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ การเลี้ยงปลานั้นช่วยให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้น
พืชผักใกล้บ้านและที่ปลูกริมลำเหมืองใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ทำเอง ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น
“แล้วเรื่องโรคเรื่องแมลงละครับ ?” ผมถาม
“ก็มีบ้าง แต่เราปลูกหลายๆ อย่างรวมกัน มันก็ช่วยคุมกันไป ถ้ามีแมลงบ้างก็ถือว่าแบ่งกันกิน ให้มันกินบ้าง เรากินบ้าง ไม่เป็นไร”
เครื่องสีข้าวแรงคน ตั้งอยู่กลางกองข้าวเปลือกใต้หลองข้าว สีแต่พอหุง เมื่อหมดจึงสีใหม่ การสีข้าวแบบนี้ทำให้จมูกข้าวไม่ถูกทำลาย ข้าวแต่ละเมล็ดจึงเปี่ยมด้วยสารอาหาร
สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นอยู่ในสวนแห่งนี้ ได้แก่บ้านพักหลังเล็กทั้งที่เป็นบ้านไม้ไผ่และบ้านดินที่ปลูกเรียงรายรอบบริเวณ อันเนื่องมาจากที่นี่ได้จัดกิจกรรมธรรมชาติบำบัดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นอกจากผู้ที่มาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับและผู้มาเข้ารับการรักษาแล้ว ยังมีผู้มาเข้าคอร์สบำบัดเรียนรู้เรื่องการรักษาสุขภาพวิถีไท ทำให้ต้องมีที่พักรองรับ
เอกชัย จินาจันทร์ เจ้าของสวนรุ่นที่สอง เล่าว่า แต่เดิมนั้น บิดาให้ความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติธรรม ต่อมาตนเองได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัด จนกระทั่งสามารถให้คำแนะนำและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ จึงได้ดำเนินกิจกรรมด้านนี้ควบคู่ไปกับการทำเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบัน สวนสายลมจอย อยู่ในเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเริ่มมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังอาหารกลางวัน จำนวนผู้มาเข้ารับการบำบัดประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่มานวด,ฝังเข็ม,พอกโคลน ฯลฯ พวกเรานั่งฟัง เอกชัย และ พี่ต้อม ผู้จัดการสวนสายลมจอย บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองผ่านแผนผัง “นาฬิกาอวัยวะ” ซึ่งบอกช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะภายในแต่ละส่วน หากเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับนาฬิกาอวัยวะนี้ได้ ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปอย่างสมดุล ไม่โอนเอนไปมา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเสียสมดุล
03.00 – 05.00 ปอด ตื่นนอนในช่วงนี้ได้ ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด
05.00 – 07.00 ลำไส้ใหญ่ ช่วงเวลาของการขับถ่าย เพราะลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด
07.00 – 09.00 กระเพาะอาหาร หากได้ทานอาหารเช้าในช่วงนี้จะมีพลังงานตลอดวัน
09.00 – 11.00 ม้าม อารมณ์โกรธ เครียด อิจฉา ริษยา มีผลต่อม้าม ซึ่งสร้างเม็ดเลือดขาว
คนที่ใช้อารมณ์ด้านลบเป็นประจำจึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
11.00 – 13.00 หัวใจ ช่วงเวลาหลังอาหารเที่ยงควรงีบหลับสัก 20 นาที (cesta) จะทำให้ สดชื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
13.00 – 15.00 ลำไส้เล็ก ช่วงนี้มีการดูดซึมอาหารมากทำให้หิว แต่ไม่ควรรับประทานอะไรมาก
15.00 – 17.00 กระเพาะปัสสาวะ -
17.00 – 19.00 ไต ช่วงนี้คนจำนวนมากมักจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ไต
ควรจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่ควรหักโหม
19.00 – 21.00 กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเตรียมนอน
21.00 – 23.00 พลังงานรวม -
23.00 – 01.00 ถุงน้ำดี -
01.00 – 03.00 ตับ -
“เรื่องการดื่มกาแฟละครับ ?” ใครคนหนึ่งถาม
“กาแฟมีประโยชน์ คือช่วยกระตุ้นสมองและหัวใจ แต่ควรดื่มหลังอาหารและไม่ควรดื่มมาก เพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด” เอกชัย ตอบ
ตื่นตีสี่ มื้อเช้าเจ็ดนาฬิกา พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เข้านอนสามทุ่ม นี่คือวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ คือระบบที่พระพุทธองค์ทรงทราบ และนำปฏิบัติมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว
หลังจบการบรรยาย เราต่างมองหน้ากันแล้วยิ้ม เพราะเราต่างรู้ดีว่าแต่ละคนใช้ชีวิตผิดจากนาฬิกาอวัยวะ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย และเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากหากตั้งใจจะปฏิบัติจริง
หรือไม่ใช่?
บล็อกของ ฐาปนา
ฐาปนา
“...พูดอย่างกว้างที่สุดคือ สิ่งเลวร้ายทั้งหมดเกิดจากการเลือกของเธอเอง ความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่การเลือกนั้นแต่อยู่ที่การเรียกว่าเลวร้าย เพราะเมื่อเธอบอกว่ามันเลวร้ายก็เท่ากับบอกว่าตัวเธอเองเลวร้ายด้วย เพราะเธอเป็นคนสร้างขึ้นมาเอง เธอไม่อาจยอมรับการตราหน้านี้ได้ ดังนั้น แทนที่จะตราหน้าตัวเองว่าเป็นคนเลวร้าย เธอกลับปฏิเสธสิ่งต่างๆ ที่ตนสร้างขึ้นมาเสียเลย อสัตย์ทางสติปัญญาและจิตวิญญาณนี้เองที่ทำให้เธอยอมรับโลกอันมีสภาพอย่างนี้ หากเธอจะยอมรับหรือแม้เพียงรู้สึกลึกๆ ข้างในว่าตนมีส่วนต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้บ้าง โลกจะต่างออกไปกว่านี้มาก มันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ หากทุกคนรู้สึกถึงความรับผิดชอบ…
ฐาปนา
“...เราจะต้องดำรงชีวิตที่เป็นของเราเอง การงานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น และงานคือชีวิตก็ต่อเมื่อเราทำงานนั้นด้วยสติเท่านั้น มิฉะนั้นเราก็จะเหมือนกับคนตายที่มีชีวิตอยู่ เราแต่ละคนจะต้องจุดคบเพลิงของชีวิตด้วยตนเอง แต่ชีวิตของเราแต่ละคนเกี่ยวพันกับชีวิตของบุคคลรอบๆ เราด้วย หากเรารู้จักวิธีปกปักรักษา และระวังจิตใจและหฤทัยของเราเอง นั่นแหละจะช่วยให้พี่น้องเพื่อนมนุษย์รอบข้างเรา รู้จักการมีชีวิตอยู่อย่างมีสติ...”(ติช นัท ฮันห์,ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ: มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งที่ 17,กันยายน 49) ความเปลี่ยนแปลง คือสัจธรรม ไม่มีสิ่งใดที่จะคงทนถาวรโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง…