กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเอง
สองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิด
จากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต ถึงวันที่เจ้าของสวนต้องล้มป่วยด้วยฤทธิ์ของสารเคมี สวนแห่งนี้จึงค่อยๆ ผ่านวันคืนแห่งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาสู่สภาพปัจจุบัน
ต้นมะพร้าวนั้นถูกปลูกขึ้นในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นเนื่องจากข้าวกำลังล้นตลาด
ปลาตัวโตในบ่อ เลี้ยงไว้แต่ไม่กิน เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ การเลี้ยงปลานั้นช่วยให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้น
พืชผักใกล้บ้านและที่ปลูกริมลำเหมืองใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ทำเอง ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น
“แล้วเรื่องโรคเรื่องแมลงละครับ ?” ผมถาม
“ก็มีบ้าง แต่เราปลูกหลายๆ อย่างรวมกัน มันก็ช่วยคุมกันไป ถ้ามีแมลงบ้างก็ถือว่าแบ่งกันกิน ให้มันกินบ้าง เรากินบ้าง ไม่เป็นไร”
เครื่องสีข้าวแรงคน ตั้งอยู่กลางกองข้าวเปลือกใต้หลองข้าว สีแต่พอหุง เมื่อหมดจึงสีใหม่ การสีข้าวแบบนี้ทำให้จมูกข้าวไม่ถูกทำลาย ข้าวแต่ละเมล็ดจึงเปี่ยมด้วยสารอาหาร
สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นอยู่ในสวนแห่งนี้ ได้แก่บ้านพักหลังเล็กทั้งที่เป็นบ้านไม้ไผ่และบ้านดินที่ปลูกเรียงรายรอบบริเวณ อันเนื่องมาจากที่นี่ได้จัดกิจกรรมธรรมชาติบำบัดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นอกจากผู้ที่มาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับและผู้มาเข้ารับการรักษาแล้ว ยังมีผู้มาเข้าคอร์สบำบัดเรียนรู้เรื่องการรักษาสุขภาพวิถีไท ทำให้ต้องมีที่พักรองรับ
เอกชัย จินาจันทร์ เจ้าของสวนรุ่นที่สอง เล่าว่า แต่เดิมนั้น บิดาให้ความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติธรรม ต่อมาตนเองได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัด จนกระทั่งสามารถให้คำแนะนำและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ จึงได้ดำเนินกิจกรรมด้านนี้ควบคู่ไปกับการทำเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบัน สวนสายลมจอย อยู่ในเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเริ่มมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังอาหารกลางวัน จำนวนผู้มาเข้ารับการบำบัดประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่มานวด,ฝังเข็ม,พอกโคลน ฯลฯ พวกเรานั่งฟัง เอกชัย และ พี่ต้อม ผู้จัดการสวนสายลมจอย บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองผ่านแผนผัง “นาฬิกาอวัยวะ” ซึ่งบอกช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะภายในแต่ละส่วน หากเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับนาฬิกาอวัยวะนี้ได้ ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปอย่างสมดุล ไม่โอนเอนไปมา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเสียสมดุล
03.00 – 05.00 ปอด ตื่นนอนในช่วงนี้ได้ ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด
05.00 – 07.00 ลำไส้ใหญ่ ช่วงเวลาของการขับถ่าย เพราะลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด
07.00 – 09.00 กระเพาะอาหาร หากได้ทานอาหารเช้าในช่วงนี้จะมีพลังงานตลอดวัน
09.00 – 11.00 ม้าม อารมณ์โกรธ เครียด อิจฉา ริษยา มีผลต่อม้าม ซึ่งสร้างเม็ดเลือดขาว
คนที่ใช้อารมณ์ด้านลบเป็นประจำจึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
11.00 – 13.00 หัวใจ ช่วงเวลาหลังอาหารเที่ยงควรงีบหลับสัก 20 นาที (cesta) จะทำให้ สดชื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
13.00 – 15.00 ลำไส้เล็ก ช่วงนี้มีการดูดซึมอาหารมากทำให้หิว แต่ไม่ควรรับประทานอะไรมาก
15.00 – 17.00 กระเพาะปัสสาวะ -
17.00 – 19.00 ไต ช่วงนี้คนจำนวนมากมักจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ไต
ควรจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่ควรหักโหม
19.00 – 21.00 กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเตรียมนอน
21.00 – 23.00 พลังงานรวม -
23.00 – 01.00 ถุงน้ำดี -
01.00 – 03.00 ตับ -
“เรื่องการดื่มกาแฟละครับ ?” ใครคนหนึ่งถาม
“กาแฟมีประโยชน์ คือช่วยกระตุ้นสมองและหัวใจ แต่ควรดื่มหลังอาหารและไม่ควรดื่มมาก เพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด” เอกชัย ตอบ
ตื่นตีสี่ มื้อเช้าเจ็ดนาฬิกา พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เข้านอนสามทุ่ม นี่คือวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ คือระบบที่พระพุทธองค์ทรงทราบ และนำปฏิบัติมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว
หลังจบการบรรยาย เราต่างมองหน้ากันแล้วยิ้ม เพราะเราต่างรู้ดีว่าแต่ละคนใช้ชีวิตผิดจากนาฬิกาอวัยวะ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย และเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากหากตั้งใจจะปฏิบัติจริง
หรือไม่ใช่?
สองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิด
จากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต ถึงวันที่เจ้าของสวนต้องล้มป่วยด้วยฤทธิ์ของสารเคมี สวนแห่งนี้จึงค่อยๆ ผ่านวันคืนแห่งการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงมาสู่สภาพปัจจุบัน
ต้นมะพร้าวนั้นถูกปลูกขึ้นในช่วงที่มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชอื่นเนื่องจากข้าวกำลังล้นตลาด
ปลาตัวโตในบ่อ เลี้ยงไว้แต่ไม่กิน เพราะที่นี่ทานมังสวิรัติ การเลี้ยงปลานั้นช่วยให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้น
พืชผักใกล้บ้านและที่ปลูกริมลำเหมืองใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ทำเอง ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น
“แล้วเรื่องโรคเรื่องแมลงละครับ ?” ผมถาม
“ก็มีบ้าง แต่เราปลูกหลายๆ อย่างรวมกัน มันก็ช่วยคุมกันไป ถ้ามีแมลงบ้างก็ถือว่าแบ่งกันกิน ให้มันกินบ้าง เรากินบ้าง ไม่เป็นไร”
เครื่องสีข้าวแรงคน ตั้งอยู่กลางกองข้าวเปลือกใต้หลองข้าว สีแต่พอหุง เมื่อหมดจึงสีใหม่ การสีข้าวแบบนี้ทำให้จมูกข้าวไม่ถูกทำลาย ข้าวแต่ละเมล็ดจึงเปี่ยมด้วยสารอาหาร
สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นอยู่ในสวนแห่งนี้ ได้แก่บ้านพักหลังเล็กทั้งที่เป็นบ้านไม้ไผ่และบ้านดินที่ปลูกเรียงรายรอบบริเวณ อันเนื่องมาจากที่นี่ได้จัดกิจกรรมธรรมชาติบำบัดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน นอกจากผู้ที่มาดูงานแบบเช้าไปเย็นกลับและผู้มาเข้ารับการรักษาแล้ว ยังมีผู้มาเข้าคอร์สบำบัดเรียนรู้เรื่องการรักษาสุขภาพวิถีไท ทำให้ต้องมีที่พักรองรับ
เอกชัย จินาจันทร์ เจ้าของสวนรุ่นที่สอง เล่าว่า แต่เดิมนั้น บิดาให้ความสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติธรรม ต่อมาตนเองได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องธรรมชาติบำบัด จนกระทั่งสามารถให้คำแนะนำและดูแลรักษาผู้ป่วยได้ จึงได้ดำเนินกิจกรรมด้านนี้ควบคู่ไปกับการทำเกษตรอินทรีย์
ปัจจุบัน สวนสายลมจอย อยู่ในเครือข่ายเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเริ่มมีครอบครัวเกษตรกรเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
หลังอาหารกลางวัน จำนวนผู้มาเข้ารับการบำบัดประจำวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่มานวด,ฝังเข็ม,พอกโคลน ฯลฯ พวกเรานั่งฟัง เอกชัย และ พี่ต้อม ผู้จัดการสวนสายลมจอย บรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองผ่านแผนผัง “นาฬิกาอวัยวะ” ซึ่งบอกช่วงเวลาการทำงานของอวัยวะภายในแต่ละส่วน หากเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับนาฬิกาอวัยวะนี้ได้ ชีวิตของเราก็จะดำเนินไปอย่างสมดุล ไม่โอนเอนไปมา ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการเสียสมดุล
03.00 – 05.00 ปอด ตื่นนอนในช่วงนี้ได้ ปอดจะได้ทำงานเต็มที่ เพิ่มความแข็งแรงให้ปอด
05.00 – 07.00 ลำไส้ใหญ่ ช่วงเวลาของการขับถ่าย เพราะลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด
07.00 – 09.00 กระเพาะอาหาร หากได้ทานอาหารเช้าในช่วงนี้จะมีพลังงานตลอดวัน
09.00 – 11.00 ม้าม อารมณ์โกรธ เครียด อิจฉา ริษยา มีผลต่อม้าม ซึ่งสร้างเม็ดเลือดขาว
คนที่ใช้อารมณ์ด้านลบเป็นประจำจึงเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
11.00 – 13.00 หัวใจ ช่วงเวลาหลังอาหารเที่ยงควรงีบหลับสัก 20 นาที (cesta) จะทำให้ สดชื่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
13.00 – 15.00 ลำไส้เล็ก ช่วงนี้มีการดูดซึมอาหารมากทำให้หิว แต่ไม่ควรรับประทานอะไรมาก
15.00 – 17.00 กระเพาะปัสสาวะ -
17.00 – 19.00 ไต ช่วงนี้คนจำนวนมากมักจะออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระให้ไต
ควรจะออกกำลังกายเบาๆ ไม่ควรหักโหม
19.00 – 21.00 กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วงเวลาที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มผ่อนคลาย เพื่อเตรียมนอน
21.00 – 23.00 พลังงานรวม -
23.00 – 01.00 ถุงน้ำดี -
01.00 – 03.00 ตับ -
“เรื่องการดื่มกาแฟละครับ ?” ใครคนหนึ่งถาม
“กาแฟมีประโยชน์ คือช่วยกระตุ้นสมองและหัวใจ แต่ควรดื่มหลังอาหารและไม่ควรดื่มมาก เพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด” เอกชัย ตอบ
ตื่นตีสี่ มื้อเช้าเจ็ดนาฬิกา พักผ่อนหลังอาหารเที่ยง เข้านอนสามทุ่ม นี่คือวัตรปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ คือระบบที่พระพุทธองค์ทรงทราบ และนำปฏิบัติมาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว
หลังจบการบรรยาย เราต่างมองหน้ากันแล้วยิ้ม เพราะเราต่างรู้ดีว่าแต่ละคนใช้ชีวิตผิดจากนาฬิกาอวัยวะ บ้างก็มาก บ้างก็น้อย และเราก็รู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากหากตั้งใจจะปฏิบัติจริง
หรือไม่ใช่?
บล็อกของ ฐาปนา
ฐาปนา
“...ที่สุดแล้ว ปัญหาการเมืองรวมถึงปัญหาส่วนตัวทุกเรื่อง เมื่อสืบเสาะลงไปให้ลึกที่สุดจะพบว่า เป็นปัญหาทางจิตวิญญาณทั้งนั้น ทุกชีวิตเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ ฉะนั้นปัญหาทุกอย่างของชีวิตจึงมีต้นตอมาจากจิตวิญญาณและจะแก้ไขได้ด้วยวิธีทางจิตวิญญาณ สงครามเกิดขึ้นเพราะใครบางคนมีสิ่งที่อีกคนอยากได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้คนบางคนทำสิ่งที่อีกคนไม่อยากให้ทำความขัดแย้งทุกชนิดเกิดจากการวางความปรารถนาไว้ผิดที่สินติเดียวที่จะยั่งยืนได้ในโลกหล้าคือศานติภายในให้แต่ละคนค้นพบสันติในใจตน เมื่อนั้นเธอจะพบว่า เธอไม่ต้องพึ่งพาอะไรอีก...”(สนทนากับพระเจ้าเล่ม 2 หน้า 204)
ฐาปนา
เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีชะตากรรมที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ทุกๆ อย่างถูกกำหนดไว้หมดแล้ว ทุกๆ อย่างถูกลิขิตไว้หมดแล้ว ตั้งแต่เกิดจนตาย พอเติบโตขึ้น ความเชื่อเรื่องชะตากรรมก็เปลี่ยนไป ผมเชื่อว่ามีแค่สามสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วและเราไม่อาจล่วงรู้ได้ นั่นคือ การเกิด คู่ครอง และการตาย ไม่นานมานี้ ผมมองชะตากรรมอีกแบบหนึ่ง ผมคิดว่า ชะตากรรม คือ สิ่งที่เข้ามาสู่ชีวิตเพื่อให้เราเลือก ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม และมันจะส่งผลต่อเรา เราจะเรียนรู้และเติบโตจากมัน เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปจากมุมมองที่เรามีต่อมัน ลองย้อนมองกลับไปถึงอดีตของเราแต่ละคน สิ่งที่เราเลือก เสมือนจุดๆ หนึ่ง…
ฐาปนา
ต้นเดือนกุมภาพันธ์ลมหนาวคลายความยะเยือกลง เหลือเพียงลมเย็นโชยเฉื่อย เจือกลิ่นหอมของไม้เมืองหนาวหลายชนิดที่ยังคงผลิดอกแม้ฤดูหนาวสิ้นสุด แล้วเมืองเชียงใหม่ก็เข้าสู่ช่วงเวลาพิเศษของคนหนุ่มสาวอีกครั้ง“วันแห่งความรัก” (Valentines Day) ที่ใครหลายคนรอคอยอันที่จริง แม้จะเรียกกันว่า วัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคมเปลี่ยนไป ด้วยอานุภาพแห่งความรักและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความรัก จึงไม่อาจจำกัดให้วันแห่งความรักอยู่แค่เพียง วันที่ 14 ของเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น วันแห่งความรักได้ขยายช่วงเวลาเป็น สัปดาห์แห่งความรัก จนกระทั่งเป็น เดือนแห่งความรัก ในที่สุด นอกจากบรรยากาศแห่งความรัก…
ฐาปนา
ไม่ทราบว่าใครเป็นเหมือนผมบ้างหลังจากข้าวของพาเหรดกันขึ้นราคา แต่รายได้มันไม่ได้ขึ้นตามไปด้วย ทำให้ต้องปรับตัวทุกทางเพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้ถีงขั้นต้องใช้คำว่า “เพื่อเอาชีวิตรอดให้ได้” นั่นละครับเพราะรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มากมาย บวกกับสภาพหนี้ทั้งงานราษฎร์งานหลวง จากที่เคยตามใจปากตามใจตัวได้บ้างก็ต้องกลายมาเป็น “งด” แทบจะทุกรายการ จะกินขนมสักสิบยี่สิบบาทก็เปลี่ยนไปเป็นอาหารญี่ปุ่นสำหรับคนจน (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) ดีกว่านี่ก็แว่วว่า บะหมี่ซองเหล่านี้จะขึ้นราคากันแล้วเราคงต้องไปหาดินอร่อยๆ กินกันแทนข้าวแล้วกระมัง ก่อนที่ดินอร่อยๆ จะได้รับความนิยมขึ้นมา แล้วดินก็จะขึ้นราคาอีก
ฐาปนา
“...ยังไม่เคยเห็นธนาคารไหนในโลกให้ดอกเบี้ยร้อยเปอร์เซนต์ ฝากพันให้พัน ฝากหมื่นให้หมื่น ฝากล้านให้ล้าน ไม่เคยเห็น แต่ธรรมชาติจะให้มากกว่านั้นแทบทุกเรื่อง ถ้าเราฝากธรรมชาติ อย่างเช่น ถ้าเราเอาเงินสิบบาทไปฝากธนาคาร ถ้าเขาให้ดอกร้อยเปอร์เซนต์ สิ้นปีก็ได้สิบบาท รวมที่ฝากเป็นยี่สิบบาท คือสูงสุดแล้ว แต่ถ้าฝากธรรมชาติ ก็เหมือนฝากให้คนอื่นทำงาน สมมติต้นกล้วยห้าบาท ค่าปลูกกล้วยอีกห้าบาท รวมเป็นต้นทุนสิบบาท พอสิ้นปีได้ปลีกล้วยมาอันหนึ่ง เครือกล้วยอีกเครือหนึ่ง หน่อกล้วยอีกสองหน่อ อันนี้ไม่รู้ราคาเท่าไรแล้ว ถามว่ามันได้ร้อยเปอร์เซนต์ หรือกี่ร้อยเปอร์เซนต์…
ฐาปนา
กิจกรรมส่วนที่สองของโครงการ one year # 2 ของมูลนิธิที่นา ที่ผมเข้าร่วม คือกิจกรรมเรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ เริ่มต้นด้วยการประชุมแนะนำโครงการและให้ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละคนวาดรูปพืช ที่ตนเองอยากปลูก หรือ สัตว์ที่ตนเองอยากเลี้ยง ซึ่งในช่วงเวลาสามเดือนของกิจกรรมส่วนที่สองนี้ ทุกคนจะต้องดูแลสิ่งมีชีวิตของตนเองสองวันต่อมา เราเดินทางไปชมการทำเกษตรกรรมอินทรีย์และการดูแลสุขภาพวิถีไทที่ “สวนสายลมจอย” อำเภอสันกำแพง พื้นที่ไม่ถึงสิบไร่แห่งนี้ ถูกปรับเปลี่ยนจากพื้นที่นามาเป็นร่องสวน และบ่อเลี้ยงปลา, เต็มไปด้วยมะพร้าว พืชผล พืชผัก และสมุนไพรนานาชนิดจากการทำนาทำสวนที่ใช้สารเคมีในอดีต…
ฐาปนา
หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อยมีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมืองมากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่าให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิตและไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกลถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธก็ไม่มีโอกาสจะใช้ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราวด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือให้เขานึกว่าอาหารพื้นๆนั้นโอชะเสื้อผ้าอันสามัญนั้นสวยงามบ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบายประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชมในระหว่างเพื่อนบ้านต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกันจนอาจได้ยินเสียงไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้านและตราบจนวันสุดท้ายของชีวิตจะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย(บทที่ 80 ประเทศในฝัน,…
ฐาปนา
หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไปเราได้ทำอะไรไปบ้าง คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะระบุให้ครบถ้วน เพราะการกระทำเป็นรูปธรรม มีผลลัพธ์ชัดเจน มีร่องรอยที่ติตตามได้แต่หากให้ลองย้อนคิดดูว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป เราได้ "พูด" อะไรไปบ้าง ต้องไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ เว้นเสียแต่ว่า วันนั้นเราจะพูดน้อยจนนับคำได้คำพูด คือความคิดที่แสดงออกเพื่อสื่อสาร ซึ่งเนื้อแท้ของสิ่งที่ต้องการสื่อสารนั้นก็คือ ความรู้สึก ความรู้สึกคือภาษาของวิญญาณ เป็นหัวใจเป็นแก่นแกนกลางของการสื่อสารทุกชนิด แต่เราก็มักจะหลงลืมหัวใจของการสื่อสารนี้ไป และไปให้ค่ากับคำพูดเสียมากกว่าฉะนั้น หากเปลี่ยนคำถามเสียใหม่ว่า ในหนึ่งวันที่ผ่านไป…
ฐาปนา
ผมเพิ่งจะไปเที่ยววัดพระธาตุดอยสุเทพมาครับ หลังจากไม่ได้ไปมาเป็นเวลาร่วมสิบปี ครั้งสุดท้ายที่ขึ้นไปคือตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย พอย้ายมาอยู่ทางเหนือก็ไม่ได้โอกาสเสียที มาสบโอกาสเอาก็ตอนลมหนาวเริ่มมาเยือนนี่เอง ขับมอเตอร์ไซต์ขึ้นดอยตอนเช้า อากาศเย็นสบาย ใช้เวลาสัก 20-30 นาทีเท่านั้นวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นสถานที่อันดับแรกที่ใครต่อใครที่มาเชียงใหม่จะต้องมาเยือนมาชม มากราบไหว้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง ที่นี่จึงเต็มไปด้วยผู้คนมากมายตลอดเวลา ยิ่งในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว ดูเหมือนว่า ดอยสุเทพคือสถานที่แรกที่ทุกคนต้องมา…
ฐาปนา
คืนหนึ่งผมฝันถึงสถานที่หนึ่งซึ่งผมไม่เคยคาดคิดว่าจะฝันถึงสถานที่แห่งนั้นเป็นทางเดินที่ทอดยาว เชื่อมระหว่างอาคารหนึ่งไปสู่อาคารหนึ่งผมเดินไปตามทางนั้นด้วยความรู้สึกประหลาด ประหลาดเพราะรู้ว่านี่คือความฝัน แต่ทั้งรู้ว่าฝันผมกลับตื่นตื่นโพลงอยู่ในความฝัน ผมเดินไปตามทางด้วยความตื่นโพลง และรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในภาพวาดซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างหยุดนิ่ง แม้แต่ใบไม้แห้งก็แทบจะไม่ไหวติง ผมรู้จักสถานที่แห่งนั้นดี มันคือทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพักอาศัยไปยังอาคารปฏิบัติรวมของศูนย์วิปัสสนาธรรมอาภา สถานที่ที่ผมไปอบรมวิปัสสนาเป็นเวลาสิบวันผมพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมผมจึงฝันถึงสถานที่แห่งนั้น…
ฐาปนา
หากได้รับตั๋วเครื่องบินไป-กลับยุโรป พร้อมเงินติดกระเป๋าไปเที่ยวฟรีๆ 10 วัน เป็นใครย่อมไม่รอช้า ทั้งพร้อมจะเลื่อน – ลา – หยุด ทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อไป มันคงเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญในชีวิตที่น้อยคนจะมีโอกาส แต่ด้วยเงื่อนไขเดียวกันนี้ หากเปลี่ยนจากไปเที่ยวยุโรป 10 วัน เป็นการไป ‘วิปัสสนา’ 10 วันแทน หลายคนคงต้องคิดหนัก เราหมายใจจะท่องเที่ยวไปให้ทั่วประเทศ ทั่วทวีป ทั่วโลก จากทะเลลึกถึงภูเขาที่สูงที่สุด จากมหานครสู่ป่าดิบ จากกลางตลาดที่คราคร่ำด้วยผู้คนสู่ทะเลทรายเวิ้งว้าง แต่เรากลับไม่สนใจที่จะท่องเที่ยวสำรวจ ‘จิต’ ของเราเอง ... แปลกมั้ย ?ในฐานะชาวพุทธ ไม่ว่าจะกล่าวด้วยความภาคภูมิ…
ฐาปนา
ผมสมัครเข้าร่วมโครงการหนึ่งปี “ชุมชนทดลอง # 2” ของมูลนิธิที่นา [1] ด้วยความไม่รู้ กล่าวคือ ไม่รู้เรื่องวิปัสสนา ไม่รู้เรื่องศิลปะ และไม่รู้เรื่องเกษตรกรรมธรรมชาติ ความไม่รู้นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะถ้ารู้แล้วคงไม่ต้องมาเมื่อได้คุยกับทีมงานหลายท่านก่อนเริ่มโครงการ ก็ได้รับความห่วงใยเกรงว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะคาดหวังมากเกินไป เนื่องจาก the land ไม่ใช่ utopia ซึ่งผมก็เข้าใจ ขณะเดียวกันผมเองก็ห่วงใยเกรงว่า ทีมงานจะคาดหวังกับผู้เข้าร่วมโครงการมากเกินไปเช่นเดียวกันเพราะในความต่างของปัจเจกที่มาอยู่ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขหลวมๆ นี้ หากผู้เข้าร่วมไม่มีความชัดเจนในจุดประสงค์ของตนเอง…