พ่อเยเช เขียน
"พ่อๆ ลุงณัฐสอนอะไรบ้าง?"
ผมนิ่งไปนิดนึง นึกถึงสิ่งที่เรียนมาสามวัน ถามตัวเองว่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้ลูกเข้าใจยังไงดี...
"โอเค อาจจะงงๆ หน่อยนะ แต่เดี๋ยวลองเล่าไปก่อนละกัน..."
++++++++++++
พ่อชวนลุงณัฐมาสอนเรื่อง Myth (มิธ) ที่วัชรสิทธา จริงๆ มันต้องแปลว่าตำนาน แต่ตำนานไม่รู้แปลว่าอะไร เราเลยเรียกว่า มิธ ไปละกัน
มิธ คือเรื่องเล่าที่เข้าใจด้วยเหตุผลอย่างเดียวไม่ได้ ก่อนที่จะมีภาษาเขียน คนในวัฒนธรรมโบราณเขาใช้เรื่องเล่าถ่ายทอดคุณค่าทางจิตวิญญาณและมิติความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตกัน
ปราชญ์ฝรั่งคนหนึ่ง ชื่อ โจเซฟ แคมป์เบลล์ ปู่แคมป์เบลล์แกก็เกิดมาในยุคเรานี่แหละ แต่แกสนใจเรื่องมิธมาก เหมือนแกอยากจะกลับไปหาความศักดิ์สิทธิ์อะไรบางอย่างที่สังคมสมัยนี้มันขาดหายไป แกก็เลยไปศึกษามิธของหลายๆ ที่ในโลก เช่น ตำนานเทพเจ้ากรีก ตำนานเทพเจ้าอินเดีย ตำนานของศาสนาสำคัญต่างๆ ตำนานอินเดียนแดง อะไรพวกนี้ ....แล้วแกก็พบว่ามิธของแต่ละที่ มีแบบแผนร่วมกันบางอย่าง
ปู่แคมป์เบลล์ตั้งข้อสังเกตว่าในเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ มักจะมีตัวละคร หรือองค์ประกอบของเรื่องคล้ายๆ กัน
ยกตัวอย่าง ในบรรดาหนังที่เยเชชอบ พวกอนิเมชั่นจิบลิ แฮรี่พ็อตเตอร์ อลิซอินวันเดอร์แลนด์ หรืออะไรพวกนี้ ดูไปเรื่อยๆ แล้วเทอเริ่มเห็นว่ามันมีลักษณะของตัวละครคล้ายกันบางอย่าง ปู่แคมป์เบลล์เขาเรียกรูปแบบสัญลักษณ์ในมิธพวกนี้ว่า "อาคีไทพ์"
ในมิธจะมีตัวละครหลัก ซึ่งแสดงบทบาทของ "ผู้ออกเดินทาง" สักพักก็ไปเจอกับ "เพื่อนร่วมทาง" "ผู้ปกป้อง" "คนรัก" "ผู้สร้าง" "ผู้ไร้เดียงสา" "ผู้ทำลาย" "ผู้ดูแล" "ผู้ปกครอง" อะไรพวกนี้ นี่แหละคือสิ่งที่เขาเรียกว่า อาคีไทพ์
ที่น่าสนใจคือ รูปแบบสัญลักษณ์ในเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์ บางทีก็อาจจะอยู่ในรูปของสัตว์ด้วยนะ เช่น หมาจิ้งจอก กระต่าย เสือ ม้าพยศ นกอินทรีย์ หมี ม้าบินได้ (แมวยิ้มได้) หรือมังกร อะไรพวกนี้ ซึ่งแต่ละตัวก็จะแสดงบทบาทหรือคุณลักษณะในเรื่องต่างกันใช่ไหม
สมมติว่า เยเชเห็นมังกร เยเชจะคิดถึงลักษณะอะไร?
(ตอบ: ....ความอันตราย ความน่ากลัวสุดๆ)
อื้อ ใช่เลย ความกลัวที่ลึกที่สุด...
ทีนี้ ปู่แคมป์เบลล์แกก็อธิบายต่อว่า จริงๆ แล้ว อาคีไทพ์ในเรื่องเล่าพวกนี้ มันสะท้อนคุณลักษณะจิตใจที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ความดี ความชั่ว ความกลัว ความรัก... เมื่อเราฟังเรื่องเล่าที่มีพลังพวกนี้ มันก็ทำงานกับจิตใจเรา สัมพันธ์กับเรื่องเล่าที่มีชีวิตอยู่ในตัวเราไปด้วย....
เช่น ตัวเอกของเรื่องออกจากความเคยชินเดิมๆ ออกเดินทางตามหาอะไรบางอย่าง ...ตัวเอกของเรื่องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เห็นความกลัวของตัวเอง อาจจะไปเจอผู้เฒ่าที่มอบ "ดาบ" หรือความรู้สำคัญอะไรบางอย่าง แล้ววันหนึ่งเขาก็ออกไปสู้กับมังกร "ความกลัวที่ลึกที่สุดในตัวเอง" แล้วก็ฆ่ามังกรตัวนั้นได้
(นี่พ่อเล่าเรื่องอลิซ ที่ฆ่ามังกรอยู่ใช่มั๊ย...)
อา.. จริงด้วย ตอนแรกไม่ได้นึกถึงอลิซนะ แต่นั่นไง อลิซฆ่ามังกร ..พอฆ่าเสร็จปุ๊บ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเทอเลยใช่ไหม มั่นใจขึ้น เป็นตัวของตัวเองขึ้นอะไรขึ้น :)
ดังนั้นมิธ หรือเรื่องเล่าในตำนานพวกนี้ จึงมีพลังมหัศจรรย์ที่ทำงานกับโลกด้านในของคนเรา มันไม่ใช่แค่เรื่องที่ฟังแล้วสนุกอย่างเดียว แต่มันช่วยก่อรูปของการรับรู้ การตีความ เรื่องความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ หรือเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ของเราด้วย ซึ่งนี่แหละคือ แง่มุมทางจิตวิญญาณของมิธ
ที่อลังการกว่านั้นคือ อาคีไทพ์พวกนี้ ยังเชื่อมร้อยสัมพันธ์กันหมด บางสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่เรา เราไม่ได้เป็น มันอาจอยู่ลึกข้างในตัวเรา หรือเรายังไม่รู้จักมันดีเท่าไหร่
สมมติว่า เยเชอาจจะสัมพันธ์ได้กับอาคีไทพ์ ความเป็นคนร่าเริง ความเป็นคนสนุกสนาน อารมณ์ดี ในตัวเอง แต่เค้าบอกว่า คุณลักษณะเด่นพวกนี้จะมี "เงา" หรือด้านตรงข้ามของมัน ซึ่งก็มีอยู่ในตัวเราเช่นกัน
ในความเป็นคนร่าเริง ก็มีด้านของความเศร้า ความเหงา (หนูมีไหม?.. มีนะ มี ) ในความเป็นคนอารมณ์ดี ก็อาจจะความขี้หงุดหงิด ขี้โกรธอยู่ จริงไหม? อย่างพ่ออาจจะดูเป็นคนกล้า แต่ลึกๆ ก็มีความขี้กลัวอยู่ อะไรแบบนี้ ....คุณสมบัติทั้งหมดมีอยู่ในตัวเรา
คำถามคือ ถ้าเรายอมรับด้านสว่างของเราอย่างเดียว ไม่ยอมรับถึงการมีอยู่ของ "เงา" ในตัวเลย จะเป็นยังไง?
ชีวิตก็ไม่สมดุล เราปฏิเสธคุณลักษณะอีกด้านในตัวเอง และคุณลักษณะเหล่านั้นก็มักมีอยู่ในคนอื่นที่เราเกลียด เราสัมพันธ์กับสิ่งนั้นไม่ได้ เพราะเราไม่กล้าสัมพันธ์เงาของตัวเอง
(นี่พ่อกำลังเล่าเรื่องราชินีแดงกับราชินีขาวอยู่ใช่ม๊ายยย)
55 และที่มหัศจรรย์ยิ่งกว่านั้นคือ เรามักจะตกหลุมรักกับเงาของเราด้วย เวลาเรารักใคร เราจะรู้สึกดึงดูดกับคุณลักษณะบางอย่างของคนคนนั้นที่ในตอนแรกเราอาจคิดว่าเราไม่มี แต่หารู้ไม่ว่าเรากำลังตกหลุมรักอีกด้านหนึ่งของตัวเราเอง
55 และที่มหัศจรรย์ยิ่งกว่านั้นคือ เรามักจะตกหลุมรักกับเงาของเราด้วย เวลาเรารักใคร เราจะรู้สึกดึงดูดกับคุณลักษณะบางอย่างของคนคนนั้นที่ในตอนแรกเราอาจคิดว่าเราไม่มี แต่หารู้ไม่ว่าเรากำลังตกหลุมรักอีกด้านหนึ่งของตัวเราเอง
มิธทำให้เราเห็นว่าในความสว่างมีความมืด ในความมืดมีความสว่าง สิ่งที่อยู่ข้างนอก จริงๆ แล้วอาจจะอยู่ข้างใน สิ่งที่อยู่ข้างใน อาจจะถูกผลักให้กลายเป็นภาพข้างนอก รูปแบบสัญลักษณ์ทั้งหมดเชื่อมร้อยสัมพันธ์ เป็น "ความเต็มของมนุษย์" ที่เราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธด้านใดด้านหนึ่งของชีวิตไป
งงไหม?
(ไม่งงนะ สนุกดี :) )
งงไหม?
(ไม่งงนะ สนุกดี :) )
ดีๆ ไว้โตกว่านี้อีกหน่อย ก็ไปนั่งเรียนกะลุงณัฐได้แล้ว
บล็อกของ วัชรสิทธา • vajrasiddha
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา วัชรสิทธามีจัดอบรมพื้นฐานการฝึกภาวนาแบบ somatic meditation สอนโดย วิจักขณ์ พานิช โดยวิธีการฝึกของที่นี่ ที่เรียกว่า bodywork เป็นเทคนิคภาวนาที่พัฒนามาจาก inner yoga ของทิเบต และได้ถูกพัฒนาต่อโดยอาจารย์ Reginald Ray ซึ่งเป็นครูสอนภาวนาชาวอเมริกัน ลูกศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
วัชรสิทธา • vajrasiddha
พ่อเยเช เขียน "พ่อๆ ลุงณัฐสอนอะไรบ้าง?"ผมนิ่งไปนิดนึง นึกถึงสิ่งที่เรียนมาสามวัน ถามตัวเองว่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้ลูกเข้าใจยังไงดี... "โอเค อาจจะงงๆ หน่อยนะ แต่เดี๋ยวลองเล่าไปก่อนละกัน..."++++++++++++พ่อชวนลุงณัฐมาสอนเรื่อง Myth (มิธ) ที่วัชรสิทธา จริงๆ มันต้องแปลว่าตำนาน แต่ตำนานไม่รู้แปลว่าอะไร เราเลยเรียกว่า มิธ ไปละกัน
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีอยู่แล้วโดยพื้นฐาน คำสอนศาสนาเพียงเข้ามาชี้ให้ตระหนักและเชื่อมั่นในศักยภาพนั้น ศาสนาไม่ได้มีหน้าที่สั่งสอนให้มนุษย์มองเห็นความชั่วร้ายเป็นธรรมชาติพื้นฐานแล้วให้มนุษย์มีศาสนาเพื่อที่จะถูกช่วยให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายนั้น โอ้.. หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของคุณค่าศาสนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ก็เป็นได้
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนในสังคมสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุนนิยมและความรู้เชิงเหตุผล พลังทางศาสนามักถูกตั้งคำถามว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่? อดีตสอนเราว่า ศาสนาไม่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีและไม่จำเป็นต้องช่วยปลดปล่อยมนุษย์เสมอไป เพราะบางทีศาสนาก็มอมเมา กดขี่ ทำให้คนโง่เขลาดักดาน ศาสนาเป็นชนวนก่อสงครามและความรุนแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเองในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะเมื่อศาสนาพัฒนาไปสู่ "ความเชื่อหนึ่งเดียวสูงสุด" ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อใดที่สถานะความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันศาสนาถูกผูกเข้ากับสถาบันทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้ศาสนากลายเป็นอาวุธอานุภาพสูงของชนชั้นมีอำนาจ
วัชรสิทธา • vajrasiddha
ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา เขียน บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอวงสนทนา “112ปี พุทธทาสวิจารณ์ได้” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ วัชรสิทธา ทว่าตัวผู้เขียนไม่ได้อยู่ร่วมสนทนาเนื่องจากติดราชการแดนไกล มิตรสหายหลายท่านจึงได้ช่วยกันนำเสนอแทน จึงขอนำบทความมาเผยแพร่ในที่นี้ เผื่อว่าอาจจะเป็นสาระประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย