Skip to main content

โอม มณีปัทเมหุม เขียน

ในสังคมสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุนนิยมและความรู้เชิงเหตุผล พลังทางศาสนามักถูกตั้งคำถามว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่? อดีตสอนเราว่า ศาสนาไม่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีและไม่จำเป็นต้องช่วยปลดปล่อยมนุษย์เสมอไป เพราะบางทีศาสนาก็มอมเมา กดขี่ ทำให้คนโง่เขลาดักดาน ศาสนาเป็นชนวนก่อสงครามและความรุนแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเองในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะเมื่อศาสนาพัฒนาไปสู่ "ความเชื่อหนึ่งเดียวสูงสุด" ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อใดที่สถานะความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันศาสนาถูกผูกเข้ากับสถาบันทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้ศาสนากลายเป็นอาวุธอานุภาพสูงของชนชั้นมีอำนาจ

อีกด้าน การพยายามทำให้ศาสนาย้อนกลับไปหาความดั้งเดิมเพียวบริสุทธิ์ ก็ดูน่ากลัวไม่แพ้กัน เมื่อเข้ากับสังคมสมัยใหม่ไม่ได้ การพยายามแยกตัวออก เพื่อคงไว้ซึ่งสังคมอุดมคติแบบศาสนา อย่างน้อยก็ทำให้ศาสนามีที่ทางของตัวเอง (แม้จะดูเข้ากันไม่ได้กับโลกสมัยใหม่ก็ตาม) ...มันจะไม่มีปัญหาอะไรเลย หากรัฐไม่ยกศาสนานั้นๆ ให้เป็นศาสนาของรัฐที่มีอำนาจและบทบาทมากกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่เช่นนั้นอุดมคติอนุรักษ์นิยมแบบถอยหนีจากโลกก็อาจกลายเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองหลักที่ถูกสนับสนุนด้วยความเชื่อทางศาสนา กระทั่งประชาชนถูกทำให้มองว่า โลกสมัยใหม่ไม่ใช่ความจริง...

แล้วมันจะมีไหม ศาสนาที่คุยกับโลกสมัยใหม่รู้เรื่อง? ศาสนาที่มีเหตุมีผลและโลดแล่นบนการแข่งขันเสรีของโลกทุนนิยมได้? ความเป็นไปได้เกิดขึ้นจากการลงมาคลุกคลีและสัมพันธ์กับบริบทใหม่ อันเป็นจุดเริ่มต้นของ "การกำเนิดใหม่" ที่พร้อมจะถอดความเป็นศาสนาแบบเดิมๆ อันเทอะทะทิ้ง

ทิเบตน่าสนใจตรงนี้ สถานการณ์ทำให้พุทธศาสนาทิเบตจำต้องเคลื่อนย้ายจากโลกก่อนสมัยใหม่ไปสู่โลกสมัยใหม่อย่างไม่ทันตั้งตัว ด้วยความที่คนทิเบตต้องหนีตาย ไม่มีบ้านให้กลับ พวกเขาจึงไม่มีทางเลือกของการถอยหนีจากโลกสมัยใหม่มากนัก 

"โลกวิสัย" คือดินแดนแห่งใหม่ที่ทิเบตเดินทางเข้าไปขอพึ่งพิง การมีศาสนาไม่ใช่เรื่องคูลในดินแดนแห่งนี้ เผลอๆ พล่ามเรื่องศาสนามากไปอาจกลายเป็นเรื่องน่ารังเกียจด้วยซ้ำ ชีวิตโลกย์ๆ สำคัญกว่าชีวิตทางธรรม (จึงเรียกว่าโลกวิสัย) ฆราวาสสำคัญกว่านักบวช (จึงเรียกว่า ฆราวาสวิสัย)  มันคือดินแดนที่ศาสนาถูกกำหนดให้ปรับตัว ลดทอนสถานะอำนาจของตนลง เพื่อมาสัมพันธ์กับโลกอย่างเท่าเทียม

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สถาบันวัชรสิทธาชวนฝรั่งอเมริกันนับถือพุทธคนหนึ่งชื่อ คุณเจมี่ เรนฮาร์ด มาถ่ายทอดเรื่องราวของคำสอน "ชัมบาลา" คำสอนที่ได้ชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ Secular Buddhism ในโลกตะวันตก
 


ประวัติศาสตร์และที่มาของ "ชัมบาลา"   

"ชัมบาลา" คือดินแดนในตำนาน มันคือเรื่องราวเล่าขานถึงสังคมในอุดมคติ ที่ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข จะว่าไปตำนานแบบนี้เราก็เคยได้ยินกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น "โลกพระศรีอาริย์" "สุขาวดี" หรือกระทั่ง "นิพพาน" เอง ที่นอกจากสะท้อนถึงเป้าหมายทางศาสนา ยังมีภาพอุดมคติเป็นดินแดนที่ผู้ศรัทธาใฝ่ฝันจะไปถึง

ตำนานชัมบาลาสามารถย้อนกลับไปยังสมัยพุทธกาล ว่ากันว่าคำสอนนี้ถูกถ่ายทอดโดย ศายมุนีพุทธะ ต่อกษัตริย์อินเดียพระองค์หนึ่งชื่อ "ดาวา ซังโป" กษัตริย์พระองค์นี้ได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้า จึงเรียนถามท่านว่ามีคำสอนที่จะนำเขาไปสู่การรู้แจ้ง โดยที่เขายังสามารถใช้ชีวิตเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมือง อย่างที่เป็นอยู่นี้ได้หรือไม่? 

พระพุทธะพยักหน้า แต่ก่อนที่เขาจะถ่ายทอดคำสอนนั้นต่อดาวา ซังโป ภิกษุทุกรูปถูกเชิญให้ออกจากห้องนั้นและคำสอนที่มีชื่อว่า "กาลจักรตันตระ" ก็ได้ถูกถ่ายทอดเป็นการส่วนตัวระหว่างพระพุทธะกับกษัตริย์ดาวา ซังโป นั่นเอง

ชัมบาลา มีที่มาจากคำสอนกาลจักรตันตระที่กษัตริย์ดาวา ซังโปได้รับ ตำนานกล่าวต่อว่า ดาวา ซังโป นำคำสอนดังกล่าวไปปฏิบัติจนรู้แจ้ง และอาณาจักรของเขามีแต่สันติสุข ผู้คนเคารพกันและกันบนพื้นฐานของความมีเมตตากรุณาและความเอื้อเฟื้อ สังคมดังกล่าวถูกแปรเปลี่ยนไปสู่อีกมิติหนึ่งของความจริงแท้ และในตำนานบอกว่าชัมบาลายังคงดำรงอยู่ที่ไหนสักแห่งในเทือกเขาหิมาลัย
 

มิติทางสังคมของชัมบาลา

ความน่าสนใจของตำนานของชัมบาลา ไม่ได้อยู่ที่การมีกษัตริย์เป็นตัวเอกของเรื่อง (ซึ่งในแง่นึงภาพและตำนานธรรมราชาลักษณะนี้ ก็มีให้ได้ฟังบ่อยๆ อยู่แล้ว) แต่อยู่ที่คำถามพื้นฐานที่ว่า "จะเป็นไปได้ไหมที่ฉันจะปฏิบัติพุทธธรรมในชีวิตโลกย์ๆ แบบที่เป็น?" แทนที่จะถูกเรียกร้องให้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไปสู่ความเป็นนักบวชและปฏิเสธความจริงแบบโลกย์ๆ ว่าไม่ใช่ความจริงแท้ เราจะสามารถเข้าสู่สัจธรรมในการใช้ชีวิตทุกๆ แบบในแบบที่เป็นได้หรือไม่?  เราจะสามารถปฏิบัติคำสอนสูงสุดโดยไม่ต้องหลีกเร้นไปจากโลกที่เรามีชีวิตอยู่ได้หรือไม่? คำถามเหล่านี้น่าจะเป็นคำถามท้าทายต่อพุทธศาสนา และเป็นคำถามที่ดูจะสอดคล้องกับความเป็นสมัยใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ไม่ว่าเราจะมองตำนานชัมบาลาว่าเป็นแค่เรื่องขานหรือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงก็ตาม สิ่งสำคัญที่ตำนานนี้ต้องการจะสื่อก็คือ "ความเป็นได้" ที่การเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกในระดับสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่าแนวคิดแบบ secular enlightenment นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ เชอเกียม ตรุงปะ ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ แต่เป็นคำสอนที่มีที่มาทางประวัติศาสตร์ที่สามารถย้อนกลับไปถึงสมัยพุทธกาล

คำสอนชัมบาลาพูดถึงความใฝ่ฝันที่จะเห็นสังคมอุดมคติ ซึ่งทำให้เกิดคำถามที่น่าสนใจตามมาก็คือ เราจะตีความคำสอนพุทธศาสนาไปสู่อุดมคตินั้นอย่างไร??  เราต่างเคยได้ยินถึงการพยายามตีความพุทธศาสนาให้มาสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ศีลธรรมพุทธ การศึกษาแนวพุทธ การออกกฏหมายห้ามดื่มเหล้า ค่านิยมเรื่องความดี คนดี ธรรมาธิปไตย เผด็จการโดยธรรม ฯลฯ 

สังคมในอุดมคติแบบพุทธคือสังคมที่ทุกคนเข้าวัด ทำบุญ อย่างนั้นหรือไม่?
สังคมในอุดมคติแบบพุทธคือสังคมที่ทุกคนปฏิบัติธรรม ฝึกสติอยู่เสมออย่างนั้นหรือเปล่า?

หากการนำอุดมคติดังกล่าวไปปฏิบัติ หมายถึงการที่อำนาจรัฐออกกฏหมายบังคับให้คนปฏิบัติตาม การควบคุมบังคับทางศีลธรรมดังกล่าวจะยังได้ชื่อว่าเป็นกระบวนการที่นำไปสู่อุดมคติแบบพุทธหรือไม่???? อันนี้เป็นคำถามที่น่าสงสัยอยู่ไม่น้อย 

และนั่นคือสิ่งที่คุณเจมี่ จะขยายความต่อไป...


ความดีพื้นฐาน  (ฺBASIC GOODNESS: The First Principle of Shambhala)

หลักการข้อแรกของสังคมในอุดมคติแบบชัมบาลา คือ ผู้คนไม่กลัวที่จะเป็นตัวเอง พื้นฐานคำสอนตั้งอยู่บนการตระหนักรูัในธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์และสรรพสิ่งที่เรียกว่า BASIC GOODNESS หรือ "ความดีพื้นฐาน"

เราสามารถเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ความเป็นมนุษย์ที่โดยปกติแล้วมีสติปัญญา มีความรักความกรุณา และมีความเป็นปกติสุขในจิตใจอยู่เป็นพื้นฐาน เราไม่จำเป็นต้องไปมองหาหรือออกตามหาที่ไหน เพราะธรรมชาติดังกล่าวมีอยู่ในตัวคนทุกคนอยู่แล้ว อีกทั้งไม่มีสิ่งใดจะมาทำลายหรือขโมยธรรมชาติพื้นฐานอันนี้จากเราไปได้

โอเค... ชัมบาลาไม่ใช่สังคม "แนวพุทธ" แบบทีี่เราเคยได้ยินกันบ่อยๆ (อย่างหมู่บ้านศีีล ๕ )  ณ ที่นี้ จุดเริ่มต้นคือมุมมองที่ว่า มนุษย์นั้นดีโดยพื้นฐาน ดังนั้นเราจึงสามารถให้อิสระทุกคนที่จะเป็นตัวเอง มิติทางสังคมของชัมบาลาไม่ใช่การสร้างความรู้สึกผิดหรือความกลัว แต่คือการสร้างพื้นที่ของการเคารพ "สิ่งต่างๆ อย่างที่เป็น" โดยมองเห็นถึงคุณค่าของการมีอยู่ของสิ่งเหล่านั้นในแบบของมัน 

แทนที่จะมองว่าความดีคืออุดมคติบางอย่าง และคนดีสามารถอ้างความดีเพื่อใช้ในการควบคุมคนเพื่อบรรลุถึงอุดมคติของตนได้ ชัมบาลารื้อถอนมายาคติของสังคมที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความกลัวดังกล่าว และตระหนักว่าคนทุกคนนั้นมีธรรมชาติพื้นฐานที่ควรค่าแก่การเคารพ

(มีต่อ)








 



















   

 

บล็อกของ วัชรสิทธา • vajrasiddha

วัชรสิทธา • vajrasiddha
" ถ้าคุณไม่เห็นแหล่งอำนาจ คุณจะดูพฤติกรรมคน เช่น คนๆ นี้ไปอยู่ที่หนึ่งทำพฤติกรรมแบบหนึ่ง ไปอยู่อีกที่ก็ทำอีกแบบหนึ่ง คุณจะหลุดจากการตีตราพฤติกรรมคนก็ต่อเมื่อคุณวิเคราะห์แหล่งอำนาจของคนนั้นทันที นี่คือวิธีการที่พยาบาลและนักจิตวิทยาทำงานกับคนที่ใช้ความรุนแรง เมื่อเราบอกว่าเด็ก
วัชรสิทธา • vajrasiddha
วัชรสิทธา • vajrasiddha
ท่องจักรวาลจิตใต้สำนึก (1)กับ ถิง ชู ศิรดา ชิตวัฒนานนท์ ถอดความ/เรียบเรียง
วัชรสิทธา • vajrasiddha
เปิดเปลือยตัวตน ค้นพบตัวเองกับ ปรีดา เรืองวิชาธร30 ตค - 1 พย 2563ศิรดา ชิตวัฒนานนท์ ถอดความ / เรียบเรียง“กล่องใบใหญ่ใส่ใจ เล็ก หนัน นกฮูก ป้อย อัน นา เปิ้ล แพร์ งี้ อ้อย ดิว เหม ออย บิ๋ม เอิร์ธ จี๋ ณี วีณ ขนุน สุรินทร์ ต้น ตั้ม”
วัชรสิทธา • vajrasiddha
 ศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ บรรยายเนื้อหาจากเสวนา "เราจะรักกันไปทำไม? : ภราดรภาพในฐานะพลังในการขับเคลื่อนสังคม"
วัชรสิทธา • vajrasiddha
เนื้อหาจากคอร์สอบรม ตั้งหลัก: พื้นฐานการดูแลจิตและใจ รุ่น 4สรุปความโดย ชัยณภัทร จันทร์นาคPART 1 เสียหลัก
วัชรสิทธา • vajrasiddha
 Drawing Unconscious…เส้น สี ชีวิต และจิตใต้สำนึกที่ถูกหลงลืมบทความ โดย ฝน กนกพร ตรีครุฑพันธ์จากประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรม “วาดจิตใต้สำนึก”22-23 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วัชรสิทธา  
วัชรสิทธา • vajrasiddha
 หัวใจสุขาวดีเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจกับ อ.ดอน ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา
วัชรสิทธา • vajrasiddha
 WUJI : Unlock Potentialกำลังแห่งสุญญตาธรรมอ.ต้น ร่วมด้วย หมอดิน ถ่ายทอดและนำกระบวนการชัยณภัทร จันทร์นาค เรียบเรียงเนื้อหา 
วัชรสิทธา • vajrasiddha
มหายาน: "เพื่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์" บนหลักเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ
วัชรสิทธา • vajrasiddha
 ขับเคลื่อนใจไปพร้อมกับสังคม Subtle Activism: การเปลี่ยนแปลงสังคมทางพลังงาน เรียบเรียงเนื้อหาจากงานเสวนา Subtle Activism โดย Mary Englisแปลไทย โดย กฤตยา ศรีสรรพกิจ4 ตุลาคม 2562 ณ วัชรสิทธา