Skip to main content

 

บรรยายและนำกระบวนการโดย หมอดิน

13-14 กรกฎาคม 2562 ณ วัชรสิทธา

สรุปความโดย ชัยณภัทร จันทร์นาค


 

       

          “เราจะทำอะไรก็ตาม เรามีสมดุลหยินหยาง เราฝึกไทฉี เราเป็นไทฉี

 

ศาสตร์หลายอย่างของจีนมักจะหนีไม่พ้นการทำงานกับเรื่องความสมดุล ตั้งแต่ธรรมเนียมปฏิบัติในครอบครัว อาหารการกิน การแพทย์ ตลอดจนไปถึงศาสตร์ในการปกครองบ้านเมือง และการสงคราม

ไทฉี ก็เป็นศาสตร์หนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับความสมดุล ผ่านกระบวนมวยอันซับซ้อน ที่แท้จริงแล้วมีรากฐานอยู่บนความเรียบง่าย

 

น้ำเสียงของหมอดินนั้นชัดถ้อยชัดคำ สม่ำเสมอ แต่ก็เบาสบาย หลายสิ่งในตัวเขาบ่งบอกว่าเรื่องที่เขาฝึกฝนมานั้นได้ซึมลึกอยู่ในตัวของเขาแล้ว

เขามาจัดคลาส Flow ซึ่งในตอนแรกจะได้ชื่อว่า Flow and Release โดยคำชวนของวิจักขณ์ที่อยากให้หมอดินนำสิ่งที่สนใจมาจัดเป็นคลาสเรียนที่วัชรสิทธา




 

หมอดินเลยนำ 2 สิ่งที่ปกติแล้วเขาฝึกฝนแยกกัน มารวมกันในคลาสเรียนในครั้งนี้ซึ่งก็คือ มวยไทฉี และ Crystal Singing Bowl
 

          “ตัวมวยเองมันก็ช่วยให้ตัวเราเอง Release ส่วนที่มันติดขัดภายในออก สำหรับ Crystal Singing Bowl ก็จะช่วย Release พลังงานที่มันละเอียดลงไปกว่าที่เราจะทำงานได้ในระดับนั้น

หมอดินเป็นเด็ก Home School เขาเติบโตที่เชียงราย และมีโอกาสได้เรียนมวยตั้งแต่สมัยเด็กๆ กับ อาจารย์ ฌานเดช ร่วม 10 กว่าปี

ตัวของหมอดินก่อนที่จะได้เรียนมวยกับอาจารย์นั้นเป็นเด็กขี้อาย ไม่ค่อยสื่อสาร การฝึกมวยและโจทย์ต่างๆ ที่อาจารย์มอบให้ทำให้เขาเริ่มกล้าที่จะสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ เขาต้องไปทำหน้าที่สอนมวยแทนอาจารย์ทุกเช้าเย็นที่สนามบินเก่าในเชียงราย การพูดในการทำหน้าที่สอนจึงค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงของเขาไปด้วย

           “มวยมันก็เปลี่ยนชีวิตของเราให้ได้ออกเดินทางไกล...แต่มวยก็ยังอยู่ในใจ และก็ยังฝึกมวยเรื่อยๆ

  

           เช้าวันนั้นหมอดินเริ่มปูพื้นฐานความเข้าใจให้เราฟัง

           เราเรียนมวยเพื่อเข้าใจหยินหยางของเราเอง

 

ก่อนที่หยินหยางจะปรากฏ ความว่าง หรือ หวูจื่อ (Wuji) เป็นสภาวะตั้งต้นของทุกสรรพสิ่ง หยินหยาง ไหลเวียนอยู่ในความว่างนี้ในฐานะ บิดา-มารดาของสรรพสิ่ง เมื่อมีหยินหยาง ความเข้าใจจึงเกิดขึ้น เมื่อสามารถเข้าใจได้ ความสัมพันธ์ก็ตามมาเป็น 5 ธาตุ ได้แก่ น้ำ ไม้ ไฟ ดิน และทอง

           ความว่าง ในที่นี้เทียบได้กับการยืนที่สมดุล ซึ่งเกิดจากการจัดระเบียบหยินหยางให้สมดุลกัน

           หยินหยาง คือ ขั้วตรงข้าม หรือ ทวิลักษณะ ที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เช่น กลางคืน-กลางวัน มืด-สว่าง ดิน-ฟ้า อ่อน-แข็ง หนัก-เบา สงบนิ่ง-เคลื่อนไหว แม่(หญิง)-พ่อ(ชาย) ทุกข์-สุข เย็น-ร้อน ตัวอย่างหยินหยางในร่างกายก็คือ ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง ล่าง-บน

            5 ธาตุ เป็นเหมือนการอธิบายบทบาทของความสัมพันธ์ที่ละเอียดลงไปจากขั้วตรงข้ามในหยินหยางอีกที ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่มีลักษณะของความเป็นหนึ่งเดียว แต่ในความเป็นหนึ่งเดียวนั้นก็มีการแบ่งแยกไปตามสถานะและบทบาทหน้าที่ในครอบครัวที่แตกต่างกันออกไป ในมวย 5 ธาตุเป็นลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนในกระบวนมวยต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่สอดรับกันได้ราวกับการเต้นรำหากต่างฝ่ายต่างอ่านทางกันได้ทัน


 


 

            

             “การเรียนมวยคือการเรียนรู้ที่จะทำให้ร่างกายสมดุลที่สุด

             ในการเรียนมวย เราสามารถตรวจสอบสมดุลได้ 2 วิธีคือ ตรวจสอบด้วยตัวเราเอง และ ให้คู่ต่อสู้ หรือ Partner เป็นผู้ช่วย

            “เราเรียนรู้ที่จะเข้าใจ หนัก-เบา เข้าใจตัวเรา เข้าใจความชอบ-ไม่ชอบ เข้าใจกุศล-อกุศล เวลาที่เราเข้าใจแล้วมันหมายถึงว่าเราก็แค่เข้าใจ เราอาจจะไม่เลือกหยิน เราไม่ได้เลือกหยาง แต่เราเข้าใจทั้งสองอย่าง เพื่อที่เราจะกลับไปสู่ความว่าง อันนี้คือเป้าหมายของ เต๋า เป้าหมายของคนที่ตั้งใจจะฝึกมวยเพื่อการหลุดพ้น

            อีกเรืองหนึ่งที่หมอดินยกเรื่องทรัพย์สมบัติ 3 สิ่งในตัวมนุษย์มาถ่ายทอดคือ จิง ชี่ เสิน   

  จิง คือ ร่างกายและองค์ประกอบต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น สารคัดหลั่งต่างๆ ฮอร์โมนส์ เซลล์ในร่างกาย ฯลฯ เป็นสิ่งที่เราได้มาตั้งแต่ก่อนเกิดผ่านทางพันธุกรรม และได้ในระหว่างที่เรามีชีวิต จิงที่ได้จากพ่อแม่เป็นตัวกำหนดสุขภาพพื้นฐาน เป็นโครงสร้างหลักที่เราได้รับมา ส่วนจิงที่ได้มาหลังเกิดได้รับจากการกินอาหาร ฝึกฝนร่างกาย และพักผ่อน เราสูญเสียจิงได้จากความเครียด และการมีเพศสัมพันธุ์

  ชี่ คือ ลมปราณ ในระดับละเอียดคือกระแสไฟฟ้า เป็นพลังงานที่เคลื่อนไหวอยู่ในร่างกายช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อารมณ์ความรู้สึกก็เป็นชี่อย่างหนึ่ง จิงที่เรารับเข้ามาจะเปลี่ยนมาเป็นชี่

            เวลาที่ชี่พร่องเนื่องจากจิงน้อย อารมณ์ของเราก็จะไม่ปกติได้ง่าย ถ้าเราดูแลจิงได้ดี ชี่ ก็มีคุณภาพ

  เสิน คือ จิตวิญญาณ ครอบคลุมไปถึงความนึกคิด ทัศนะติ คลื่นสมอง จิตสำนึก จิตใต้สำนึก จิตไร้สำนึก และการเชื่อมต่อไปในอดีตและอนาคต

หลังจากปูพื้นฐานเสร็จ หมอดินก็เริ่มสอนให้พวกเราตบกระตุ้นจุดต่างๆ ของร่างกาย หลักจากนั้นก็เริ่มสอนให้เราจัดท่าทางการยืนให้สมดุล ก่อนที่จะไปพักกลางวันและกลับมาพบกับการนอนพักผ่อนหลังจากกินข้าวมาอิ่มๆ ไปกับการฟังแลรับรู้แรงสั่นสะเทือนของ Crystal Singing Bowl

เสียงของ  Crystal Singing Bowl ที่หมอดินกำลังเล่นแผ่ขยายออกไปรอบๆ ห้อง แรงสั่นสะเทือนสะท้อนผ่านแผ่นหลังที่วางพักลงกับพื้น เขาใช้น้ำเสียงอีกรูปแบบหนึ่งที่ทรงพลังกว่าเดิมในการกระตุ้นการรับรู้ในแต่ละส่วนของร่างกาย เพื่อการผ่อคลาย

           หมอดินใช้ Crystal Singing Bowl กล่อมเราอยู่เป็นชั่วโมง ก่อนที่แต่ละคนจะลุกขึ้นมาด้วยความเบาสบาย พร้อมที่จะฝึกไทฉีต่อ

 

 

 

หมอดินไม่ได้สอนท่าทางการรำมวยไทฉีที่ซับซ้อน แต่เป็นการมอบความเข้าใจ ผ่านการยืนที่ดูเหมือนจะง่ายๆ แต่ก็ทำเอาขาสั่น

ทั้งสองวันเราได้ฝึกที่จะปล่อยให้แรงไหลผ่านโครงสร้างของเรา ฝึกจัดเรียงโครงสร้างด้วยการ เดิน นั่ง และการรำง่ายๆ เราก็ฝึกเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มความละเอียดอ่อนให้กับ Flow หยินหยาง ในตัวเรา 

          “สอนมาเรื่อยๆ ก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไม่อาจารย์ปู่ของผมถึงไม่ค่อยสอน Form”

 

บล็อกของ วัชรสิทธา • vajrasiddha

วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา วัชรสิทธามีจัดอบรมพื้นฐานการฝึกภาวนาแบบ somatic meditation สอนโดย วิจักขณ์ พานิช โดยวิธีการฝึกของที่นี่ ที่เรียกว่า bodywork เป็นเทคนิคภาวนาที่พัฒนามาจาก inner yoga ของทิเบต และได้ถูกพัฒนาต่อโดยอาจารย์ Reginald Ray ซึ่งเป็นครูสอนภาวนาชาวอเมริกัน ลูกศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช  
วัชรสิทธา • vajrasiddha
พ่อเยเช เขียน "พ่อๆ ลุงณัฐสอนอะไรบ้าง?"ผมนิ่งไปนิดนึง นึกถึงสิ่งที่เรียนมาสามวัน ถามตัวเองว่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้ลูกเข้าใจยังไงดี... "โอเค อาจจะงงๆ หน่อยนะ แต่เดี๋ยวลองเล่าไปก่อนละกัน..."++++++++++++พ่อชวนลุงณัฐมาสอนเรื่อง Myth (มิธ) ที่วัชรสิทธา จริงๆ มันต้องแปลว่าตำนาน แต่ตำนานไม่รู้แปลว่าอะไร เราเลยเรียกว่า มิธ ไปละกัน
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีอยู่แล้วโดยพื้นฐาน คำสอนศาสนาเพียงเข้ามาชี้ให้ตระหนักและเชื่อมั่นในศักยภาพนั้น ศาสนาไม่ได้มีหน้าที่สั่งสอนให้มนุษย์มองเห็นความชั่วร้ายเป็นธรรมชาติพื้นฐานแล้วให้มนุษย์มีศาสนาเพื่อที่จะถูกช่วยให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายนั้น โอ้.. หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของคุณค่าศาสนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ก็เป็นได้
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนในสังคมสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุนนิยมและความรู้เชิงเหตุผล พลังทางศาสนามักถูกตั้งคำถามว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่? อดีตสอนเราว่า ศาสนาไม่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีและไม่จำเป็นต้องช่วยปลดปล่อยมนุษย์เสมอไป เพราะบางทีศาสนาก็มอมเมา กดขี่ ทำให้คนโง่เขลาดักดาน ศาสนาเป็นชนวนก่อสงครามและความรุนแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเองในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะเมื่อศาสนาพัฒนาไปสู่ "ความเชื่อหนึ่งเดียวสูงสุด" ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อใดที่สถานะความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันศาสนาถูกผูกเข้ากับสถาบันทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้ศาสนากลายเป็นอาวุธอานุภาพสูงของชนชั้นมีอำนาจ
วัชรสิทธา • vajrasiddha
ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา เขียน บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอวงสนทนา “112ปี พุทธทาสวิจารณ์ได้” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ วัชรสิทธา ทว่าตัวผู้เขียนไม่ได้อยู่ร่วมสนทนาเนื่องจากติดราชการแดนไกล มิตรสหายหลายท่านจึงได้ช่วยกันนำเสนอแทน จึงขอนำบทความมาเผยแพร่ในที่นี้ เผื่อว่าอาจจะเป็นสาระประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย