Skip to main content

" ถ้าคุณไม่เห็นแหล่งอำนาจ คุณจะดูพฤติกรรมคน เช่น คนๆ นี้ไปอยู่ที่หนึ่งทำพฤติกรรมแบบหนึ่ง ไปอยู่อีกที่ก็ทำอีกแบบหนึ่ง คุณจะหลุดจากการตีตราพฤติกรรมคนก็ต่อเมื่อคุณวิเคราะห์แหล่งอำนาจของคนนั้นทันที นี่คือวิธีการที่พยาบาลและนักจิตวิทยาทำงานกับคนที่ใช้ความรุนแรง เมื่อเราบอกว่าเด็กคนนี้ก้าวร้าว เขาก็ต้องก้าวร้าวสิ เพราะว่าเสียงเป็นอันเดียวที่ทำให้คนอื่นฟัง เวลาเราดูพฤติกรรมคน เราดูแค่ระดับปัจเจกว่าคนๆ นี้เกิดมาเพื่อจะเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่ดูพฤติกรรมคน แต่เราจะดูว่าอะไรที่เป็นแหล่งอำนาจ หรือเป็นแหล่งอำนาจที่เขาไม่มี"

อวยพร เขื่อนแก้ว
ในคอร์สอบรม Gender Awareness ณ วัชรสิทธา


แหล่งที่มาของอำนาจ

แหล่งที่มาของอำนาจ คือ สิ่งที่ทำให้มนุษย์ระดับปัจเจกและระดับกลุ่มตั้งแต่ระดับครอบครัวถึงระดับสังคมมีอำนาจ

แหล่งที่มาของอำนาจระดับบุคคลที่มากับตัวเราและเปลี่ยนไม่ได้ เช่น นามสกุล วงศ์ตระกูล ชาติพันธุ์ บางอย่างเป็นสิ่งที่หามาทีหลัง เช่น ชนชั้น รายได้ บางอย่างมีอยู่แล้วในสังคม เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตเรา บางอันเกินการควบคุมของเราและกระทบเรา เช่น กฎหมาย

 

เงินและทรัพย์สิน ระดับการศึกษา ความรัก ความสัมพันธ์ รูปร่างหน้าตา ครอบครัวและวงศ์ตระกูล เชื้อชาติ เพศ เพศภาวะ เพศวิถี สีผิว อาชีพ อายุ ชื่อเสียง ความเชื่อ อุดมการณ์ ภาวะสุขภาพ ชาติพันธุ์ ความสามารถ ถิ่นที่อยู่ ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูดการเขียน กฎหมาย ความอาวุโส เครื่องแบบและสัญลักษณ์ ทรัพยากร ยศถาบรรดาศักดิ์ ข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ภาษา อาวุธ จำนวนคน เครือข่าย เทคโนโลยี การยอมรับ สถานภาพทางสังคม เส้นสาย ความมั่นใจในตัวเอง เวลา สภาพร่างกาย ขนาดร่างกาย โอกาส สถานภาพสมรส องค์กร สถาบัน กติกา กฎเกณฑ์ กฎหมาย ระเบียบ นโยบายรัฐ พื้นที่และอาณาเขต ภาวะการอยู่กับเชื้อบางอย่าง เช่น HIV ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม การแต่งกาย บุคลิก เสียง รายได้ ความชำนาญ วิชาชีพ เวทมนตร์คาถา ค่านิยม วิถีชีวิต ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์

 

สังคมให้ค่ากับอำนาจ คนจึงแสวงหาที่มาของอำนาจ แต่ละพื้นที่ให้คุณค่ากับแต่ละแหล่งอำนาจไม่เท่ากัน พี่คิดว่าไม่มีใครมีแหล่งอำนาจเท่ากันสักคนแม้กระทั่งฝาแฝด มีสามีกับไม่มีสามีก็อำนาจไม่เท่ากันแล้ว แหล่งอำนาจมีอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะใช้หรือไม่ใช้ เรา relate กับอำนาจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เราจะพูดกับพ่อ พูดกับแม่ยังไง การไม่ยุ่งเกี่ยวกับอำนาจอาจทำให้คุณปลอดภัย แต่โครงสร้างอำนาจยังอยู่ แล้วคนที่ไม่มีอำนาจปกป้องจะรับมือกับมันยังไง เมื่อเราพูดถึงอำนาจเรามักมองมันในแง่ลบ เพราะในสังคมไทยไม่มีใครใช้อำนาจในทางที่ดี




 

ทำไมต้องดูแหล่งอำนาจ?

ทำไมต้องมานั่งลิสต์แหล่งที่มาของอำนาจ เพราะโอกาสในการเข้าถึงไม่เท่ากัน และมันโยงถึงความไม่เป็นธรรม ถ้าคุณไม่เห็นแหล่งอำนาจ คุณจะดูพฤติกรรมคน เช่น คนๆ นี้ไปอยู่ที่หนึ่งทำพฤติกรรมแบบหนึ่ง ไปอยู่อีกที่ก็ทำอีกแบบหนึ่ง คุณจะหลุดจากการตีตราพฤติกรรมคนก็ต่อเมื่อคุณวิเคราะห์แหล่งอำนาจของคนนั้นทันที นี่คือวิธีการที่พยาบาลและนักจิตวิทยาทำงานกับคนที่ใช้ความรุนแรง เมื่อเราบอกว่าเด็กคนนี้ก้าวร้าว เขาก็ต้องก้าวร้าวสิ เพราะว่าเสียงเป็นอันเดียวที่ทำให้คนอื่นฟัง เวลาเราดูพฤติกรรมคน เราดูแค่ระดับปัจเจกว่าคนๆ นี้เกิดมาเพื่อจะเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นเราจะไม่ดูพฤติกรรมคน แต่เราจะดูว่าอะไรที่เป็นแหล่งอำนาจ หรือเป็นแหล่งอำนาจที่เขาไม่มี

 

การใช้อำนาจ/ ประเภทของอำนาจ

  1. อำนาจเหนือกว่า (power over/ dominant culture)

การที่บุคคลใด กลุ่มใด องค์กรใด หรือรัฐใช้แหล่งอำนาจที่ตัวเองมีอยู่ อาจเป็นอันใดอันหนึ่ง หรือหลายแหล่งอำนาจก็ได้ เพื่อควบคุม ครอบงำ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ นอกใจ (กรณีสามีภรรยา) ตัดสินใจแทน ปิดกั้นสิทธิโอกาส เสรีภาพของคนที่มีแหล่งอำนาจน้อย เช่น ลูกในระดับครอบครัว ทำให้อีกคนรู้สึกตัวเล็ก ไร้ค่า ไม่ปลอดภัย รู้สึกว่าด้อยกว่า ไม่เท่าเทียม

 

  1. อำนาจร่วม (power sharing/ partnership culture)

การที่บุคคลหรือกลุ่มคน ทั้งระดับรัฐ ชาติ สถาบัน ใช้แหล่งอำนาจที่ตัวเองมีอยู่ หรือแบ่งปันเพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูล สนับสนุน ตัดสินใจร่วมกัน หรือให้อีกฝ่ายตัดสินใจเอง

เมื่อเราต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เรากำลังต่อสู้เพื่อมีการใช้อำนาจร่วมกับรัฐ partnership culture มีในสแกดิเนเวีย ทำไมบ้านเราถึงซวยแบบนี้ เพราะลอกอังกฤษ ลอกอเมริกาซึ่ง patriarchy (<ไม่แน่ใจคำนี้) ลึกมาก เรื่อง racism แล้วก็เรื่องวัตถุนิยม ก่อนหน้านั้นก็ไปลอกญี่ปุ่นที่มีการสร้างชาติหลังสงคราม เรื่อง gender ก็ลึกมาก

 

  1. อำนาจภายใน (power within)

ศักยภาพหรือความสามารถที่บุคคลหรือกลุ่มคนมีอยู่ หรือถูกพัฒนาขึ้นมา เมื่อถูกทำลายลงก็สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เช่น ความเมตตา ความไม่สยบยอม ความกล้าหาญ ความชอบธรรม ความรักในชีวิตตัวเอง คุณค่าในตัวเอง ความฝัน หรือแม้แต่แรงบันดาลใจ โดยเฉพาะความฝันที่อยู่กับคนชายขอบเยอะมาก อำนาจภายในเป็นสิ่งที่กลุ่มคนชายขอบเอามาใช้เพื่อต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เผชิญกับความกลัว เผชิญกับความแค้น แล้วตอบโต้ด้วยสันติวิธี

สันติวิธีคือการเดินทางสายกลาง และสายกลางเป็นสายที่เดินยากที่สุด คุณต้องใช้ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์เมื่อคุณไม่ใช่ความรุนแรง นี่คือหัวใจของปฏิบัติการสันติวิธีไม่ว่าระดับไหน ต้องใช้ความกรุณา (compassion) หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ ทะนุถนอมพุทธะของตัวเอง เพราะถ้าเรามีความโกรธมันดึงพลังชีวิตไปหมด ความโกรธไม่ใช่อำนาจภายใน แต่เป็นสัญญาณบอกเราว่ามีบางอย่างไม่ถูกต้อง เราต้องฟังความโกรธ แต่อย่ารับมือด้วยความโกรธ ส่วนคนที่ใช้ความรุนแรงไม่ต้องอะไรเลย เพราะมันง่ายและเร็ว ใช้อาวุธ ใช้กฎหมายที่ไม่ได้เป็นธรรมกดขี่

 

power over culture ทำให้เราเดินได้ 2 ทาง ตอบโต้ด้วยความรุนแรงซึ่งเราก็เสีย หรือ passive ถ้า passive เราก็โดนกระทำ กระบวนการสันติวิธีทั่วโลกไม่เอาทั้ง 2 อัน ไม่เอาทั้งสองอันก็ต้องอยู่ตรงกลาง แล้วอยู่ตรงกลางก็ไม่ใช่ไม่ทำอะไร อันนี้ต้องอาศัยปัญญาเยอะมาก ถ้าวิ่งหนีไปเลยมันก็แค่ทำให้เรามีชีวิตรอด

Power over มีในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ ใช้ไปเพื่อรักษาความยุติธรรม รักษาอะไรบางอย่างที่มีคุณค่า ไม่ใช่รักษาอำนาจ เช่น มีลูก 4-5 ขวบ แล้วคุณไม่ให้เขาไปว่ายน้ำ เพราะเขาไม่มีประสบการณ์และคุณห่วงความปลอดภัยของเขา power over ใช้ในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน แล้วเราจะดูแลความปลอดภัยของคนที่เรารู้ว่าเสี่ยง เช่น คุณจะไปหยุดตาลีบัน คุณจะไปหยุดไอซิส คุณก็ต้องส่งกองกำลังเข้าไป เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราไม่ใช้เลย แต่ว่าต้องใช้เพราะมันสะดวก มันเร็ว และเพื่อให้รู้ว่าฉันมีอำนาจควบคุม

สังคมที่เป็น power over มันทำลายอำนาจภายในของตัวบุคคล ทั้งคนที่ใช้อำนาจและถูกกดขี่ ถ้าเราปะทะกับผู้ใช้อำนาจด้วยความเข้าใจ เราจะเห็นช่องทางคุยกับมนุษย์ ไม่ต้องเอาความเกลียดความโกรธปะทะ

 

Empowerment

Empowerment คือ การฟื้นฟูความมั่นใจในตัวเอง ความรัก ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความฝัน แรงบันดาลใจของคนที่ถูกใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะจากระบบที่ไม่เป็นธรรมหรือในระดับปัจเจกขึ้นมา ก่อนเราจะ empower ใคร เราต้อง commit ที่จะใช้ power sharing เท่านั้น เช่น การฟังด้วยใจ เมื่อเราฟังด้วยใจจะเห็นอำนาจภายในของคน จะใช้ power over เพื่อความปลอดภัยของเขาเท่านั้น หรือในตอนที่เขาเอาตัวเองเขาไปเสี่ยง เช่น การติดยา

เวลาพี่ทำกับคนที่อยู่ในความสัมพันธ์ที่ abuse โดยเฉพาะผู้หญิง ถ้าเราไม่เห็นคุณค่าตัวเอง เขาจะไม่ออกจากความสัมพันธ์ ตราบใดที่เรารู้สึกว่าเรามีชีวิต และเรามีคุณค่าความเป็นมนุษย์ เราจะไม่ยอมถูก abuse พอมันตื่นรู้มันก็จะออก ขึ้นอยู่กับว่าจะออกแบบไหน

 

บล็อกของ วัชรสิทธา • vajrasiddha

วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา วัชรสิทธามีจัดอบรมพื้นฐานการฝึกภาวนาแบบ somatic meditation สอนโดย วิจักขณ์ พานิช โดยวิธีการฝึกของที่นี่ ที่เรียกว่า bodywork เป็นเทคนิคภาวนาที่พัฒนามาจาก inner yoga ของทิเบต และได้ถูกพัฒนาต่อโดยอาจารย์ Reginald Ray ซึ่งเป็นครูสอนภาวนาชาวอเมริกัน ลูกศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช  
วัชรสิทธา • vajrasiddha
พ่อเยเช เขียน "พ่อๆ ลุงณัฐสอนอะไรบ้าง?"ผมนิ่งไปนิดนึง นึกถึงสิ่งที่เรียนมาสามวัน ถามตัวเองว่าจะอธิบายเรื่องนี้ให้ลูกเข้าใจยังไงดี... "โอเค อาจจะงงๆ หน่อยนะ แต่เดี๋ยวลองเล่าไปก่อนละกัน..."++++++++++++พ่อชวนลุงณัฐมาสอนเรื่อง Myth (มิธ) ที่วัชรสิทธา จริงๆ มันต้องแปลว่าตำนาน แต่ตำนานไม่รู้แปลว่าอะไร เราเลยเรียกว่า มิธ ไปละกัน
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนธรรมชาติของมนุษย์นั้นดีอยู่แล้วโดยพื้นฐาน คำสอนศาสนาเพียงเข้ามาชี้ให้ตระหนักและเชื่อมั่นในศักยภาพนั้น ศาสนาไม่ได้มีหน้าที่สั่งสอนให้มนุษย์มองเห็นความชั่วร้ายเป็นธรรมชาติพื้นฐานแล้วให้มนุษย์มีศาสนาเพื่อที่จะถูกช่วยให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายนั้น โอ้.. หรือนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของคุณค่าศาสนธรรมที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ก็เป็นได้
วัชรสิทธา • vajrasiddha
โอม มณีปัทเมหุม เขียนในสังคมสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยทุนนิยมและความรู้เชิงเหตุผล พลังทางศาสนามักถูกตั้งคำถามว่ายังเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่? อดีตสอนเราว่า ศาสนาไม่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีและไม่จำเป็นต้องช่วยปลดปล่อยมนุษย์เสมอไป เพราะบางทีศาสนาก็มอมเมา กดขี่ ทำให้คนโง่เขลาดักดาน ศาสนาเป็นชนวนก่อสงครามและความรุนแรงต่อมนุษย์ด้วยกันเองในหลายยุคหลายสมัย โดยเฉพาะเมื่อศาสนาพัฒนาไปสู่ "ความเชื่อหนึ่งเดียวสูงสุด" ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมื่อใดที่สถานะความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันศาสนาถูกผูกเข้ากับสถาบันทางการเมือง ก็ยิ่งทำให้ศาสนากลายเป็นอาวุธอานุภาพสูงของชนชั้นมีอำนาจ
วัชรสิทธา • vajrasiddha
ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา เขียน บทความชิ้นนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอวงสนทนา “112ปี พุทธทาสวิจารณ์ได้” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ วัชรสิทธา ทว่าตัวผู้เขียนไม่ได้อยู่ร่วมสนทนาเนื่องจากติดราชการแดนไกล มิตรสหายหลายท่านจึงได้ช่วยกันนำเสนอแทน จึงขอนำบทความมาเผยแพร่ในที่นี้ เผื่อว่าอาจจะเป็นสาระประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจบ้างไม่มากก็น้อย