Skip to main content

ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี

แต่ในปลายศตวรรษที่ 19 นักมานุษยวิทยาเริ่มไม่ไว้ใจข้อมูลจากคนที่ไม่ได้รับการศึกษาทางทฤษฎีมาก่อน จึงเริ่มพัฒนาการวิจัยภาคสนาม จนเกิดขนบการศึกษาทางมานุษยวิทยาแบบใหม่ขึ้นมา นั่นคือนักมานุษยวิทยาจะต้องเป็นทั้งผู้วิเคราะห์ทางทฤษฎีและผู้เก็บข้อมูลภาคสนามไปพร้อมๆกัน

แต่ผู้บุกเบิกการวิจัยภาคสนามไม่ใช่นักมานุษยวิทยา กลับเป็นนักสัตววิทยาชื่ออัลเฟรด แฮดดอน (Alfred C Haddon, 1855-1940) เขานำเอาหลักการศึกษาสัตว์อย่างมีส่วนร่วมในสนามมาเสนอให้นักมานุษยวิทยาใช้ แฮดดอนเปรียบนักมานุษยวิทยารุ่นก่อนหน้าเขาว่าเป็น armchair anthropologists "นักมานุษยวิทยาเก้าอี้นั่งเล่น" เนื่องจากพวกนั้นไม่เคยทำงานภาคสนามเลย 

ต่อมาบรอนิสลอว์ มาลินอฟสกี (Bronislaw Malinowski, 1884-1942) ผู้ทำให้การศึกษาภาคสนามกลายเป็นแบรนด์ของมานุษยวิทยา บอกว่า เราต้องค้นหา native’s point of view "มุมมองของชนพื้นเมือง"

แต่ข้อเขียนสั้นๆ ของผม มันก็เป็นแค่ armchair’s point of view "มุมมองจาก (นักมานุษยวิทยา) เก้าอี้นั่งเล่น"

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี