Skip to main content

วันนี้ว่าจะไม่เขียนสเตตัส กะว่าจะต้องจัดการงานคั่งค้างมากมาย แต่พอได้ข่าวการจากไปของอังคาร กัลยาณพงศ์ ก็อดไม่ได้ ไม่ว่าทัศนะทางการเมืองของท่านจะเป็นอย่างไร ผมก็ยังนับถือผลงานและความเป็นปัจเจกศิลปินของอังคาร

ผมรู้จักภาพเขียนของอังคารก่อนงานกวีนิพนธ์ สมัยยังเป็นวัยรุ่น ผมไม่มีชีวิตเหมือนเพื่อนๆ ร่วมรุ่น เพราะดันไปขลุกอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ศิลปะ และตระเวนดูนิทรรศการต่างๆ ด้วยว่าอยากจะเป็นจิตรกรกับเขาบ้าง

ผมชอบงานอังคารตั้งแต่ตอนนั้น ที่ชอบมากคืองานลายเส้นที่เขียนด้วยเครยอง   แล้วมาพบว่าท่านยังมีกวีนิพนธ์ด้วย  จึงเริ่มอ่านจากปณิธานกวี ไล่ไปเรื่อย แล้วก็เที่ยวเพ้อไปตามประสาคนหนุ่มที่เพิ่งเจอโลกหนังสือ

ผมไม่เคยพบเจอะเจอหรือแม้แต่จะเฉียดใกล้หรือรู้จักใครที่ใกล้ชิดท่านแม้แต่น้อย แต่มีช่วงหนึ่งที่ได้คบหากับพวกศิลปินรุ่นใหม่ๆ ที่ศิลปากรขณะนั้น แล้วก็ได้ยิน "ตำนาน" เกี่ยวกับอังคารมาบ้าง

พวกศิลปากรเล่าว่า "อังคารเรียนไม่จบปริญญาตรี เพราะความดื้อรั้น และมีฝีมือดีเกินไป... 

"อังคารเกรี้ยวกราดมาก มีคราวหนึ่งแกโกรธอาจารย์อะไรไม่ทราบ เลยเอาขี้ไปป้ายประตูห้องอาจารย์ เรื่องรู้ไปถึงอาจารย์ศิลป์ พีระศรี...

"อาจารย์ศิลป์เรียกอังคารมา แล้วบอกว่า นายควรไปช่วยอาจารย์เฟื้อ (หริพิทักษ์) รีเสิร์ชจิตรกรรมไทย แล้วอังคารก็ไปทำงานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ"

งานคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังหอไตรวัดระฆังเป็นตัวอย่างของงานคัดลอกชั้นครูของเฟื้อ ที่อังคารอาจมีส่วนร่วมอยู่ด้วยหรือไม่ ผมไม่รู้แน่ ภายหลัง มีผลงานชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งที่ว่ากันว่าท่านทำไม่เสร็จดี คือจิตรกรรมฝาผนังวัดศรีโคมคำ ที่พะเยา 

เส้นทางจิตรกรรมของอังคารจึงเดินรอยตามเฟื้อ ที่ผันจากการเขียนภาพ "ร่วมสมัย" ไปเป็น "แนวประเพณี" กลายเป็นแนวทางศิลปะใหม่ในประเทศไทย ที่ศิลปินรุ่นใหม่จำนวนมากเลือกก้าวตาม

เป็นที่รู้กันดีว่าผลงานจิตรกรรมของอังคารมีราคาแพงมาก ภาพเขียนสีของท่านเป็นผลงานสะสมของนักสะสมมือเติบ ทำให้คนสามัญทั่วไปแทบไม่มีโอกาสได้ชื่นชมผลงานท่าน

แต่ผมก็ไม่ชอบภาพเขียนสีพวกนั้นเท่ากับภาพเครยอง เพราะภาพเครยองมันตัดทองหยอง ตัดความหรูหราแพรวพราวของอังคารลงไป เวลาดูภาพเขียนสีของท่าน ผมเห็นอังคารแบบในปณิธานกวี คือรุงรังหรูหราฟุ่มเฟือย

ส่วนภาพเครยองของท่าน มันเคลื่อนไหว มีมิติทับซ้อน ชวนให้นึกถึง "หญิงเปลือยลงบันได" ของดูชองป์ แต่ก็มีความระยิบระยับของเส้นสาย

ขออาลัยอังคาร กัลยาณพงศ์ ในฐานะที่ท่านมีส่วนสร้างปณิธานให้คนรุ่นหลัง

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ค Yukti Mukdawijitra 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม