Skip to main content

อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง

เสียงคือคลื่นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน (อาจถี่สูงมากหรือต่ำมากจนเกือบไม่ได้ยินแต่ก็ยังอาจมีผลต่อกายภาพของหู) แต่เสียงที่เป็นดนตรี คือความถี่ทางวัฒนธรรม
 
ดนตรีคือเสียงที่จัดระบบให้มีความหมายในสังคม คลื่นความถี่เฉยๆ อาจไม่ได้จัดระบบจนถือกันว่าเป็นดนตรี เหมือนเราต้องแยกเสียงเฉยๆ ออกจากเสียงที่เป็นภาษา หรือไกลกว่านั้นคือ แยกวัตถุที่เอามากองตรงหน้าแล้วเอาใส่ปาก ออกจากอาหารที่เป็นวัตถุสภาวะที่ถูกจัดระบบให้มีความหมาย
ฉะนั้นความถี่ที่ถูกใช้เป็นอาวุธ อย่างที่รัฐไทยก็มีเครื่องมือนี้ เป็นคลื่นเสียงรบกวนในเชิงกายภาพ ต่างกับดนตรีที่ดนตรีมีลักษณะเชิงสัญญะ คือมีความหมาย
 
ดังนั้น เวลาบอกว่าดนตรีเป็นอาวุธ คือเป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่าในเชิงกายภาพ ดนตรีที่เป็นอาวุธอาจเป็นดนตรีที่มีเนื้อเพลงหรือไม่มีก็ได้ 
โดยทั่วไป ดนตรี (music) ที่มีเนื้อร้อง (lyric) เป็นเพลง (song) ดนตรีกว้างกว่าเพลง ดนตรีบางประเภทไม่เป็นเพลงในความหมายของการไม่มีเนื้อร้อง
ทีนี้ ดนตรีเป็นอาวุธได้อย่างไรบ้าง อันนั้นขึ้นกับสังคมจัดระบบดนตรีอย่างไร แล้วดนตรีนั้นเป็นอาวุธของใคร 
 
ดนตรีบางประเภทมีอำนาจบังคับผู้คน อย่างดนตรีในพิธีกรรม เช่น พิธีที่รัฐกำหนดว่า ดนตรีแบบนี้ขึ้นมาแล้วทุกคนต้องแสดงความเคารพ อย่างเพลงชาติ เพลงสรรเสรญพระบารมี ดนตรีบางประเภทกำหนดแนวการใช้อย่างตายตัว 
 
ดนตรีของผู้มีอำนาจอาจถูกใช้เป็นอาวุธได้ในความหมายที่ว่า ใช้บังคับ หรือมีอำนาจยังคับผูกติดกับดนตรีนั้น เช่น เพลงชาติ ที่แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องยืนเคารพเพลงชัดเจน แต่ก็คล้ายกับจะมีสภาพบังคับทางกายภาพ
 
แต่ดนตรีของผู้ด้อยอำนาจก็ถือว่าเป็นอาวุธของการต่อต้านอำนาจ ซึ่งมีตั้งแต่อาวุธของชนชั้น ของคนต่างรุ่น ของชาติพันธ์ุ ของเพศแตกต่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่า อาจไม่มีสภาพบังคับแบบดนตรีบางอย่างของผู้มีอำนาจ แต่อาจมีอำนาจเชิงการกระทำแบบวัจนภาษา (speech act) เหมอืนคำด่า ที่ทำร้ายจิตใจจนกระทบร่างกายได้ 
 
ส่วนใครจะรังเกียจดนตรีบางอย่างในเชิงกายภาพอย่างไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เช่น ไม่ชอบเสียงสูงของโอเปร่าเสียงเซอปราโน ไม่ชอบเสียงดังของเพลงร็อค ไม่ชอบความเร็วรัวๆ ของแรพ
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม