Skip to main content

เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์

.
เรียน อาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ที่ผมรู้จัก 
.
อาจารย์ครับ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อถามใจอาจารย์ว่า การยื่นขอประกันตัวของ “8 คณาจารย์” เป็นสิ่งเลวร้าย เสียหาย ผิดจรรยาบรรณในความเป็นครูบาอาจารย์อย่างไรครับ 
.
ก่อนอื่น ผมไม่เคยลืมและขอขอบคุณอาจารย์ในที่สาธารณะตรงนี้ ที่ในสมัยซึ่งอาจารย์เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 20 กว่าปีก่อนโน้น อาจารย์สนับสนุนให้ผมได้ทุนไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก และผมเชื่อว่าการที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันตอบรับผมเข้าศึกษา ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน
.
แต่ผมก็เชื่อว่า อาจารย์จะไม่ถือสาผมที่ผมไม่อาจเฉยเมยกับการที่อาจารย์ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงอุดมศึกษาฯ ในวันนี้ แสดงท่าทีคุกคามการกระทำตามสำนึกแห่งความเป็นครูบาอาจารย์ของ 8 คณาจารย์ 
.
อาจารย์เอนกครับ ผมไม่บังอาจเรียนอาจารย์ถึงสิทธิในการประกันตัวและสิทธิที่ต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 29 วรรคสอง ตามปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 11-1 และตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 เว้นเสียแต่ว่าอาจารย์จะอาจารย์เห็นเป็นอื่นไปจากสิทธิ์เหล่านั้นเสียแล้ว ซึ่งหากเป็นดังนั้น ผมก็เสียใจแทนมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่ประสิทธิ์ประสาทความรู้และมอบฐานะดุษฎีบัณฑิตแก่อาจารย์มา กลับไม่ได้มีส่วนทำให้อาจารย์สำเหนียกถึงหลักการเหล่านี้ 
.
ในเมื่อไม่มีกฎหมายข้อไหนห้ามไม่ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยใช้สิทธิ์ขอปล่อยตัวนักศึกษา และศาลเองก็ยอมรับสิทธิ์อันชอบธรรมนี้ ดังที่ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวนักศึกษาที่ต้องคดีการเมืองมาแล้วในการยื่นขอปล่อยตัวในวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา จากการขอปล่อยตัวด้วยการใช้ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นหลักประกัน ทำไมอาจารย์กลับเห็นว่าการขอให้ศาลปล่อยตัวนักศึกษาตามสิทธิจึงผิดจรรยาบรรณของความเป็นครูบาอาจารย์ล่ะครับ
.
แต่ที่ยิ่งกว่านั้น ผมขอถามไปที่หัวใจอาจารย์ตรงๆ ว่า สมควรแล้วหรือที่คนหนุ่มสาวที่แสดงออกทางการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ ด้วยความหวังดีต่อประเทศชาติและอนาคตของตนเองเหล่านี้ จะต้องถูกพรากสิทธิ์การปล่อยตัว สมควรแล้วหรือที่นักศึกษาเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่อาจารย์เองก็เป็นอดีตอาจารย์และอดีตรองอธิการบดี จะไม่ได้รับการปล่อยตัวในระหว่างการดำเนิคดีจนอาจจะทำให้พวกเขาเสียการเรียนถึงขนาดอาจจะทำให้อนาคตทางการศึกษาของพวกเขาถูกลิดรอนไป และสมควรแล้วหรือที่อาจารย์ผู้สอนจะนิ่งดูดายปล่อยให้นักศึกษาถูกกุมขังโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญและหลักสิทธิมนุษยชนสากล 
.
ผมอยากถามอาจารย์เอนกต่อด้วยว่า หากอาจารย์ยังคงดำรงตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ อาจารย์จะเลือกดูดายเมื่อลูกศิษย์ถูกดำเนินคดีในขณะนี้หรือเปล่า หากอาจารย์ยังเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ อาจารย์จะเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยไต่สวนจรรยาบรรณของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ยื่นศาลขอปล่อยตัวนักศึกษาในกรณีนี้หรือเปล่า
.
ท้ายที่สุดผมก็ยังหวังว่า การแสดงออกในฐานะรัฐมนตรีต่อ 8 คณาจารย์ในขณะนี้เป็นไปเพียงเพราะคราบไคลของการเป็นนักการเมืองที่อาจารย์แบกรับอยู่ ทั้งที่ในเบื้องลึกของหัวใจอาจารย์เองที่ก็เคยเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพและเคยเป็นครูบาอาจารย์มาก่อนแล้ว จะรู้สึกย้อนแย้งในตนเองว่า ท่าทีของอาจารย์เองที่ถูกเอ่ยอ้างถึงในขณะนี้ช่างขัดกับมโนธรรมสำนึกของความเป็นครูบาอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง 
.
ด้วยความเชื่อมั่นต่อมโนธรรมสำนึกของความเป็นครูบาอาจารย์
.
ยุกติ มุกดาวิจิตร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์