Skip to main content
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน)
 
คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอาวัฒนธรรมอาหารตนเองไปเป็นตัววัดอาหารคนอื่น
ข้อเขียนของเพจ อดีตกินได้ ล่าสุด (ติดตามอ่านที่นี่) ชี้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างตรงไปตรงมา เข้าประเด็นอย่างแรง
ข้อเขียนนั้นทำให้ผมคิดถึงเรื่องผัสสะที่ไกลไปกว่าเรื่องอาหารไปได้อีกมาก ด้วยการใช้มโนทัศน์ต่างๆ ข้างต้นนั้น ผมจึงอยากขยายความเพิ่มอีกสักเล็กน้อยว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ขนาดไหน
 
เคยมีนักวิชาการอาหารคนสำคัญของไทยเล่าถึงอาหารชุดหนึ่งในเวียดนาม ที่เวียดนามเองก็ไม่มีคำเรียกรวม แต่นักวิชาการท่านนี้เรียกอาหารกลุ่มนี้ว่า ขนมครก ด้วยความที่ต่างก็ปรุงสุกด้วยภาชนะปรุงอาหารที่เป็นถาดหลุมมีฝาปิดตั้งไฟ
 
แต่ถ้าไล่เรียงดูอาหารที่ปรุงด้วยภาชนะนี้ของเวียดนาม แต่ละจานล้วนแตกต่างกันอย่างยิ่งในวิธีกิน เครื่องปรุง มื้ออาหาร และความคาวความหวาน รวมทั้งการใช้ความร้อนที่อาหารบางจานก็นึ่งไม่ใช่กึ่งอบกึ่งทอด อาหารเหล่านี้จึงเทียบกันไม่ได้เลยกับขนมครกในความเข้าใจของชาวสยาม
การเปรียบเทียบอาหารในประเทศไทยเองแต่ต่างถิ่นกัน ซึ่งเรารู้กันอยู่ว่าไม่ได้มีเอกภาพทางวัฒนธรรม และไม่ได้มีเอกภาพทางภาษา รวมไปถึงว่ายังมีความหลากหลายของความคิดความอ่านความเชื่อและอำนาจทางการเมือง ก็ต้องระวังอย่างยิ่งเช่นกัน
 
หากเราเชื่อในการรักษาไว้ซึ่งความเฉพาะถิ่น เชื่อในสุนทรียะของความแตกต่าง เชื่อในคุณค่าของการเรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่าง เราก็ไม่ควรละเลยการเข้าใจประเด็นอัตวิสัยของผัสสะ (sensory subjectivity) อย่างลึกซึ้ง ทั้งในเชิงปรากฏการณ์วิทยาของการลิ้มรส และการเมืองของผัสสะ
พ้นไปจากเรื่องอาหาร 
 
ประเด็นเดียวกันนี่โยงไปได้ถึงเรื่องการมอง อย่านำเกณฑ์ความงามตามจริตของเราไปตัดสินคนอื่น (ว่าชาติอื่นว่าแต่งตัวลิเก เท่ากับดูถูกทั้งลิเกและชาติอื่น) อย่านำเกณฑ์การฟังของตนเองไปตัดสินคนอื่น (เพลงแรปฟังไม่รู้เรื่อง หนวกหู) อย่านำเกณฑ์การดม รสชาติ การสัมผัส ไปตัดสินคนอื่น อย่าเอาวิธีจัดความสัมพันธ์ผัสสะของเราไปวัดคนอื่น อย่าติดกับดัก 5 ผัสสะที่เรารับอิทธิพลมาจากชาวกรีกโบราณ
 
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ทำงานด้านวัฒนธรรม หากไม่ต้องการผลิตซ้ำอาณานิคมทางผัสสะ ก็ไม่ควรใช้ระบบการจัดประเภทผัสสะของเราเอง (sensory categories) ไปจัดประเภทผัสสะของผู้อื่น ควรตระหนักและระแวดระวังการเอาผัสสะตนเองเป็นศูนย์กลาง (sensory ethnocentrism) ด้วยการเข้าใจผัสสะอื่นๆ ผ่านฐานความเข้าใจผัสสะตนเองไปเสียทั้งหมด ระวังการใช้อคติทางผัสสะ (sensory bias) ในการเข้าใจจัดการผัสสะคนอื่น
 
หากไม่ตระหนักถึงปัญหาทั้งหมดนั้น ก็อาจนำมาซึ่งหรือแฝงอยู่ด้วยโครงสร้างอำนาจแบบมีกรุงเพทฯ สยาม ภาคกลางเป็นศูนย์กลางอำนาจ และการสถาปนากรุงเทพฯ สยาม ภาคกลางเป็นเจ้าอาณานิคมทางผัสสะ (sensory colonization)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์