Skip to main content

อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง

เสียงคือคลื่นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน (อาจถี่สูงมากหรือต่ำมากจนเกือบไม่ได้ยินแต่ก็ยังอาจมีผลต่อกายภาพของหู) แต่เสียงที่เป็นดนตรี คือความถี่ทางวัฒนธรรม
 
ดนตรีคือเสียงที่จัดระบบให้มีความหมายในสังคม คลื่นความถี่เฉยๆ อาจไม่ได้จัดระบบจนถือกันว่าเป็นดนตรี เหมือนเราต้องแยกเสียงเฉยๆ ออกจากเสียงที่เป็นภาษา หรือไกลกว่านั้นคือ แยกวัตถุที่เอามากองตรงหน้าแล้วเอาใส่ปาก ออกจากอาหารที่เป็นวัตถุสภาวะที่ถูกจัดระบบให้มีความหมาย
ฉะนั้นความถี่ที่ถูกใช้เป็นอาวุธ อย่างที่รัฐไทยก็มีเครื่องมือนี้ เป็นคลื่นเสียงรบกวนในเชิงกายภาพ ต่างกับดนตรีที่ดนตรีมีลักษณะเชิงสัญญะ คือมีความหมาย
 
ดังนั้น เวลาบอกว่าดนตรีเป็นอาวุธ คือเป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่าในเชิงกายภาพ ดนตรีที่เป็นอาวุธอาจเป็นดนตรีที่มีเนื้อเพลงหรือไม่มีก็ได้ 
โดยทั่วไป ดนตรี (music) ที่มีเนื้อร้อง (lyric) เป็นเพลง (song) ดนตรีกว้างกว่าเพลง ดนตรีบางประเภทไม่เป็นเพลงในความหมายของการไม่มีเนื้อร้อง
ทีนี้ ดนตรีเป็นอาวุธได้อย่างไรบ้าง อันนั้นขึ้นกับสังคมจัดระบบดนตรีอย่างไร แล้วดนตรีนั้นเป็นอาวุธของใคร 
 
ดนตรีบางประเภทมีอำนาจบังคับผู้คน อย่างดนตรีในพิธีกรรม เช่น พิธีที่รัฐกำหนดว่า ดนตรีแบบนี้ขึ้นมาแล้วทุกคนต้องแสดงความเคารพ อย่างเพลงชาติ เพลงสรรเสรญพระบารมี ดนตรีบางประเภทกำหนดแนวการใช้อย่างตายตัว 
 
ดนตรีของผู้มีอำนาจอาจถูกใช้เป็นอาวุธได้ในความหมายที่ว่า ใช้บังคับ หรือมีอำนาจยังคับผูกติดกับดนตรีนั้น เช่น เพลงชาติ ที่แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องยืนเคารพเพลงชัดเจน แต่ก็คล้ายกับจะมีสภาพบังคับทางกายภาพ
 
แต่ดนตรีของผู้ด้อยอำนาจก็ถือว่าเป็นอาวุธของการต่อต้านอำนาจ ซึ่งมีตั้งแต่อาวุธของชนชั้น ของคนต่างรุ่น ของชาติพันธ์ุ ของเพศแตกต่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่า อาจไม่มีสภาพบังคับแบบดนตรีบางอย่างของผู้มีอำนาจ แต่อาจมีอำนาจเชิงการกระทำแบบวัจนภาษา (speech act) เหมอืนคำด่า ที่ทำร้ายจิตใจจนกระทบร่างกายได้ 
 
ส่วนใครจะรังเกียจดนตรีบางอย่างในเชิงกายภาพอย่างไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เช่น ไม่ชอบเสียงสูงของโอเปร่าเสียงเซอปราโน ไม่ชอบเสียงดังของเพลงร็อค ไม่ชอบความเร็วรัวๆ ของแรพ
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว