Skip to main content

อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง

เสียงคือคลื่นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน (อาจถี่สูงมากหรือต่ำมากจนเกือบไม่ได้ยินแต่ก็ยังอาจมีผลต่อกายภาพของหู) แต่เสียงที่เป็นดนตรี คือความถี่ทางวัฒนธรรม
 
ดนตรีคือเสียงที่จัดระบบให้มีความหมายในสังคม คลื่นความถี่เฉยๆ อาจไม่ได้จัดระบบจนถือกันว่าเป็นดนตรี เหมือนเราต้องแยกเสียงเฉยๆ ออกจากเสียงที่เป็นภาษา หรือไกลกว่านั้นคือ แยกวัตถุที่เอามากองตรงหน้าแล้วเอาใส่ปาก ออกจากอาหารที่เป็นวัตถุสภาวะที่ถูกจัดระบบให้มีความหมาย
ฉะนั้นความถี่ที่ถูกใช้เป็นอาวุธ อย่างที่รัฐไทยก็มีเครื่องมือนี้ เป็นคลื่นเสียงรบกวนในเชิงกายภาพ ต่างกับดนตรีที่ดนตรีมีลักษณะเชิงสัญญะ คือมีความหมาย
 
ดังนั้น เวลาบอกว่าดนตรีเป็นอาวุธ คือเป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่าในเชิงกายภาพ ดนตรีที่เป็นอาวุธอาจเป็นดนตรีที่มีเนื้อเพลงหรือไม่มีก็ได้ 
โดยทั่วไป ดนตรี (music) ที่มีเนื้อร้อง (lyric) เป็นเพลง (song) ดนตรีกว้างกว่าเพลง ดนตรีบางประเภทไม่เป็นเพลงในความหมายของการไม่มีเนื้อร้อง
ทีนี้ ดนตรีเป็นอาวุธได้อย่างไรบ้าง อันนั้นขึ้นกับสังคมจัดระบบดนตรีอย่างไร แล้วดนตรีนั้นเป็นอาวุธของใคร 
 
ดนตรีบางประเภทมีอำนาจบังคับผู้คน อย่างดนตรีในพิธีกรรม เช่น พิธีที่รัฐกำหนดว่า ดนตรีแบบนี้ขึ้นมาแล้วทุกคนต้องแสดงความเคารพ อย่างเพลงชาติ เพลงสรรเสรญพระบารมี ดนตรีบางประเภทกำหนดแนวการใช้อย่างตายตัว 
 
ดนตรีของผู้มีอำนาจอาจถูกใช้เป็นอาวุธได้ในความหมายที่ว่า ใช้บังคับ หรือมีอำนาจยังคับผูกติดกับดนตรีนั้น เช่น เพลงชาติ ที่แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องยืนเคารพเพลงชัดเจน แต่ก็คล้ายกับจะมีสภาพบังคับทางกายภาพ
 
แต่ดนตรีของผู้ด้อยอำนาจก็ถือว่าเป็นอาวุธของการต่อต้านอำนาจ ซึ่งมีตั้งแต่อาวุธของชนชั้น ของคนต่างรุ่น ของชาติพันธ์ุ ของเพศแตกต่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่า อาจไม่มีสภาพบังคับแบบดนตรีบางอย่างของผู้มีอำนาจ แต่อาจมีอำนาจเชิงการกระทำแบบวัจนภาษา (speech act) เหมอืนคำด่า ที่ทำร้ายจิตใจจนกระทบร่างกายได้ 
 
ส่วนใครจะรังเกียจดนตรีบางอย่างในเชิงกายภาพอย่างไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เช่น ไม่ชอบเสียงสูงของโอเปร่าเสียงเซอปราโน ไม่ชอบเสียงดังของเพลงร็อค ไม่ชอบความเร็วรัวๆ ของแรพ
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้