Skip to main content

คนรุ่นใหม่ครับ... 

ข้อแรก ในยุคของการต่อสู้ของพวกคุณ ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งคือ คุณมีสื่อมวลชนของคุณเอง คือ social media คนรุ่นคุณคือคนที่รู้พลังของมันดีที่สุด คุณรู้ดีว่าลักษณะพิเศษของสื่อใหม่นี้คือการที่คุณสร้างการรวมตัวทางไกลได้ คุณสร้างความเคลื่อนไหวที่เผด็จการไม่สามารถเด็ดหัวทิ้งง่านๆ ได้ เพราะมันเป็นการเคลื่อนไหวแบบ "รากฝอย" (ถ้าอ่านหนังสือบ้างก็คงรู้นะว่าที่มามันมาอย่างไร) การเคลื่อนไหวของคนรุ่นคุณมันจึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ป่วนเผด็จการได้ดีกว่าคนรุ่นเก่าด้วยซ้ำ

 

ข้อสอง แต่คุณอย่าไปอ่อนไหวกับสื่อใหม่นี้มาก คุณอย่าไปหล่อเลี้ยงตัวตนคุณด้วยสื่อนี้เลย คุณอย่าไปคิดว่าการเป็น influential persons ต้องได้มาด้วยการเป็น celebrity สิ คุณอยากทำแค่ดังชั่วช้ามคืนแล้วดับไปอีกนานเหรอ คุณทำอะไรได้ไกลและลึกกว่านั้นเยอะ ขอให้คุณคิดถึงขบวนการระยะยาว ค่อยๆ สู้ไป ถ้าริจะทำงานใหญ่แล้วก็อย่าอ่อนแอสิครับ ขออย่าได้คอยออดอ้อนมวลชนด้วยโซเชียลมีเดียจนเสียขบวนการสิครับ คิดถึงคนอื่นและโลกที่คุณคาดหวังระยะยาวให้มากเข้าไว้ คุณไม่ได้อยากจะมีชีวิตอยู่แค่ชั่วดราม่าที่ปัจจุบันนี้ไม่เกินสัปดาห์เดียวกับหมดอายุไขแล้วไม่ใช่เหรอ  

 

ข้อสาม เราต่างรู้กันดีกว่าเราต่อสู้เพื่ออนาคตของเราเอง และในบางจุด เราปะทะกันบ้าง แต่ถึงจุดของการเคลื่อนไหวที่ต้องการขบวนการขนาดใหญ่ เราต้องยอมอ่อนข้อกับการสร้างแนวร่วมขยายเครือข่ายบ้าง อย่าจุกจิกกับเรื่องเล็กน้อยมาก อย่าทำตัวเป็นไม้บรรทัดกับทุกสิ่ง คุณดูสิ คนที่ทำตัวเป็นไม้บรรทัดทุกสิ่งน่ะ ทุกวันนี้เขาสร้างขบวนการอะไรได้ เขาเองยังแทบเอาตัวไม่รอด ถ้าจะสู้กับอะไรใหญ่ๆ ก็ขอให้รู้จักฟังบ้าง และบางครั้งก็ต้องกล้ำกลืนเก็บหลักการอันแข็งแกร่งของตัวเองไว้ในใจบ้าง อย่างน้อยก็ในระยะที่เรายังอหังการที่อาจจะเป็นไปอย่างผิดๆ ว่าหลักการอันแข็งแกร่งของเรายังไม่มีใครหยั่งรู้กี่มากนัก

 

ข้อสี่ พวกคุณควรประเมินสถานการณ์ของตนเอง สร้างประวัติศาสตร์ของตนเอง การเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์ไม่มีทางเหมือนกัน โลกปัจจุบันนี้แค่ 10 ปีก็จำกันไม่ได้แล้วว่า 10 ปีที่แล้วเกิดอะไรขึ้น เพราะเงื่อนไขไม่เคยเหมือนกัน แต่แน่นอน เราสรุปบทเรียนจากที่อื่นหรือยุคอื่นมาเพื่อการเคลื่อนไหวของเราเองได้ แต่อย่ายึดติดข้อสรุปอย่างตายตัว เรื่องแบบนี้มันไม่ต่างจากการทำงานทางวิชาการ หรือการทำงานสร้างสรรค์ต่างๆ เราต้องรู้แนวทางทั่วไปพร้อมๆ กับรู้ข้อจำกัดเฉพาะตัวของเรา ต้องคิดว่าเงื่อนไขเฉพาะของเราคืออะไร แล้วจะเอาบทเรียนจากคนในอดีต จากคนที่อื่น มาต่อยอดพัฒนาการเคลื่อนไหวของเราเองอย่างไร

 

คนรุ่นเก่าครับ...  

 

ข้อแรก ขอทีเถอะครับ อย่าถามซ้ำซากว่า "คนรุ่นใหม่ทำอะไร" "คนรุ่นใหม่หายไปไหนในการต่อสู้ทางการเมือง" คนทุกรุ่นเขามีแนวทางการดิ้นรนของเขาเอง คนแต่ละรุ่นมีการเมืองในขอบเขตของเขาเอง พวกคุณคงตกยุคแล้วที่ไม่รู้ว่าการเมืองมันมีมากกว่าที่คุณเข้าใจ การเมืองทางการมันเป็นแค่การเมืองเดียวที่คนรุ่นคุณคาดหวัง  

 

ถ้าคุณก้าวผ่านยุคการเมืองของ "ซ้ายใหม่" มา คุณน่าจะรู้ว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1970 มาแล้วที่การเมืองมันกระจัดกระจายและเป็นเรื่องระยะยาว คุณจะคาดหวังว่าคนรุ่นใหม่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันในแบบคนรุ่นคุณทำน่ะเหรอ นั่นแสดงว่าคุณไม่เข้าใจว่าการเมืองสมัยนี้มันซับซ้อนกว่ายุคของคุณมากแล้วล่ะ ไม่มีการโค่นล้ม การปฏิวัติใด ที่นำไปสู่สังคมที่ดีกว่าในทุกด้านอย่างแท้จริงอีกต่อไป ถ้าคุณยังคาดหวังให้คนรุ่นใหม่ลุกฮือต่อสู้ในแนวทางที่คุณต้องการ แสดงว่าคุณล้มเหลวในการประเมินการเมืองปัจจุบัน

 

ข้อสอง แทนที่คุณจะถามคนรุ่นใหม่ คุณควรจะถามตัวเองว่า "แล้วคุณล่ะทำอะไรบ้าง" "แล้วพวกคุณหดหัวไปอยู่ที่ไหนล่ะ" สำหรับคนรุ่นเก่าที่คอยฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่น่ะ พวกคุณเป็นคนไม่รับผิดชอบต่อสังคมที่คุณอยู่ไม่น้อยไปกว่าคนรุ่นใหม่ที่เฉยเมยหรอก  

 

ทุกวันนี้คนเราไม่ตายกันง่ายๆ สักที พวกคุณคนรุ่นเก่าจะเป็นประชากรหลักของสังคมชราภาพ อนาคตอันใกล้และอีกไกลมันไม่ใช่อนาคตของคนรุ่นใหม่เท่านั้นหรอก แต่มันจะมันอนาคตของพวกเราที่กำลังก้าวสู่ภาวะชรานี่แหละ ถ้าคุณไม่ออกมาสู้ด้วยตนเอง ก็อย่าผลักภาระเสี่ยงให้กับคนรุ่นใหม่ ขอร้องว่า ถ้าคุณไม่เรียกร้องกับตนเองเสียก่อน ก็ไม่ต้องไปคาดหวังคนรุ่นใหม่

 

ไม่ว่าจะรุ่นไหน ถ้าไม่ร่วมกันสู้ เราก็จะต้องอยู่ใต้เงื่อนไขกะลาแคบๆ กันต่อไป

 

ด้วยรักและนับถือ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์