Skip to main content

อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง

เสียงคือคลื่นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน (อาจถี่สูงมากหรือต่ำมากจนเกือบไม่ได้ยินแต่ก็ยังอาจมีผลต่อกายภาพของหู) แต่เสียงที่เป็นดนตรี คือความถี่ทางวัฒนธรรม
 
ดนตรีคือเสียงที่จัดระบบให้มีความหมายในสังคม คลื่นความถี่เฉยๆ อาจไม่ได้จัดระบบจนถือกันว่าเป็นดนตรี เหมือนเราต้องแยกเสียงเฉยๆ ออกจากเสียงที่เป็นภาษา หรือไกลกว่านั้นคือ แยกวัตถุที่เอามากองตรงหน้าแล้วเอาใส่ปาก ออกจากอาหารที่เป็นวัตถุสภาวะที่ถูกจัดระบบให้มีความหมาย
ฉะนั้นความถี่ที่ถูกใช้เป็นอาวุธ อย่างที่รัฐไทยก็มีเครื่องมือนี้ เป็นคลื่นเสียงรบกวนในเชิงกายภาพ ต่างกับดนตรีที่ดนตรีมีลักษณะเชิงสัญญะ คือมีความหมาย
 
ดังนั้น เวลาบอกว่าดนตรีเป็นอาวุธ คือเป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่าในเชิงกายภาพ ดนตรีที่เป็นอาวุธอาจเป็นดนตรีที่มีเนื้อเพลงหรือไม่มีก็ได้ 
โดยทั่วไป ดนตรี (music) ที่มีเนื้อร้อง (lyric) เป็นเพลง (song) ดนตรีกว้างกว่าเพลง ดนตรีบางประเภทไม่เป็นเพลงในความหมายของการไม่มีเนื้อร้อง
ทีนี้ ดนตรีเป็นอาวุธได้อย่างไรบ้าง อันนั้นขึ้นกับสังคมจัดระบบดนตรีอย่างไร แล้วดนตรีนั้นเป็นอาวุธของใคร 
 
ดนตรีบางประเภทมีอำนาจบังคับผู้คน อย่างดนตรีในพิธีกรรม เช่น พิธีที่รัฐกำหนดว่า ดนตรีแบบนี้ขึ้นมาแล้วทุกคนต้องแสดงความเคารพ อย่างเพลงชาติ เพลงสรรเสรญพระบารมี ดนตรีบางประเภทกำหนดแนวการใช้อย่างตายตัว 
 
ดนตรีของผู้มีอำนาจอาจถูกใช้เป็นอาวุธได้ในความหมายที่ว่า ใช้บังคับ หรือมีอำนาจยังคับผูกติดกับดนตรีนั้น เช่น เพลงชาติ ที่แม้ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องยืนเคารพเพลงชัดเจน แต่ก็คล้ายกับจะมีสภาพบังคับทางกายภาพ
 
แต่ดนตรีของผู้ด้อยอำนาจก็ถือว่าเป็นอาวุธของการต่อต้านอำนาจ ซึ่งมีตั้งแต่อาวุธของชนชั้น ของคนต่างรุ่น ของชาติพันธ์ุ ของเพศแตกต่าง แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นอาวุธในเชิงสัญญะมากกว่า อาจไม่มีสภาพบังคับแบบดนตรีบางอย่างของผู้มีอำนาจ แต่อาจมีอำนาจเชิงการกระทำแบบวัจนภาษา (speech act) เหมอืนคำด่า ที่ทำร้ายจิตใจจนกระทบร่างกายได้ 
 
ส่วนใครจะรังเกียจดนตรีบางอย่างในเชิงกายภาพอย่างไรนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เช่น ไม่ชอบเสียงสูงของโอเปร่าเสียงเซอปราโน ไม่ชอบเสียงดังของเพลงร็อค ไม่ชอบความเร็วรัวๆ ของแรพ
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ฮานอยเดือนตุลาคมเม็ดฝนเริ่มท้ิงช่วง บางวันฝนตกพร้อมอากาศเย็นๆ เดือนสิบมีวันสำคัญคือ Tết Trung thu คนเวียดนามปัจจุบันบางทีเรียกว่า "วันปีใหม่ของเด็กๆ" คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเดือนแปดจันทรคติ ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ที่เพิ่งผ่านไปนั่นเอง แต่ชาวเวียดนามเรียกตามฤดู ว่าปีใหม่กลางฤดูใบไม้ร่วง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยุกติ มุกดาวิจิตร  
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 สุนทรียศาสตร์และการเมืองของสิ่งไร้รสนิยม (aesthetics and politics of kitsch)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 หากจำเป็นต้องหักหาญมิตรภาพกัน ก็ขอให้แน่ใจว่ามิตรสหายเราได้ละเมิดหลักการใหญ่ๆ ที่มิตรภาพไม่ควรได้รับการปลอบประโลมโอบอุ้มกันอีกต่อไป แต่หากเป็นเรื่องหยุมหยิมเกินไป ก็โปรดอย่าเปิดแนวรบจิกกัดมิตรสหายที่แทบไม่มีที่ยืนอยู่บนผืนหนังเดียวกันไปเสียทุกอนูความหมายเลยครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  บอกยากเหมือนกันว่าสุราทำหน้าที่อะไร แต่ผมเลือกจะเชื่อว่า มันถอดหน้ากากคน มันลดอัตตา มันทำให้คนหันหน้าเข้าหากัน แต่นี่คงต้องอยู่ในบริบทของการดื่ม ในสังคมที่มีระเบียบเข้มงวดในการด่ืมสุรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทต่อไป เมื่อนักมานุษยวิทยามานั่งศึกษาชุมชนเกรียนออนไลน์ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดิมทีนักมานุษยวิทยาไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเอง แต่อาศัยข้อมูลจากนักชาติพันธุ์นิพนธ์ ที่ส่งข้อมูลจากสังคมห่างไกลทุกมุมโลก มาให้นักมานุษยวิทยา ณ ศูนย์กลางอำนาจของโลกวิเคราะห์ สร้างทฤษฎี