Skip to main content

 



ผมเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยร่วมเคลื่อนไหวในคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) เพื่่อนๆ คงได้ข่าว ครก.112 บ้างนะครับ ผมอยากส่งจดหมายแสดงความเห็นใจและให้กำลังใจเพื่อนๆ เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม และก่อกรรมทำบาปกับประชาชนมาเป็นจำนวนมากแล้ว

แม้ว่าผมจะไม่ได้ลงแรงมากเท่ากับคนอื่นๆ แต่สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการรณรงค์กับครก.ในระยะ 112 วันก็มากมาย ที่สำคัญได้แก่

(หนึ่ง) ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ยุติธรรมกับผู้ต้องโทษในคดีนี้ นับตั้งแต่การกล่าวโทษว่าใครผิด ยิ่งอุดมการณ์เบื้องหลังกฎหมายมาตรานี้ยิ่งเลวร้าย ถึงขนาดบิดเบือนหลักสากลของกฎหมายสมัยใหม่ ที่จะต้องถือว่าผู้ต้องหาไม่ผิดจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าผิด

นอกจากนั้น ผู้ต้องหาคดีนี้ในรายที่ยากจน เป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคมในประเด็นที่ล่อแหลม เป็นคนไม่มีฐานะทางสังคม ก็มักไม่ได้รับการให้ประกันตัว เหมือนไม่เป็นคนเท่าเทียมกับคนอื่นๆ

ปัญหาของ ม.112 ยังมีอีกมากมายจนอาจอภิปรายกันได้เป็นวันๆ แต่ข้อเลวร้ายที่อยากเอ่ยถึงอีกประการหนึ่งคือ ม.112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ใช้กลั่นแกล้งส่วนบุคคล และเลยเถิดไปถึงใช้เป็นข้ออ้างในการสังหารประชาชนกลางเมืองหลวง ดังที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553

(สอง) แต่สังคมก็ไม่ได้หูหนวกตาบอดต่อปัญหาดังกล่าว ทำให้การรณรงค์ของครก.ไม่ได้มีเพียงนักกิจกรรมทางสังคม นักเขียน และนักวิชาการ แต่ยังมีประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจ นั่นแสดงว่าประชาชนจำนวนมากเห็นว่ากฎหมายนี้ไม่เป็นธรรม

จากการไปสัญจรในเวทีต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ผมเห็นว่าการตื่นตัวที่จะเรียนรู้ถึงปัญหา ม.112 มีมากเกินกว่าที่เคยมีการหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาอภิปรายในที่สาธารณะในอดีต 

ที่สำคัญคือ ความตื่นตัวนี้ไม่ได้แบ่งแยกสีเสื้อ มีทั้งคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลือง และคนเสื้อหลากสีที่เห็นปัญหานี้ ความตื่นตัวไม่ได้จำกัดเฉพาะคนรุ่นผู้ใหญ่ที่ตื่นตัวทางการเมือง แต่ยังมีนิสิต นักศึกษาจำนวนมากที่เข้าใจปัญหานี้ จึงกล่าวได้ว่า สังคมทั้งสังคมกำลังเฝ้าติดตามปัญหานี้อยู่

(สาม) คงมีแต่นักการเมืองและชนชั้นนำที่กุมอำนาจอยู่ ที่ไม่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นปัญหา ผมวิเคราะห์เอาเองว่า พวกเขากลัวว่าการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 112 จะทำให้พวกเขาสูญเสียอำนาจ มากกว่าที่จะเป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่พวกเขากล่าวอ้าง

คงมีก็แต่องค์กรอิสระที่ไม่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมเพียงพอ ที่จะสามารถแปลงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา ให้เป็นความรับผิดชอบต่อหน้าที่ขององค์กรที่ตนเองทำงานรับเงินเดือนอยู่ได้ จึงไม่เห็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ ม.112

เพราะฉะนั้น แม้ผู้มีอำนาจในสังคมนี้จะยังหน่วงรั้งการเปลี่ยนแปลงอยู่ แต่คนจำนวนมากในสังคมกำลังเห็นปัญหาของม.112 นั่นแสดงด้วยว่า คนจำนวนมากเห็นอกเห็นใจเพื่อนๆ ที่ต้องขังในนามนักโทษ 112 

พวกเขาไม่ใช่ญาติพี่น้องของเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ พวกเขาไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับเพื่อนๆ ที่ต้องขังอยู่ แต่พวกเขาร่วมรณรงค์อย่างแข็งขัน และร่วมลงชื่อจำนวนมหาศาลถึงเกือบ 4 หมื่นรายชื่อ ทั้งๆ ที่กระแสต่อต้านจากกลุ่มที่เสียประโยชน์จากการแก้ไข ม.112 รุนแรงยิ่งนัก

แม้ว่าวันนี้กฎหมายจะยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลง แต่สังคมย่อมก้าวหน้ากว่ากฎหมายที่ถูกบัญญัติไว้ และในท้ายที่สุด พลังของสังคมจะต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายจนได้

ขอให้นักโทษ 112 ได้รับกำลังใจจากกระแสสังคมที่ก้าวหน้าและนับวันจะทบทวีการตระหนักต่อปัญหาของม.112 มากย่ิงขึ้นนี้ 

พร้อมขอฝากไปยังผู้มีอำนาจว่า หากพวกคุณใช้ความรู้สึกสำเหนียกถึงความเป็นมนุษย์ในการบริหารประเทศมากกว่านี้ พวกคุณก็จะเข้าใจปัญหาสิทธิมนุษยชนได้ ในระดับเดียวกับที่ปุถุชนในสังคมไทยเขาเข้าใจกัน


ยุกติ มุกดาวิจิตร

 

ที่มาภาพ: รายงาน: นักโทษ112 ชวนส่ง 'อีเมล์หยดน้ำ'– โปสการ์ดฝีมือ‘หลานอากง

 

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์