Skip to main content

ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้

1. การผลักภาระให้ปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลผู้รับผิดในเหตุ #กราดยิงโคราช ก็คือจ่าสิบเอกคนนั้นคนเดียว เขาถูกผลักออกจากการเป็นทหาร แล้วถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร โดยพฤติกรรมแล้วเขาเป็นอาชญากรอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่พฤติกรรมเดียวกันนี้ การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยทหารด้วยอาวุธสงครามบางครั้ง (เช่นในกรณีพฤษภาคม 2553) ก็ไม่ได้ถูก ผบทบ. คนเดียวกันนี้ตีตราว่าเป็นอาชญากรรมเสมอไป คำพูดที่ว่า “วินาที ที่ผู้ก่อเหตุลั่นไกสังหารประชาชนนั้น เขาคืออาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว” จึงไม่ได้พูดออกมาจากหลักการใดๆ แต่พูดออกมาจากการพยายามปัดความรับผิดชอบเป็นกรณีๆ ไปเท่านั้น

2. การรับผิดแต่เพียงลำพัง ผบทบ. กล่าวในลักษณะของการรับภาระแต่เพียงลำพังว่า “อย่าด่าว่ากองทัพบก อย่าว่าทหาร ถ้าจะด่า จะตำหนิ ท่านมาด่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผมน้อมรับคำตำหนิ" นั่นคือการยอมรับผิดแต่เพียงเขาผู้เดียว ไม่ยอมรับว่าความผิดพลาดนี้ ทั้งกองทัพต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะการที่เขามาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ ไม่ใช่มาด้วยตัวเขาเองคนเดียว ต้องมีกลไกกองทัพทั้งระบบรองรับเขาทั้ง การที่กองทัพให้คนอย่างเขามาเป็นผู้บังคับบัญชา จะปฏิเสธความรับผิดชอบในระดับกองทัพได้อย่างไร

3. การรับผิดแต่ไม่รับโทษ การกล่าวยอมรับผิด ยอมให้ประชาชนกล่าวตำหนิ ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบจะหมดสิ้นไปเพียงเมื่อร้องไห้แสดงความเสียใจแล้วกล่าวโทษตนเองเช่นนี้ ในกระบวนการของระบบการบริหารราชการ หรือการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบ ไต่สวนความผิด และอาจจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยหากความบกพร่องของผู้บังคับบัญชามีส่วนต่อความบกพร่องจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียของประชาชนและเกิดความสะเทือนใจไปทั่วอย่างกรณีนี้ แต่ก็ไม่เห็นว่า ผบทบ. จะเอ่ยถึงกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด

4. การไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาของระบบ การรับผิดด้วยตนเอง การผลักความผิดให้ผู้ก่อความรุนแรง เพียงเท่านั้น ยังนับว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่ระบบของกองทัพทั้งระบบจะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน การปกป้องกองทัพให้พ้นจากความรับผิดชอบ เท่ากับเป็นความไม่รับผิดชอบในระดับร้ายแรง เพราะหากผู้บังคับบัญชาสูงสูดของกองทัพเองยังไม่ยอมรับว่า ความบกพร่องในลักษณะนี้เป็นความบกพร่องที่เกินไปกว่าเพียงปัจเจกบุคคลคนใด หรือแม้แต่เพียงตัว ผบทบ. เองคนเดียวจะแบกรับภาระได้ หากแต่เป็นความบกพร่องของทั้งระบบ ก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศชาติ ประชาชนจะฝากความรับผิดชอบให้แก่กองทัพได้อย่างไร 

ประชาชนชาวไทยรักกองทัพ รักทหาร และต้องการความเชื่อมั่นจากกองทัพ จากทหาร ไม่น้อยไปกว่า ผบทบ. และด้วยความรัก และความเชื่อมั่นนั้น ประชาชนชาวไทยต้องการให้มีกลไกการสอบสวนเหตุนี้อย่างโปร่งใส มีขั้นมีตอน และเป็นกลางคือมีผู้แทนของประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบนี้ด้วย 

หากคำพูดและน้ำตาของ ผบทบ. ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเยียวยาความสูญเสียใดๆ ได้ แล้วคำพูดและนำ้ตาของ ผบทบ. จะสามารถเยียวยาปัญหาของกองทัพไทยได้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสำคัญ: sensory subjectivity, sensory categories, sensory bias, sensory ethnocentrism, sensory colonization (อธิบายไว้ท้ายข้อเขียน) คนทำเรื่องอาหารข้ามถิ่น ไม่ต่างจากการทำงานทางมานุษยวิทยา ที่ต้องตระหนักถึงการ ไม่นำเอา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้าคุณไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ได้แล้ว ก็โปรดอย่าถ่วงรั้งการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่เลย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์