Skip to main content

การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น

เมื่อวาน กลุ่ม #นักเรียนเลว ได้นัด #รัฐมนตรีเลว (เพราะไม่ยอม #ไปต่อแถว  แต่ได้ดีเพราะเป่านกหวีดล้มการเลือกตั้งจนปูทางสู่การรัฐประหารปี 2557) ให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รัฐมนตรี (รมต.)​โอ้เอ้อยู่นานกว่าจะออกมาพบนักเรียนที่อุตส่าห์มีตัวแทนเดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาเล่าปัญหาและรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรี ในที่สุดรัฐมนตรีก็ออกมา  
 
ในบรรดาคำถามและข้อเท็จจริงหลายประการที่นักเรียนซักไซ้เอาจากรัฐมนตรี นอกจากรัฐมนตรีจะมีข้อมูลน้อยกว่านักเรียนแล้ว ความเสื่อมของรัฐมนตรีคนนี้อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความวิบัติในตรรกะของเขา ที่จับได้พอสังเขปมีดังนี้
 
ข้อแรก ต่อคำถามเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน นักเรียนแจ้งว่ามีกรณีนักเรียนถูกคุกคามจากการแสดงออกทางการเมือง 109 โรงเรียน รมต. บอกว่า ครูมี 5 แสนคน มีกรณีคุกคามเพียงแค่ส่วนน้อยซึ่งเขากำลังจัดการตามวินัยอยู่  
 
ประเด็นคือ หากประเทศไทยทั้งประเทศมีโจร 10,000 คน แล้วประชากรทั้งหมดมี 70 ล้านคน คุณจะบอกว่า มีคนอีกตั้งหลายสิบล้านคนที่ไม่เป็นโจร ขอให้วางใจ อย่างนั้นเหรอ ประเด็นคือ แค่มีโจรเพียงรายเดียวก็ต้องไม่ได้แล้วสิ นี่คือความไม่เด็ดขาดของ รมต. และคือวิธีการเข้าใจปัญหาแบบใช้คณิตศาสตร์อย่างวิบัติ ต่อปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน แม้เกิดขึ้นรายสองราย ก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จะเอาตัวเลขว่าครูส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ดีอยู่มาอ้างกลบเกลื่อนปัญหาแบบนี้ใช้ไม่ได้
 
ข้อสอง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงในโรงเรียน รมต. บอกว่านักเรียนสามารถแจ้งมาได้ เปิดช่องทางให้แล้ว แล้วยังบอกว่า พวกนักเรียนก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย  
 
ปัญหาคือ ครูมีทั้งอำนาจในการให้คุณให้โทษนักเรียน และมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่านักเรียน แทนที่ รมต. จะพยายามหาวิธีให้นักเรียนที่แจ้งเหตุความรุนแรงได้รับความปลอดภัย และกล้าที่จะนำเสนอปัญหา หรือลงพื้นที่ไปไต่สวนอย่างจริงจัง แต่ รมต. กลับมาเรียกร้องให้นักเรียนให้ความเป็นธรรมกับครูที่ถูกกล่าวหา แทนที่พวกเขาจะต้องการได้รับความยุติธรรม เขาก็จะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยว่าหากแจ้งแล้ว เหยื่อการถูกทำร้ายเหล่านี้ก็อาจถูกทำร้ายซ้ำซ้อนจากครูที่กระทำรุนแรงต่อพวกเขายิ่งขึ้นเข้าไปอีก
 
ข้อสาม เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียน รมต. อ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนมีความปลอดภัย ผู้คนพบเห็นจะปกป้อง ไม่ทำร้ายนักเรียน  
 
ข้อนี้คือความเลอะเทอะขั้นสูงสุดของความคิดที่ รมต. แสดงออกมาเมื่อวาน นักเรียนแย้งทันทีว่าเครื่องแบบไม่ใช่ชุดเกราะ ไม่สามารถปกป้องภัยอะไรได้ เพราะแม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนใส่เครื่องแบบตลอดเวลายังถูกครูทำร้าย ครูใช้คามรุนแรงทั้งทางกายและวาจา ไม่เว้นแม้แต่จากระบบอาวุโส รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียน ที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ผ่านการรับน้องกันอยู่เป็นประจำทุกปี แถมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบันยังกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความเด็กถูกผูกติดกับเครื่องแบบนักเรียน ทำให้เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นสิ่งยั่วยุทางเพศ
 
ข้อสี่ เรื่องทรงผม นักเรียนถามว่าหากนักเรียนชายจะไว้ผมยาวถึงหลังแล้วเสียหายตรงไหน รมต. ตอบว่า ยังมีคนอีกมากเขาไม่ได้อยากเห็นแบบนี้ เหมือนกับว่า รมต. จะนิยมตรรกนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมักใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้วย
 
นี่คือตัวอย่างการใช้ความเป็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อทำลายหลักการที่ถูกต้อง ทรงผมและการแต่งกายเป็นสิทธิส่วนตัวในการแสดงออกซึ่งตัวตน โรงเรียนละเมิดสิทธิของนักเรียนในข้อนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่ใครจะไม่พอใจกับทรงผมหรือการแต่งกายของคนอื่นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีสิทธิมาแทรกแซงการแต่งกายของคนอื่นได้  
 
ที่สำคัญคือ การสอนระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องบังคับที่การแต่งการและทรงผม ดูอย่างคนที่แต่งกายในเครื่องแบบอย่างหทาร ตำรวจ ในระเทศไทยสิ ยังละเมิดกฎหมาย คุกคามประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญได้เสมอ หากเครื่องแบบสามารถสร้างระเบียบวินัยได้จริง ทำไมเรายังมีทหารและตำรวจสวมเครื่องแบบก่อการรัฐประหาร เป็นกบฏ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่เสมอๆ ล่ะ
 
การดีเบตเมื่อวาน เห็นได้ชัดว่านักเรียนชนะขาดทั้งในเชิงตรรกะและข้อมูล และก็สมควรแล้วที่เขาจะไล่คุณออกจากการเป็น รมต. ถ้าคุณยังเรียกการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและข้อเท็จจริงลักษณะนี้ว่าการคุกคามอีกล่ะก็ คุณจะให้นักเรียนเรียกสิ่งที่คุณกับขบวนการ กปปส. ทำกับประเทศนี้ว่าอะไร หากไม่ใช่การปล้นอำนาจประชาชนแล้วเสวยอำนาจเป็นรัฐมนตรีอย่างหน้าไม่อาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม