Skip to main content

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้ในฐานะคนที่ทำงานในระบบองค์กรขนาดใหญ่คนหนึ่ง ผมย้ำกับเพื่อนร่วมงานเสมอว่า "หากเราไม่เคยทำอะไรแต่ระเบียบไม่ได้ห้าม ก็จงหาทางทำมันให้ได้ เพราะมันแค่ ไม่เคยทำ ไม่ใช่ทำไม่ได้"  

"แล้วหากระเบียบใดขัดขวางการทำงาน ความก้าวหน้าขององค์กร เราก็ควรรื้อระเบียบทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ เพื่อให้การงานที่มุ่งหวังเดินหน้าจนลุล่วงไปได้" 

สิ่งที่นักศึกษาและประชาชนเสนอในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ก็เป็นในลักษณะเดียวกันนั้น เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันนี้ เพียงแค่ไม่ถูกใจ ไม่คุ้นเคย ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง คนละเรื่องกัน  

ไม่อย่างนั้นแล้วมนุษย์ก็จะเป็นเพียงสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงของระเบียบที่ตนเองเขียนขึ้นมา ผมไม่คิดว่ามนุษย์ปัจจุบันจะยินดีเป็นอย่างนั้น และผมคิดว่านักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ก็คิดและกำลังรื้อกรงขังนั้น 

แล้วในสถานการณ์แบบนี้ มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้สมัยใหม่ หลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม หลังบลาๆๆ ฯลฯ สารพัดจะก้าวหน้า ควรจะทำอะไร 

พวกเราจะนั่งดูดายสอนหนังสือไปวันๆ ทำวิจัยไปวันๆ เพื่อสะสมแต้มให้มหาวิทยาลัย สะสมรางวัลและตำแหน่งทางวิชาการของตนเอง ไต่อันดับของมหาวิทยาลัยโลกไปเพื่ออะไรกัน หากเราไม่สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม ไม่สามารถกระทั่งร่วมกับนักศึกษาของพวกเรา ประชาชนที่ส่งเสียเงินค่าเล่าเรียนให้พวกเราทำมาหากิน กอบกู้ความเป็นมนุษย์ออกมาจากกรงขังของกฎหมายได้ 

แต่หากจะไม่ทำอะไรเลย คณาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะออกหน้าลุกขึ้นมาปิดกั้นการเสนอหาทางที่จะออกจากกรงขังนั้นเสียเอง หากจะไม่ทำอไะไรเลย ก็ควรจะหาหนทางประคับประคองไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

ในแถลงการณ์ของทั้งส่วนตัวโดยรองอธิการบดีฯ เช้าวันนี้ (11 สค. 63) และแถลงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน อยู่ในประเภทของการ "นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยปูทางไปสู่การปิดกั้น กดทับ หรือแม้แต่การปราบปรามอย่างรุนแรงกับผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบและเป็นเหตุเป็นผล" 

ผมเรียนถามครับว่า ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกหรือว่าถ้อยคำประเภท "เกินขอบเขต" "กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน" "ศีลธรรมอันดีงานของสังคม" ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำหมิ่นเหม่ต่อการปูทางไปสู่การ "ลดค่าความเป็นคน" และปูทางไปสู่การทำร้ายกันทั้งในทางถ้อยคำและกายภาพ  

ถ้อยคำเหล่านี้ถูกชนชั้นนำไทยใช้เรื่อยมาเพื่อทำลายคุณค่าของหลักเหตุผล หลักการทางกฎหมาย หลักสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่พวกเราเองนั่นแหละพร่ำสอนนักศึกษาและเทศนาให้ประชาชน 

ในฐานะคนหนึ่งในประชาคมธรรมศาสตร์ ผมเกรงว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ได้แสดงออกไปนั้นเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ผมยังหวังว่าพวกท่านจะเข้าใจดีว่าเส้นแบ่งระหว่างการช่วยบรรเทาสถานการณ์กับการซ้ำเติมสถานการณ์ไม่ใช่เส้นบางๆ แต่มีความชัดเจนอยู่  

และหวังว่าท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่ทำไปนั้นกลับจะเป็นการใส่ไฟ หันกระบอกปืนเข้าหานักศึกษาและประชาชนเสียมากกว่าการปกป้องหลักการต่างๆ ที่พวกเขาก็ร่ำเรียนมาจากพวกเรานั่นแหละ 

ผมจะเสียใจมากหากปฏิกิริยาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนี้จะกลายไปเป็นบันไดก้าวแรกๆ ของการเพิ่มความเกลียดชังต่อนักศึกษาและประชาชนที่เห็นต่าง จนเลยเถิดไปเป็นการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม