Skip to main content

ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้ในฐานะคนที่ทำงานในระบบองค์กรขนาดใหญ่คนหนึ่ง ผมย้ำกับเพื่อนร่วมงานเสมอว่า "หากเราไม่เคยทำอะไรแต่ระเบียบไม่ได้ห้าม ก็จงหาทางทำมันให้ได้ เพราะมันแค่ ไม่เคยทำ ไม่ใช่ทำไม่ได้"  

"แล้วหากระเบียบใดขัดขวางการทำงาน ความก้าวหน้าขององค์กร เราก็ควรรื้อระเบียบทิ้งแล้วร่างขึ้นใหม่ เพื่อให้การงานที่มุ่งหวังเดินหน้าจนลุล่วงไปได้" 

สิ่งที่นักศึกษาและประชาชนเสนอในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ก็เป็นในลักษณะเดียวกันนั้น เป็นวิธีคิดแบบเดียวกันนี้ เพียงแค่ไม่ถูกใจ ไม่คุ้นเคย ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ทำไม่ได้ หรือไม่ถูกต้อง คนละเรื่องกัน  

ไม่อย่างนั้นแล้วมนุษย์ก็จะเป็นเพียงสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรงของระเบียบที่ตนเองเขียนขึ้นมา ผมไม่คิดว่ามนุษย์ปัจจุบันจะยินดีเป็นอย่างนั้น และผมคิดว่านักศึกษาและประชาชนในขณะนี้ก็คิดและกำลังรื้อกรงขังนั้น 

แล้วในสถานการณ์แบบนี้ มหาวิทยาลัยและคณาจารย์ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้สมัยใหม่ หลังสมัยใหม่ หลังอาณานิคม หลังบลาๆๆ ฯลฯ สารพัดจะก้าวหน้า ควรจะทำอะไร 

พวกเราจะนั่งดูดายสอนหนังสือไปวันๆ ทำวิจัยไปวันๆ เพื่อสะสมแต้มให้มหาวิทยาลัย สะสมรางวัลและตำแหน่งทางวิชาการของตนเอง ไต่อันดับของมหาวิทยาลัยโลกไปเพื่ออะไรกัน หากเราไม่สามารถส่งเสริมความก้าวหน้าของสังคม ไม่สามารถกระทั่งร่วมกับนักศึกษาของพวกเรา ประชาชนที่ส่งเสียเงินค่าเล่าเรียนให้พวกเราทำมาหากิน กอบกู้ความเป็นมนุษย์ออกมาจากกรงขังของกฎหมายได้ 

แต่หากจะไม่ทำอะไรเลย คณาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ไม่สมควรที่จะออกหน้าลุกขึ้นมาปิดกั้นการเสนอหาทางที่จะออกจากกรงขังนั้นเสียเอง หากจะไม่ทำอไะไรเลย ก็ควรจะหาหนทางประคับประคองไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก

ในแถลงการณ์ของทั้งส่วนตัวโดยรองอธิการบดีฯ เช้าวันนี้ (11 สค. 63) และแถลงการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ต่อการชุมนุมของนักศึกษาและประชาชน อยู่ในประเภทของการ "นอกจากจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยปูทางไปสู่การปิดกั้น กดทับ หรือแม้แต่การปราบปรามอย่างรุนแรงกับผู้แสดงความเห็นต่างอย่างสงบและเป็นเหตุเป็นผล" 

ผมเรียนถามครับว่า ท่านผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่รู้หรอกหรือว่าถ้อยคำประเภท "เกินขอบเขต" "กระทบต่อความรู้สึกของประชาชน" "ศีลธรรมอันดีงานของสังคม" ล้วนแล้วแต่เป็นถ้อยคำหมิ่นเหม่ต่อการปูทางไปสู่การ "ลดค่าความเป็นคน" และปูทางไปสู่การทำร้ายกันทั้งในทางถ้อยคำและกายภาพ  

ถ้อยคำเหล่านี้ถูกชนชั้นนำไทยใช้เรื่อยมาเพื่อทำลายคุณค่าของหลักเหตุผล หลักการทางกฎหมาย หลักสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ ที่พวกเราเองนั่นแหละพร่ำสอนนักศึกษาและเทศนาให้ประชาชน 

ในฐานะคนหนึ่งในประชาคมธรรมศาสตร์ ผมเกรงว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังหลงผิดคิดว่าสิ่งที่ได้แสดงออกไปนั้นเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ผมยังหวังว่าพวกท่านจะเข้าใจดีว่าเส้นแบ่งระหว่างการช่วยบรรเทาสถานการณ์กับการซ้ำเติมสถานการณ์ไม่ใช่เส้นบางๆ แต่มีความชัดเจนอยู่  

และหวังว่าท่านจะเข้าใจว่าสิ่งที่ทำไปนั้นกลับจะเป็นการใส่ไฟ หันกระบอกปืนเข้าหานักศึกษาและประชาชนเสียมากกว่าการปกป้องหลักการต่างๆ ที่พวกเขาก็ร่ำเรียนมาจากพวกเรานั่นแหละ 

ผมจะเสียใจมากหากปฏิกิริยาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันนี้จะกลายไปเป็นบันไดก้าวแรกๆ ของการเพิ่มความเกลียดชังต่อนักศึกษาและประชาชนที่เห็นต่าง จนเลยเถิดไปเป็นการปราบปรามนักศึกษาและประชาชนอีกครั้งหนึ่ง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ประเด็น "สถาบันกษัตริย์" ในประเทศไทยปัจจุบันไม่ใช่เรื่องศีลธรรมและไม่ใช่แค่เรื่องความรู้สึก แต่เป็นเรื่องของสถาบันทางการเมืองและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมืองไทย ถ้าไม่เข้าใจตรงกันแบบนี้ก่อนก็จะไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ฟัง/อ่านข้อเสนอของนักศึกษา/ประชาชนที่เสนอในการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวานนี้ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การยุบพรรคอนาคตใหม่อย่างที่สาธารณชนและแม้แต่นักกฎหมายเองก็เห็นว่าไม่สมเหตุสมผลทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง และความเหลวแหลกของกลไก เกม และสถาบันการเมืองในขณะนี้ คือเงื่อนไขเฉพาะหน้าที่ทำให้เยาวชนจำนวนมาก ซึ่งเป็นคนหน้าใหม่ของการเมืองไทย ในหลายพื้นที่กระจายไปทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่มีความขัดแย้งรอบใหม่ในกลางทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วินาทีที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ความสำคัญไม่ใช่ว่าพรรคการเมืองหนึ่งถูกยุบไปหรอก แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า ผู้มีอำนาจกำลังสร้างความแตกร้าวครั้งใหม่ที่พวกเขาอาจจะพบปฏิกิริยาโต้ตอบที่ไม่เหลือเศษซากอะไรให้กอบกู้โลกเก่าของพวกเขากลับมาได้อีกต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พวกคุณไม่ได้เพียงกำลังทำลายพรรคการเมืองใดพรรคหนึ่ง หรือกลุ่มการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่พวกคุณกำลังทำลายความหวังที่คนจำนวนมากมีต่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นใหม่ที่เริ่มสนใจประเทศชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาวเบี๋ยนเป็นศิลปินอาวุโสชาวไต/ไท ในเวียดนาม ผมรู้จักกับท่านมาร่วม 15 ปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อพบกันครั้งแรกๆ ก็ถูกชะตากับท่าน ผมจึงเพียรไปหาท่านหลายต่อหลายครั้ง ที่ว่าเพียรไปหาไม่ใช่แค่เพราะไปพบท่านบ่อย แต่เพราะการไปพบท่านเป็นเรื่องยากลำบากมาก เมืองที่ท่านอยู่ชื่อเมืองล้อ หรือเรียกแบบสยามๆ ก็เรียกว่าเมืองลอก็ได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เป็นวันระลึก "เหตุการณ์ 28 กุมภาพันธ์" 1947 หรือเรียกกันว่า "228 Incident" เหตุสังหารหมู่ประชาชนทั่วประเทศไต้หวัน โดยรัฐบาลที่เจียงไคเชกบังคับบัญชาในฐานะผู้นำก๊กมินตั๋งในจีนแผ่นดินใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีเพื่อนขอให้ผมช่วยแนะนำร้านอาหารในฮานอยให้ แต่เห็นว่าเขาจะไปช่วงสั้นๆ ก็เลยแนะนำไปไม่กี่แห่ง ส่วนร้านเฝอ ขอแยกแนะนำต่างหาก เพราะร้านอร่อยๆ มีมากมาย เอาเฉพาะที่ผมคุ้นๆ แค่ 2-3 วันน่ะก็เสียเวลาตระเวนกินจนไม่ต้องไปกินอย่างอื่นแล้ว