Skip to main content

ปีนี้ผมอายุ 52 ผมคิดอยู่ตลอดว่า ถ้าพ่อแม่เสียไป ผมจะดัดแปลงบ้านที่อยู่มายังไง จะรื้ออะไร ย้ายอะไร ผมไม่มีลูก มีแต่หลาน ซึ่งเขาก็คงคิดเหมือนกันใน 2 ชั้นด้วยกันว่า เมื่อปู่ย่าเขา ลุงป้าเขาไม่อยู่แล้ว เขาจะทำอะไรกับบ้านบ้าง หรือไม่ เขาก็อาจจะรื้อทิ้ง ไม่ก็ขายทิ้งแล้วย้ายบ้านหรือไปอยู่ที่อื่นในโลกไปเลย 

ถามว่าผมนึกเสียดายไหม ผมคิดเสมอว่า จะไปเสียดายอะไร ในเมื่อตอนนั้นผมตายไปแล้ว และยังอยากให้เขาเปลี่ยนมันเร็วกว่านั้นด้วย เผื่อจะได้ตอบโจทย์ชีวิตเขาได้เร็วทันเวลาชีวิตเขา 

นี่แค่บ้านนะ ยังมีอะไรๆ อีกมากมายที่เปลี่ยนไปต่อหน้าต่อตาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  

ผมทำงานสอนหนังสือ ทำวิจัย เขียนงาน ทำมาถ้านับเฉพาะช่วงทำงานจริงๆ ก็เกือบ 20 ปี ถ้านับตั้งแต่เริ่มสนใจเข้ามาสู่แวดวงวิชาการก็เกือบ 30 ปี 20-30 ปีที่ผ่านนี้แวดวงวิชาการทั้งสากลและในประเทศเปลี่ยนแปลงไปมากมาย สิ่งที่ผมรู้ เรียน และอ่านมา ใหม่กว่าที่ครูบาอาจารย์รู้มากมาย เอาว่าความรู้ในสาขาวิชามานุษยวิทยาที่ผมร่ำเรียนมาน่ะ มักเปลี่ยนทุกๆ อย่างน้อย 10-15 ปu 

หากคุณจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไม่ดื้อด้านสอนแต่เฉพาะเรื่องเดิมๆ ที่เรียนมา คุณก็จะต้องอ่านใหม่ ค้นคว้าใหม่ ทำวิจัยใหม่ๆ ไปรับรู้เรื่องใหม่ๆ จากเวทีวิชาการสากลอยู่ตลอดเวลา ผมเองในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ต้องเปลี่ยนความรู้ใหม่อย่างน้อยๆ 2 ช่วงด้วยกัน หลังเรียนจบ ต้องอ่านหนังสือใหม่ๆ มากกว่าที่เคยเรียนมาอีกชุดหนึ่ง หลังทำงานมาเกือบ 10 ปี ก็ต้องอ่านหนังสือใหม่อีกชุดหนึ่งอีกแล้ว

สิ่งที่ยากคือ ทำอย่างไรที่จะให้คนรุ่นใหม่ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีระบบ มีทักษะการเรียนรู้ที่เพียงพอ แต่ก็จะต้องไม่กีดกั้นการเรียนรู้ใหม่ๆ ของเขาเอง ทุกวันนี้ผมจึงพยายามทั้งเรียนรู้โลกและวิธีเข้าใจโลกแบบใหม่ไปพร้อมๆ กับคนรุ่นใหม่ ในขณะเดียวกันก็สอนทักษะและความรู้ของโลกและวิธีเรียนรู้โลกแบบคนรุ่นผมให้กับพวกเขา 

นั่นแค่ระดับครัวเรือนและระดับของวิชาขีพ ซึ่งผมคิดว่า คนรุ่นผมหลายๆ คนก็จะต้องมีประสบการณ์กับคนรุ่นใหม่แบบเดียวกันนี้ ในสาขาอาชีพและชีวิตประจำวันที่แตกต่างออกไป แต่สิ่งที่เราได้เห็นขณะนี้คือความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงที่กว้างใหญ่กว่ามาก ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เรื่องสังคม เรื่องเศรษฐกิจ 

ด้านเศรษฐกิจ เรื่องปากท้อง คนรุ่นใหม่เห็นความไม่น่าไว้วางใจ ความไม่เข้าใจกลไกความเป็นไปของการบริหารประเทศในรัฐบาลทหารต่อเนื่องมายังรัฐบาลปัจจุบัน และเมื่อมาผูกกับด้านการเมือง เขาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและอำนาจการมีส่วนร่วมกำหนดชีวิตตนเอง เรื่องนี้คุณคนรุ่นผมและที่แก่กว่าเข้าใจไม่ได้เหรอ  

คนอายุ 15-20 ต้นๆ เขาอยู่กับระบอบทหารมาเกือบ 10 ปีนับตั้งแต่ 2549-50 และ 2557-63 ระหว่างนั้นตั้งแต่ 2548-57 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน เขาเห็นความขัดแย้งทางการเมือระหว่างสองขั้วการเมืองมาตลอด เขาต้องการตัวเลือกทางการเมืองแบบใหม่  

พอมีตัวเลือกใหม่ ฝ่ายทหารและอนุรักษนิยมก็ปิดกั้นการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของคนกลุ่มใหม่ พอผู้คนแสดงออกทางการเมือง แม้แต่การรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 50, 60 การเรียกร้องการเลือกตั้ง ซึ่งล้วนแต่เป็นการแสดงออกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย คนรุ่นใหม่ก็เห็นรัฐปิดกั้น คุกคามเสรีภาพ 

เขาเห็นปัญหาข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เขาเห็นการลิดรอนสิทธิ์ เขาเห็นความกักขฬะ ไร้ยางอาย และความฉ้อฉลที่มีพรรคพวกร่วมกันปกป้องของผู้มีอำนาจ เขาเห็นไปถึงว่าประเทศนี้ไม่มีใครน่าศรัทธาอีกต่อไปแล้ว 

พวกเขากำลังสงสัยว่า ทำไมพวกผู้ใหญ่ “ไม่เก็ต” ว่าประเทศนี้กำลังมีปัญหา พวกเขาสงสัยว่า การที่พวกผู้ใหญ่นิ่งเฉย เป็นเพราะพวกผู้ใกญ่ไม่รู้เรื่อง เพราะนั่งดูแต่ทีวีที่ถ้าไม่ถูกปิดกั้นการเสนอข้อเท็จจริงหลายเรื่องที่พวกเขารู้จากแหล่งอื่นแล้ว ทีวีก็จะเป็นกระบอกเสียงให้กับระบอบที่ฉ้อฉลพิกลพิการ ถ้าคุณไม่เห็น พวกเขาก็อยากเล่าให้พวกคุณฟัง ถ้าพวกคุณไม่ฟัง พวกเขาก็อยากจะเดินหน้าไปแก้ไขด้วยตนเอง 

ด้านสังคม คนรุ่นใหม่ทนไม่ได้กับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบอบอำนาจนิยมของครูและโรงเรียน ระบบรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัย ระเบียบที่เกินเลยและสังคมอำนาจนิยมที่บังคับควบคุมเรือนร่างและการแสดงออกของนักเรียน ไปจนกระทั่งการละเมิดทางเพศและความรุนแรงของครูต่อนักเรียน ที่เคยถูกกลบเกลื่อนอยู่ บัดนี้ถูกเปิดโปงออกมามากขึ้นเรื่อยๆ  

พวกเขามีเครื่องมือใหม่ๆ ในการหาความรู้ ที่ยิ่งกว่านั้นคือ มันเป็นเครื่องมือใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างชุมชน สร้างสังคมของพวกเขา คนรุ่นใหม่สร้างเครือข่ายความร่วมมือกันอย่างหลวมๆ ผ่านสังคมที่ถูกคนแก่ตราหน้าว่าเป็น “สังคมก้มหน้า” แทนที่จะเป็นสังคมของคนเหงา พวกเขาก้มหน้าก้มตาหาเพื่อนใหม่ๆ หาคนที่เข้าใจเขา ถูกบ้างผิดบ้าง ในที่สุดก็ทำให้พวกเขาเจอคนพวกเดียวกัน คนที่คุยกันรู้เรื่อง  

อย่าลืมว่าคนเหล่านี้จำนวนมากเป็นลูกคนเดียว ครอบครัวสมัยนี้ก็ไม่ได้เป็นครอบครัวขยายที่ญาติพี่น้องจะพบเจอคุ้นเคยแลกเปลี่ยนความเห็นกันอีกต่อไป พวกเขาอยู่กับเพื่อนมากกว่ากับครอบครัว เจอเพื่อนมากมายนอกพรมแดนครอบครัว เครือญาติ และขอบรั้วโรงเรียน และผมคิดว่าสิ่งที่ที่พวกคุณคนแก่กลัวคือ คนเหล่านี้อยู่ไกลสายตาและการกำกับควบคุมแบบที่คุณคุ้นเคยมา 

สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตลอด โลกก็เปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่มีที่ไหนเป็นสังคมอุดมคติเพียงพอที่จะเป็นต้นแบบของที่ไหนได้ แม้แต่ในตะวันตก สังคมประชาธิปไตยก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบ คนรุ่นใหม่ซึ่งแสวงหาความรู้นอกห้องเรียนตลอดเวลารู้ดีว่าสังคมต่างๆ ล้วนมีปัญหาของมันเอง คนรุ่นใหม่ไม่ใช่แค่เห็นโลกต่างจากเรา แต่พวกเขาเห็นโลกปัจจุบันนี้ในหลายๆ ด้านมากกว่าเรา มากกว่าที่เราเข้าใจว่าเรารู้จัก  

พวกเขาอาจยังด้อยทักษะในการจัดระบบความเข้าใจ ขาดประสบการณ์และความแข็งแกร่งในการเผชิญกับความบกพร่องผิดพลาด แต่เขาก็มีความรู้ความเข้าใจมากพอที่จะเห็นว่า ระเบียบสังคม การเมือง เศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ บิดเบี้ยว ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่พวกเขาเผชิญอยู่ 

สำหรับคนอายุ 50 ขึ้นไป ยอมรับเถอะครับว่ายุคของคุณมันผ่านไปแล้ว ยิ่งใครที่อายุ 60 ขึ้นไป คุณไม่รู้จักโลกที่คุณอาศัยอยู่ขณะนี้ได้ดีไปกว่าคนรุ่นปัจจุบันหรอก  

แทนที่จะขัดขวางดื้อดึง สู้ร่วมมือกับคนรุ่นใหม่ ใช้ประสบการณ์ ทักษะชำนาญของพวกคุณ ช่วยส่งเสริมให้สังคมใหม่ การเมืองใหม่ เศรษฐกิจใหม่ ทะยานไปแบบสมจริงตามยุคสมัยของมันไม่ดีกว่าเหรอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปาฐกถาในเวทีเสวนา “50 ปี 14 ตุลาฯ ยังตามหารัฐธรรมนูญใหม่” จัดโดยสมัชชาคนจน วันที่ 14 ตุลาคม 2566
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อ 24 กค. 65 ผู้จัดการแสดง #ฮิญาบ2022  ชวนผมไปดูการแสดงของคุณฟารีดา จิราพันธ์ ที่กาลิเลโอเอซิส แล้วผู้จัดจะชวนผมสนทนาหลังละคร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพวิชาการ ในฐานะผู้ปกครองนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ และในฐานะคนรักศิลปะ ผมเขียนจดหมายนี้เพื่อตั้งคำถามต่อการที่ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์จะตรวจสอบผลงานก่อการอนุญาตให้จัดแสดงผลงานของนักศึกษาภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นคนพูดถึงตัวละครในซีรีย์เกาหลีเอ่ยถึงจอร์จ บาไตล์ ในรูปนั่นน่ะครับ เป็นคอลเล็กชันจอร์จ บาไตล์บนชั้นหนังสือผมแบบเบาๆ ผมเก็บไว้ร่วม 20 ปีแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนคงรู้ว่าวันนี้เป็นวันชาติเวียดนาม แต่น้อยคนคงรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันนี้กันแน่ แล้ววันนี้ในอดีตถูกกำหนดเป็นวันขาติจากเหตุการณ์ปีใด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จนถึงวันนี้ การต่อสู้ของประชาชนในขบวนการ “คณะราษฎร 63” ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังของแสงดาวได้สร้างสรรค์สังคมไทยอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาได้ออกมาแสดงความเห็นว่ามีการสร้างกระแสกดดันศาลต่างๆ นานา (ดู https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2081366) มองในแง่ดี ผมคิดว่านี่คือการออกมาอธิบายกับสังคมอีกครั้งของผู้มีอำนาจในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง หลังจากที่มีการชี้แจงถึงเหตุผลการไม่ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีการเมืองโดยโฆษกศาลและโฆษกกระทรวงยุติธรรมก่อนหน้านี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อะไรที่ทำให้ดนตรีมีสถานะในการทำร้ายกันได้บ้าง ผมว่าอย่างน้อยที่สุดต้องเข้าใจก่อนว่า ดนตรีไม่ใช่แค่เสียง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
พอดีนั่งฟังเพื่อนนักวิชาการอ่านหนังสือ "กบฏชาวนา" ของรานาจิต คูฮา (1982) มาคุยให้ฟัง (แปลโดย ปรีดี หงษ์สต้น) ในเพจของสำนักพิมพ์ Illumination Editions เลยคิดถึงบันทึกที่เคยเขียนถึงหนังสือของ ดิเพช จักรบาร์ตี เรื่อง Provincializing Europe (2000)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรื่อง ถามถึงมโนธรรมสำนึกในความเป็นครูบาอาจารย์ของอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะล่าสุดของอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ต่อการชุมนุม 16 ตค. 63 ย้อนแย้งกับสมัยที่อาจารย์ให้ความเห็นต่อการชุมนุม กปปส. ในขณะนั้นอาจารย์อธิบายยืดยาวว่าการชุมนุมของ กปปส. ใช้สันติวิธี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอให้อาจารย์หยุดใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในสังคม