Skip to main content

หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที

หากพวกคุณไม่ได้หลงตัวเองอย่างงมงาย พวกคุณย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยการหาเสียงอย่างหนักหน่วงของพรรค ไม่ได้ได้มาด้วยความสามารถในการบริหารประเทศของอวตารต่างๆ ของพรรคไทยรักไทยเท่านั้น ไม่ได้ได้มาด้วยหน้าตาคุณงามความดีของสส.เรียงเบอร์หรือสส.บัญชีหางว่าว และไม่ได้ได้มาด้วยเงินซื้อเสียงอย่างแน่นอน
 
หากพวกคุณยังพอมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองอยู่บ้าง พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะของเพื่อไทยไม่ได้ได้มาด้วยบุญญาบารมีของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และไม่ได้ได้มาด้วยความภักดีอย่างไร้เหตุผลต่อทักษิณ ชินวัตรและความมั่นใจอย่างไร้สติต่อตระกูลชินวัตรอย่างแน่นอน
 
หากแต่ชัยชนะของพรรคเพื่อไทยได้มาด้วยความหวังของผู้ลงคะแนนเสียงให้เพื่อไทย คะแนนเสียงที่ "ไม่ท่วมท้นนัก" ส่วนหนึ่งมาจากเสียงที่ไม่ได้นิยมชมชอบในตัวทักษิณ ชินวัตร เสียงที่ไม่เคยไว้ใจตระกูชินวัตร และเสียงไม่เคยเห็นหน้ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเสียงที่ไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่าในทะเบียนราษฎร์มีคนชื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตรอยู่ในครอบครัวชินวัตรด้วย
 
แต่ชัยชนะของเพื่อไทยมาจากความหวังที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบให้พรรคเพื่อไทย ความหวังที่ว่าคืออะไรบ้าง 
 
- ความหวังที่จะสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบใหม่ให้กับการเมืองไทย 
- ความหวังที่จะแสดงให้ชนชั้นนำสำเหนียกว่าชาวไทยไม่สามารถยอมรับการรัฐประหารได้อีกต่อไป ชาวไทยต้องการเดินบนวิถีทางของระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ความหวังที่จะประกาศให้ชั้นนำไทยสำเหนียกว่า ชาวไทยไม่สามารถยอมรับอำนาจ "นอก" "เหนือ" รัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ชาวไทยทนไม่ได้อีกต่อไปกับภาวะสองนคราประชาธิปไตย (ที่ว่าคนบ้านนอกตั้งรัฐบาล ดัดจริตชนชาวกรุงล้มรัฐบาล)
- ความหวังที่จะเอาคนสั่งสังหารประชาชนในการสลายการชุมนุมที่แยกคอกวัวและราชประสงค์เข้าคุก 
- ความหวังที่จะไม่ประนีประนอมกับ "อำมาตย์" อีกต่อไป ความหวังที่จะเดินหน้าสู่โครงการประชาธิปไตยของคณะราษฎร (ทึ่กล่าวไว้ตอนหนึ่งในประกาศคณะราษฎรว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง) อย่างจริงจังเสียที
 
หากไม่กล้าเดินหน้าโหวตวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่โดยไม่ต้องทำประชามติ โดยไม่ต้องแก้รายมาตรา หากไม่กล้านิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยไม่ยกเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐและผู้สั่งการ หากไม่กล้าลงนามสัตยาบันกับศาลอาญาระหว่างประเทศ หากไม่กล้ารับฟัง ครก.112 ชี้แจงเรื่องการเสนอให้แก้ไข ม.112 ไม่ใช่บอกปัดโดยอำนาจประธานสภาแบบเงียบๆ และไม่สมเหตุสมผล 
 
หากไม่กล้าแสดงออกให้สาธารณชนยอมรับคำตัดสินของศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร
 
หากไม่กล้าบอกทักษิณให้หยุดแสดงความเห็นออกนอกหน้าเสียที (ยังไงคุณพูดทางลับ เขาก็คิดกันไปไหนต่อไหนอยู่แล้วว่าคุณมีอิทธิพลเบื้องหลังพรรคเพื่อไทย ไม่ต้องกลัวคนไม่รู้ด้วยการคอยออกมาพูดนั่นพูดนี่หรอกครับ)

ถ้าพวกคุณไม่กล้าทำสิ่งเหล่านั้น หรือไม่กล้าแม้แต่จะทำอะไรสักอย่างในความหวังเหล่านั้นแล้วล่ะก็ ถึงแม้พวกคุณจะเป็นรัฐบาลได้จนครบสมัยนี้ พวกคุณก็อย่าหวังเลยครับว่าจะได้เสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งสมัยหน้าอย่างสะดวกสบายแบบการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย