Skip to main content

"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ

เมื่ออยู่เวียดนามกว่า 3 ปีเมื่อหลายปีก่อน ผมรู้สึกถึงการกำกับของเวลาโดยเทศกาล "เต๊ด" (Tết) ปีใหม่เวียดนามก็ตรงกับตรุษจีนนั่นเอง แต่คนเวียดนามไม่มีทางเรียกมันว่าตรุษจีน เพราะเขาไม่ชอบคนจีนเหมือนคนไทยไม่ชอบพม่าและเขมรนั่นแหละ แม้ว่าส่วนใหญ่ของวัฒนธรรมเวียดคือวัฒนธรรมที่มาจากชาวจีน รวมทั้งปีใหม่เวียดนาม

เต๊ดกำกับชีวิตชาวเวียดนามด้วยการทำให้ทุกกลุ่มชาติพันธ์ุต้องฉลองปีใหม่ตรงกันหมด ขณะที่ปีใหม่แบบฝรั่งตามปฏิทินฝรั่ง ไม่ได้รับความสำคัญอย่างเป็นทางการเท่าเต๊ด เช่นว่า เทศกาลเต๊ดไม่ได้มีเพียงวันไหว้ผีบรรพบุรุษ แต่เต๊ดของเวียดนามยังถูกทำให้เป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดู จากฤดูหนาวเป็นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งมีดอกท้อ (hoa đào) เป็นสัญลักษณ์สำคัญ

สำหรับชาวเวียดนามทางเหนือก็พอจินตนาการตามได้ถึงการเปลี่ยนฤดู แต่สำหรับชาวเวียดนามใต้ สำหรับชาวกรอม (เขมร) และชาวจามทางใต้ ไม่รู้จะเอาอะไรมาคิดถึง "ฤดูใบไม้ผลิ" ท่ามกลางอากาศร้อนระอุเกือบตลอดทั้งปี ส่วนชาวเขาในเวียดนามใต้ แม้อากาศจะไม่ร้อนเท่าลุ่มนำ้โขงทางใต้ ก็ไม่มีจินตกรรมเวลาแบบชาวเวียดนามเหนือแน่นอน

เต๊ดถูกโปรโมตในสื่อมวลชนทุกแขนง ซึ่งเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่เพียงเวลา แต่กระทั่งอาหารการกิน โดยเฉพาะขนมประจำเทศกาลอย่าง bánh chưng (แบ๋ญจึง) ข้าวต้มสี่เหลี่ยมไส้หมูสามชั้นผสมถั่วเหลืองรสชาติเค็มๆ มันๆ เลี่ยนๆ คาวๆ ที่ต้มหรือซื้อหากันมาแทบทกบ้าน แต่ไม่เคยเห็นบ้านไหนกินกันหมด เห็นมีแต่ทำแจกกันไปมาจนเหลือทิ้ง หรือไม่ก็ต้องเอามาทอดกินแล้วกินเล่าจนต้องทิ้งในที่สุด ทุกวันนี้ ในทุกๆ ปี ชาวเวียดนามไม่ว่าจะชนกลุ่มใด ก็ต้องทำข้ามต้มคาวๆ นี้กินและทิ้งกันไปทั้งประเทศ

ด้วยความเป็น "ชาติเดียวกัน" เวียดนามจึงไม่มีปีใหม่แบบอื่นๆ ที่จะมีฐานะเทียบเท่าเต๊ด และด้วยหลักจักรวรรดินิยมของเวลาในลักษณะเดียวกัน ไทยจึงไม่มีปีใหม่ไหนๆ เทียบเท่าสงกรานต์ที่หยุดยาวกว่าปีใหม่อื่นๆ บ้าคลั่งมากกว่าเทศกาลอื่นๆ ส่วนงานเดือนสิบของภาคใต้ (เดือนสิบจัทรคติ) งานบุญบั้งไฟ (เดือนหกจันทรคติ) ฮารีรายอ (ที่สำคัญคือราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ใกล้งานบุญเดือนสิบ) ปีใหม่ม้ง (เคยมีต่างหาก) ปีใหม่กระเหรี่ยง (ก็น่าจะมีต่างหาก) หรือกระทั่งตรุษจีน และคริสต์มาส ซึ่งสำคัญต่อคนกลุ่มอื่นๆ มากกว่า ก็ไม่ได้มีฐานะเทียบเท่าสงกรานต

สงกรานต์ไม่เพียงกำหนดให้คนไทยและไม่ไทยต้องฉลอง แต่บังคับให้ทุกคนต้องยอมรับการเฉลิมฉลอง ต้องเปียก ต้องหยุดทำงาน จนปีหลังๆ มาต้องทนฟังเพลงดังๆ แล้วรัฐบาลก็ค่อยๆ คืบเข้ามากำหนดให้ชาวไทยต้องไหว้พระ ต้องรดนำ้ดำหัวผู้ใหญ่ ต้องโทรหาพ่อแม่เพราะถูกกำหนดให้เป็นวันครอบครัว รวมทั้งต้องไปเสี่ยงตายบนถนนหลวงพร้อมๆ กัน 

เมื่อไหร่เราจะมีเสรีภาพในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของแต่ละปี เราจะได้เลือกได้ว่าจะฉลองหรือไม่ฉลองอะไรเมื่อไหร่ เมื่อไหร่เราจะยกย่องการเปลี่ยนผ่านของเวลาหลายๆ แบบ ตามแต่ความหมายของชีวิตของแต่ละคน

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย