Skip to main content

ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน

ในปีนี้ ผมเข้าร่วมพิธีด้วยความเต็มใจและปิติยินดียิ่ง หากไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือจริงๆ คงไม่ไปนั่งร่วมแสดงความยินดี ที่จริงมีผู้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพเข้ารับปริญญาด้วย ผมก็เลยถือเป็นโชคสองชั้นที่ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแด่ทั้งสองท่าน พร้อมๆ กับปลาบปลื้มใจที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา โชคดีที่นักศึกษาคณะผมนั่งด้านหน้าเวทีเลย จึงได้เห็นพวกเขาจากมุมที่ผมนั่งชัดเจน

พิธีกรรมจากมุมมองบนเวทีดูแปลกตาไปจากที่เคยเข้าร่วมพอสมควร ผมเคยอ่านรายชื่อผู้เข้ารับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษา แต่ในพิธีที่มีเฉพาะรูปของประธานในพิธีนั้น ไม่น่าเกรงขามมากเท่ากับการที่ประธานส่งผู้แทนที่มีฐานะสูงพอๆ กันมาแทน 

ในมุมของผู้เข้าร่วมเมื่อวันก่อน ที่แปลกคือ ผมกลับรู้สึกได้ถึง "ความเป็นมนุษย์" ของเหล่าผู้คนบนเวทีได้มากกว่าเมื่อนั่งอยู่ในฐานะอื่นๆ คงเพราะเป็น "พยาน" ในพิธี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความอลังการของพิธีจึงดูลดน้อยลงไปมาก ผมจึงไม่ต้องกลัวทำอะไรผิด สามารถลุกขึ้น เดินเข้าออก หรือหลบออกไปจากพิธี และงีบหลับ (โดยสำรวม) ได้อย่างค่อนข้างสะดวก หลังเก้าอี้ประธาน 

ผมจึงได้เห็นด้านที่ "เป็นคน" ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย เช่น มีจังหวะหนึ่งที่บนเวทีตื่นเต้นกันพอสมควรที่ประธานสะดุดพื้น ทำให้เห็นว่า แม้การควบคุมอย่างเข้มงวดเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสที่ "คน" จะพลาดพลั้ง ผิดบทได้เช่นกัน แต่ในบริบทนั้น "คน" ก็พยายามปรับให้พิธีกรรมดำเนินไปตามสคริปที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่กระมังที่การเป็นผู้สังเกตการณ์ เป็นคนนอกที่เข้าร่วม จะทำให้เห็นอะไรแปลกตาไป ผมเห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างพิธีกรรมในฐานะ "การแสดง" ชัดเจนขึ้น การแสดงนี้ประกอบสร้างด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยการจัดลำดับเวลา ด้วยการควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดจังหวะของพิธีกรรม ด้วยมารยาทระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ควบคุมทุกคน ตั้งแต่ผู้รับปริญญาจนถึงประธานในพิธี

แต่อีกด้านที่ย้อนแย้งกันคือ การรับปริญญาในปัจจุบันดำเนินไปอย่าง "เป็นอุตสาหกรรม" มากๆ มากเสียจนสะท้อนการปั๊มปริญญาบัตร สะท้อนอุตสาหกรรมการศึกษาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน กลไกการรับปริญญาในปัจจุบันรวดเร็วมาก เป็นจังหวะของโรงงานที่ต้องผลิตตามสายพานมากกว่าจังหวะของพิธีกรรม มากจนผมคิดว่าพิธีรับปริญญาเป็นอุตสาหกรรมความศักดิ์สิทธิ์ที่มาช่วยฉาบเคลือบอุตสาหกรรมการศึกษา

นอกจากนั้น ไม่เพียงผู้รับปริญญาในพิธีจะได้รับการยกระดับทางสังคมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่แยกผู้รับปริญญาออกจากผู้ไม่ได้รับปริญญา แต่ผู้มอบปริญญาก็ได้รับการเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน เรื่องเล่าขาน ความพลาดพลั้ง ความเป็นมนุษย์ ถูกลบกลบเกลื่อนไปในพิธีกรรม

หากยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมได้ ผมหวังว่าผู้ให้ความรู้จะทำให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีค่าในตัวของมันเองเหนือพิธีรับปริญญา และหวังว่าผู้เรียนรู้จะเห็นค่าของความรู้และกระบวนการเรียนรู้เหนือปริญญาและพิธีกรรมที่พวกคุณเข้าร่วมและผ่านพ้นมา

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ