Skip to main content

ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน

ในปีนี้ ผมเข้าร่วมพิธีด้วยความเต็มใจและปิติยินดียิ่ง หากไม่ใช่ผู้ที่เคารพนับถือจริงๆ คงไม่ไปนั่งร่วมแสดงความยินดี ที่จริงมีผู้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกท่านหนึ่งที่ผมเคารพเข้ารับปริญญาด้วย ผมก็เลยถือเป็นโชคสองชั้นที่ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติแด่ทั้งสองท่าน พร้อมๆ กับปลาบปลื้มใจที่นักศึกษาสำเร็จการศึกษา โชคดีที่นักศึกษาคณะผมนั่งด้านหน้าเวทีเลย จึงได้เห็นพวกเขาจากมุมที่ผมนั่งชัดเจน

พิธีกรรมจากมุมมองบนเวทีดูแปลกตาไปจากที่เคยเข้าร่วมพอสมควร ผมเคยอ่านรายชื่อผู้เข้ารับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษา แต่ในพิธีที่มีเฉพาะรูปของประธานในพิธีนั้น ไม่น่าเกรงขามมากเท่ากับการที่ประธานส่งผู้แทนที่มีฐานะสูงพอๆ กันมาแทน 

ในมุมของผู้เข้าร่วมเมื่อวันก่อน ที่แปลกคือ ผมกลับรู้สึกได้ถึง "ความเป็นมนุษย์" ของเหล่าผู้คนบนเวทีได้มากกว่าเมื่อนั่งอยู่ในฐานะอื่นๆ คงเพราะเป็น "พยาน" ในพิธี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ความอลังการของพิธีจึงดูลดน้อยลงไปมาก ผมจึงไม่ต้องกลัวทำอะไรผิด สามารถลุกขึ้น เดินเข้าออก หรือหลบออกไปจากพิธี และงีบหลับ (โดยสำรวม) ได้อย่างค่อนข้างสะดวก หลังเก้าอี้ประธาน 

ผมจึงได้เห็นด้านที่ "เป็นคน" ของผู้เข้าร่วมพิธีกรรมด้วย เช่น มีจังหวะหนึ่งที่บนเวทีตื่นเต้นกันพอสมควรที่ประธานสะดุดพื้น ทำให้เห็นว่า แม้การควบคุมอย่างเข้มงวดเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสที่ "คน" จะพลาดพลั้ง ผิดบทได้เช่นกัน แต่ในบริบทนั้น "คน" ก็พยายามปรับให้พิธีกรรมดำเนินไปตามสคริปที่วางไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นี่กระมังที่การเป็นผู้สังเกตการณ์ เป็นคนนอกที่เข้าร่วม จะทำให้เห็นอะไรแปลกตาไป ผมเห็นปฏิบัติการของการประกอบสร้างพิธีกรรมในฐานะ "การแสดง" ชัดเจนขึ้น การแสดงนี้ประกอบสร้างด้วยเครื่องแต่งกาย ด้วยการจัดลำดับเวลา ด้วยการควบคุมการเคลื่อนไหว ด้วยการกำหนดจังหวะของพิธีกรรม ด้วยมารยาทระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ควบคุมทุกคน ตั้งแต่ผู้รับปริญญาจนถึงประธานในพิธี

แต่อีกด้านที่ย้อนแย้งกันคือ การรับปริญญาในปัจจุบันดำเนินไปอย่าง "เป็นอุตสาหกรรม" มากๆ มากเสียจนสะท้อนการปั๊มปริญญาบัตร สะท้อนอุตสาหกรรมการศึกษาที่ดำเนินไปในปัจจุบัน กลไกการรับปริญญาในปัจจุบันรวดเร็วมาก เป็นจังหวะของโรงงานที่ต้องผลิตตามสายพานมากกว่าจังหวะของพิธีกรรม มากจนผมคิดว่าพิธีรับปริญญาเป็นอุตสาหกรรมความศักดิ์สิทธิ์ที่มาช่วยฉาบเคลือบอุตสาหกรรมการศึกษา

นอกจากนั้น ไม่เพียงผู้รับปริญญาในพิธีจะได้รับการยกระดับทางสังคมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ที่แยกผู้รับปริญญาออกจากผู้ไม่ได้รับปริญญา แต่ผู้มอบปริญญาก็ได้รับการเสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ด้วยเช่นกัน เรื่องเล่าขาน ความพลาดพลั้ง ความเป็นมนุษย์ ถูกลบกลบเกลื่อนไปในพิธีกรรม

หากยังไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบพิธีกรรมได้ ผมหวังว่าผู้ให้ความรู้จะทำให้ความรู้และกระบวนการเรียนรู้มีค่าในตัวของมันเองเหนือพิธีรับปริญญา และหวังว่าผู้เรียนรู้จะเห็นค่าของความรู้และกระบวนการเรียนรู้เหนือปริญญาและพิธีกรรมที่พวกคุณเข้าร่วมและผ่านพ้นมา

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย