Skip to main content

คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 

ความเชื่อที่ว่าระบบทาสในสังคมไทยเป็นระบบที่แทบจะไม่มีอยู่จริง หรือที่มีก็เป็นเพียงส่วนน้อย เฉพาะบางคนที่ขายลูก ขายตัวเองเพราะติดหนี้สิน และหากมีทาส ทาสในสังคมไทยก็ไม่ได้รุนแรงเลวร้ายแบบในยุโรป อเมริกานั้น หากยังสอนอยู่อีกก็น่าสงสัยมากว่ากำลังเพ้อฝันถึงสังคมทาสราวกับว่ามันเป็นสังคมยูโทเปียหรืออย่างไร 

แคทเธอรีน บาววี่ (Katheirne A. Bowie) เคยเขียนบทความรวบรวมเอกสารที่กล่าวถึงสยาม แสดงข้อมูลมากมายถึงความป่าเถื่อนของระบบทาสในสยาม (ไทยภาคกลาง) และโยนก (ไทยภาคเหนือ) ทาสที่เป็นกำลังสำคัญก่อนการนำเช้าชาวจีนมาเป็นแรงงานสำคัญ (ต่อการขยายตัวของทุนนิยมภายใต้การกระจุกตัวของผลประโยชน์เศรษฐกิจในมือชนชั้นนำสยาม) คือทาสจากเชลยสงคราม (war captive)

ทาสเหล่านี้เป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีอำนาจด้อยกว่าจากลาว เวียดนาม พม่า พวกเขาล้วนถูกกวาดต้อนมาเป็นแรงงานให้ราชสำนักสยามและราชสำนักเชียงใหม่ ทุกวันนี้ชุมชนรายรอบกรุงเทพและเชียงใหม่จึงเต็มไปด้วยกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นแรงงานปลูกข้าว ไม่ต้องคิดถึงว่าพวกเขาจะบาดเจ็บล้มตายระหว่างการเดินทางไปมากน้อยแค่ไหน แต่ในระหว่างการทำงานเพื่อเสียภาษี หลายต่อหลายปีพวกเขาต้องอดอยาก เพราะถูกเก็บภาษีเป็นผลผลิตมากเกินกว่าที่เขาจะเก็บไว้กินเอง 

ฉะนั้นใครที่ใฝ่ฝันว่าชีวิตของชุมชนในอดีตน่าพิสมัยกว่ายุคปัจจุบันน่ะ ช่วยอ่านประวัติศาสตร์แบบนี้เสียบ้างนะครับ นอกเสียจากว่าพวกคุณจะเป็นเจ้านาย 

ภาพดังกล่าวยิ่งสะท้อนว่าการเลิกทาสของ ร.5 คือสิ่งที่ดีงามเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างนั้นหรือ เปล่าเลย เพราะการเลิกทาสมีขึ้นพร้อมๆ กันกับการสร้างรัฐรวมศูนย์ที่เราเรียกกันว่า "สมบูรณาญาสิทธิราช" กล่าวอีกอย่างหนึ่ง นี่คือการที่ชนชั้นนำสยามลิดรอนอำนาจของรัฐและเจ้าครองนครต่างๆ ในท้องถิ่น ให้มาขึ้นกับสยามอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์นั่นเอง 

กระบวนการนี้ทำให้เจ้าครองนครท้องถิ่นไม่สามารถสืบทอดอำนาจตามสายตระกูลเดิมของตนได้อีกต่อไป พูดอีกอย่างหนึ่งคือ นี่คือการที่สยามทำให้นครเล็กน้อยรายรอบสยามไปจนจรดขอบเขตของบริทิชอินเดีย (รวมพม่า) ในฝั่งตะวันตก และอินโดจีนในฝั่งตะวันออก กลายเป็นอาณานิคมของตนเอง สยามไม่ตกเป็นเมืองขึ้นก็จริง แต่สยามทำให้นครรัฐเล็กๆ กลายเป็นเมืองขึ้นของตนเอง กระบวนการนี้ไม่ได้ราบเรียบ มีการต่อต้านมากมาย ทั้งจากเจ้าครองนคร (เช่น กบฏเมืองแพร่) และจากประชาชน (บรรดาผีบุญ) 

การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวอะไรกับการเลิกทาส เกี่ยวตรงที่ว่า ทาสเป็นกำลังสำคัญของ ซุ้ม-กลุ่ม-ก๊กของ "นาย" ต่างๆ ทาสและไพร่จะต้องมีสังกัดขึ้นต่อนายอย่างชัดเจน อยู่ใต้อำนาจของหัวหน้ากลุ่มก๊กต่างๆ อย่างแน่นิ่ง ไม่สามารถเคลื่อนกายย้ายถิ่นได้ง่ายๆ เนื่องจากจะกลายเป็นการเคลื่อนกำลังพล หรือไม่ก็กลายเป็นการเสียทั้งฐานการผลิตและฐานกำลังในการปกป้องตนเองของหัวหน้ากลุ่มก๊ก 

อ.อคิน รพีพัฒน์เขียนให้ภาพระบบนี้เอาไว้นานแล้วว่า นี่เป็นระบบอุปถัมภ์แบบพิรามิด ในระบบเช่นนี้ ผู้ใดที่ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ ก็เนื่องมาจากเป็นผู้ที่มีไพร่-ทาสในสังกัดเป็นจำนวนมากที่สุด ในสมัยใดที่มีกษัตริย์สององค์ ก็เนื่องจากทั้งสองกษัตริย์นั้นมีไพร่-ทาสจำนวนไล่เลี่ยกัน ขอย้ำว่า นี่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่เป็นการมีกำลังคนในสังกัดมากน้อยเท่าใด 

การเลิกทาสที่เกิดพร้อมๆ กับการลิดรอนอำนาจเจ้านครท้องถิ่นต่างๆ ทำลายอำนาจการผูกขาดกำลังคนของรัฐท้องถิ่นลง ทำลายอำนาจที่จะมาท้าทายอำนาจกษัตริย์ลง การเลิกทาสจึงเปลี่ยนไพร่-ทาสที่มีสังกัดมูลนายที่อาจมีอำนาจท้าทายกษัตริย์ ให้กลายเป็นพลเมืองที่ขึ้นกับกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว พลเมืองเหล่านี้กลายเป็นแรงงานที่เคลื่อนย้ายถิ่นได้ สามารถดูดมากเป็นกำลังแรงงานทำการผลิตใต้อำนาจทางการผลิตของชนชั้นนำสยามที่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพได้ 

คำอธิบายการเลิกทาสในตำราเรียนเป็นนิยายที่อาศัยฉากอดีต ที่เขียนเพื่ออำพรางการยักย้ายถ่ายเทอำนาจ การจัดสรรอำนาจรัฐแบบใหม่ ปิดบังการรวบอำนาจเพื่อสร้างรัฐอาณานิคมขนาดย่อมไว้ใต้ภาพความการุณ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย