Skip to main content

"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้

"ที่พี่ส่งมาก็เป็นโปรแกรมมาตรฐานสำหรับการไปเวียดนามครั้งแรกน่ะพี่ ไปแล้วกลับมาคนถามว่าไปที่เหล่านี้หรือเปล่า แล้วพอตอบ "ไม่ได้ไปอ่ะ เพราะ 'จารย์... แนะนำให้ไป... ... ..." คนไทยทั่วไปเขาก็จะว่า "ยี้ ไปทั้งทีทำไมไม่ไป ... ... ... (ตามโปรแกรมเค้าน่ะ)"...

"แต่เท่าที่ดูนี่ นอกจากแถวสุสานลุงโฮแล้ว ก็ไม่มีไปพิพิธภัณฑ์อื่นเลยนะ คือพิพิธภัณฑ์เวียดนามนี่ ฝรั่งมากนะพี่ เขาทำไว้เพื่อการศึกษาจริงๆ ไม่ใช่แบบบ้านเรา ผมว่าอันนี้น่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์ุวิทยานี่ ควรไป แต่หากเวลาน้อย ก็เลือกเอาเถอะ...

"ที่จริงตรงกันข้ามกับสุสานลุงโฮเป๊ะเลย คือวังเก่าสมัยค.ศ. 15 และก่อนหน้านั้น เพิ่งขุดพบเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง อันนี้ก็เดินเข้าได้นะ แทนที่จะไปรอต่อคิวเป็นชั่วโมงเพื่อเข้าไปโฉบดูศพลุงแกนอนขาวซีดตัวบวมอย่างน่าเวทนาอยู่ในห้องเย็นภายในสิบห้าวินาที...

"เดือนนี้เป็นเดือนที่ผมอิจฉาคนได้ไปฮานอยมาก มันเจ๋งมากสำหรับการนั่งจิบเบียร์เหงาๆ เบียร์เวียดนามมีไม่กี่ยี่ห้อหรอก มันจืดสนิท ฮานอยมีเบียร์ฮานอย หาซื้อเบียร์ไซ่ง่อนกินก็พอมี รสก็ไม่ต่างกันนัก มีเบียร์ฮาลิดาของเช็คหรือยังไงเนี่ย กับเบียร์ 333 ภาษาเวียดเรียก "บาบาบา" แปลว่า สามๆๆ นั่นแหละ...

"แต่โลกของเบียร์ในฮานอยจริงๆ ที่มีเฉพาะฮานอยน่ะ คือ bia hơi อ่านว่าเบียเฮย ดูเหมือนเบียเอยดีเน๊าะ มันคือเบียร์สด เฉพาะที่ฮานอยเท่านั้นที่มีโรงเบียร์แบบนี้ มีอยู่สัก 2-3 ยี่ห้อ แต่ที่ดังคือเบียเฮยฮานอย หากินยากเหมือนกัน เมื่อก่อนในเขตเมือง ในเขตถนน 36 สายน่ะเยอะมาก แต่ตอนนี้ลดน้อยลง ต้องเดินๆ หาหน่อย เจอยี่ห้ออะไรก็กินเถอะ สังเกตได้จากถังเบียร์สดน่ะ ถ้าร้านเล็กๆ จะตั้งไว้เลย ถ้าร้านใหญ่จะมีผู้ชายนั่งเยอะๆ เก้าอี้เตี้ยๆ...

"ผมน่ะมีร้านประจำอยู่ร้านนึง เพื่อนพาไปกินประจำ อยู่ริมทะเลสาบ Hồ Tây โห่เต็ย ชื่อร้าน Bia Hơi Cường Hói เบียเฮยเกื่องหอย แปลว่า เบียร์สดตาเกื่องหัวล้าน เข้าใจว่าตั้งตามหัวเจ้าของร้าน ร้านนี้ไม่ไกลจากถนน 36 สายนัก คนเยอะมาก อาหารอร่อยมาก ปลาหม้อไฟนี่อร่อยมาก มีไก่พอกดินแล้วเผา กุ้งในทะเลสาปตัวจิ๋วๆเผากรอบเกรียม เต้าหู้ทอด หมูหัน ฯลฯ อะไรก็อร่อย กินกับเบียร์อร่อยเฮย อูยยยยย...

"เรื่องอาหารนี่ ที่จริงพี่ควรหาโอกาสชิมอาหารฮานอยอย่างน้อยตอนกลางวัน กินกับทัวร์น่ะ ไม่อยากบอก อาหารฮานอยที่หากินที่ไหนไม่ได้มีเยอะมาก กลางวันๆ จะได้กลิ่นหมูย่างไปทั่วเมือง เรียก bún chả บู๋นจ่า เป็นขนมจีนกินกับหมูย่างที่ลอยมาในซุปเปรี้ยวหวานใสๆ เย็นๆมี bánh cuốn แบ๋ญก๋วน หรือปากหม้อแผ่นใหญ่ๆ โรยหน้าด้วยหอมเจียว แนมกับหมูยอชนิดนึง (หมูยอมีหลายชนิดมาก) กินกับน้ำจิ้มเปรี้ยวหวานใสๆ และ ฯลฯ...

"ซาปานี่ ควรไปเป็นอย่างยิ่ง เรื่องอาหารการกินผมไม่มีอะไรประทับใจ แต่ต้องกินยอดฟักแม้วผัด (ขออภัยที่ใช้คำว่าแม้ว) อากาศแบบนี้ที่นั่นน่าจะหนาวมากแล้ว เตรียมตัวให้ดีล่ะพี่ มันหนาวจริง อาจเลขตัวเดียวได้ หนาวๆแบบนี้น่าจะกินเหล้ากับ lẩu เหลิ่ว คือสุกี้แบบเวียดๆอร่อยนะ เวียดนามชอบใส่ผักกาดดองในน้ำสุกี้ บางทีมีผักอร่อยๆเยอะ...

"แต่ที่เด็ดมากของซาปาคือเหล้าชนิดหนึ่ง ผมจำชื่อไม่ได้สักที (หาเจอแล้ว เรียก rượi Sán Lùng เสี่ยวสานหลุ่ง เหล้าสามมังกร เป็นเหล้าชาวเย้า) มันเป็นเหล้าสีออกเหลืองๆ คือเหล้าเวียดนามทั่วไปมันจะสีใสๆ แต่นี่สีเหลืองๆ ลองดมดูจะมีกลิ่นเปลือกข้าว กลิ่นแกลบนั่นแหละพี่ หอมมาก หาร้านที่ดูไว้ใจได้แต่ไม่ต้องดูหรูอะไรนะ ดื่มนี่ตอนอากาศเย็นๆนะ โหย เดิมทีมีร้านนึงที่ผมรู้จัก เป็นร้านเล็กๆ เจ้าของร้านเป็นคนเวียดอพยพไปอยู่ที่นั่น แกแก่แล้ว ไม่รู้ตายรึยัง ทำเหล้าเยอะมาก แต่ไม่รู้จะบอกทางพี่ยังไง ซาปาไม่ใหญ่ แต่บอกทางยากอยู่...

"ตลาดคนม้งนั่นก็ควรไป ผมยังไม่เคยไปเลย เป็นตลาดนัด เข้าใจว่าเขาคงจัดให้ไปตรงกับวันนัดตลาดพอดี ที่ผมเคยไปเป็นอีกที่นึง ผมเลี่ยงไปอีกที่เพราะไม่อยากเจอนักท่องเที่ยวเยอะ ที่ผมไปชื่อตลาด Mường Khương เหมื่องเคือง เป็นเมืองของคนไตกลุ่มหนึ่ง แต่มีคนหลายกลุ่มมาตลาดนัดนี้ในวันอาทิตย์เยอะมาก แต่ไม่ใหญ่เท่าบั๊คห่า (Bắc Hà) ที่พี่จะไปหรอก...

"กลางเมืองฮานอยมีร้านเบียร์เยอรมันสดอยู่ร้านนึง นั่งสบาย อยู่ริมทะเลสาป Hồ Hoàn Kiếm โห่หว่านเกี๋ยม ด้านทิศเหนือ มีอาคารข้ามถนนไปจากบริเวณริมทะเลสาบ อาคารสูง 3-4 ชั้น ชั้นสองเป็นร้านเบียร์ชื่อ Legend Beer อาหารก็โออยู่ แต่ผมไปกินแต่เบียร์ อากาศดีๆอย่างนี้นะ นั่งจิบเบียร์ได้ไม่เบื่อ เบียร์ไม่แพง อร่อย...

"มีถนนหลายสายที่ควรเดินทอดน่องเรื่อยเปื่อย แต่ถ้าไปกันหลายๆ คนก็ระวังคนล้วงกระเป๋าหน่อยก็แล้วกัน ในถนน 36 สายคนล้วงกระเป๋าเยอะ...

"มีถนนนึง ตั้งชื่อตามกวีในปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นราชวงศ์เหงวียน กวีชื่อ Nguyễn Du เหงวียนซู ชื่อถนนตั้งตามชื่อแกเลย ผมชอบถนนสายนี้มาก เขาปลูกต้นตีนเป็ด (ภาษาเวียดเรียก Hoa Sữa ดอกน้ำนม) อายุมากแล้ว สูงมาก เดือนนี้กำลังมีดอกเลย เดินบนถนนนี้แล้วคิดถึงผลงานอมตะเหงวียนซูแล้วได้อารมณ์ดีจัง...

"ผมเขียนไปได้เรื่อยๆ แหละพี่ ยังไงพี่ไปเที่ยวนี้ดูแล้วกัน แล้วหากมีโอกาสไปพร้อมกันค่อยว่ากัน."

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา