Skip to main content

อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ ผมยินดีที่อาจารย์ออกมาแสดงความเห็นในสถานการณ์ล่อแหลมเช่นนี้ นี่ย่อมต้องเป็นสถานการณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดจริงๆ ไม่เช่นนั้นอาจารย์ก็จะไม่แสดงความเห็นอย่างแน่นอน ดังเช่นเมื่อปี 2553 เหตุการณ์การสลายการชุมนุมที่มีผู้เสียชีวิต 90 กว่าคน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน อาจารย์ก็ยังเงียบงันจนผมสงสัยและได้เคยตั้งคำถามอาจารย์ไปแล้วว่า "นักสันติวิธีหายไปไหนในภาวะสงคราม" 

แต่ไม่เป็นไรครับ มาคราวนี้ อาจารย์ออกมาแสดงความเห็น ย่อมเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับสังคมไทยในสภาวะสุ่มเสี่ยงขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง กระนั้นก็ตาม ผมมีข้อสงสัยอยู่ว่า ที่อาจารย์สรุปในข้อแรกของจดหมายถึงนายสุเทพว่า การเคลื่อนไหวของนายสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นสันติวิธี จนทำให้คนเอาไปใช้อ้างสนับสนุนนายสุเทพกันไปทั่วนั้น จะเป็น "อสันติวิธี-วิหิงสา-อนารยะขัดขืน" ตั้งแต่ต้นเสียมากกว่าหรือเปล่า 

ผมเข้าใจว่าอาจารย์ได้ติติงนายสุเทพไว้ในข้อท้ายๆ ของจดหมายอยู่พอสมควร แต่ก็ยังสงสัยว่า การเคลื่อนไหวของนายสุเทพเป็นสันติวิธีแต่แรกแล้วอาจจะกลับกลายเป็นอสันติวิธี หรือเป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดหลักการสันติวิธีตั้งแต่แรกเริ่มมาแล้วกันแน่ อาจารย์ครับ อาจารย์เป็นครูที่ผมเคารพ และเป็นปรมจารย์ของสันติวิธีในประเทศไทย ผมจึงขอความรู้จากอาจารย์ดังนี้ 

ข้อแรก ผู้ใช้สันติวิธีจะต้องเป็นผู้รักสันติด้วยหรือไม่ กรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้มีประวัตินิยมความรุนแรง สั่งการให้มีการใช้กำลังทหารและอาวุธสงครามสลายการชุมนุมจนเป็นเหตุให้ประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมากในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 2553 แล้วขณะนี้กลับมานำมวลชน ต่อสู้เพื่อล้มระบอบทักษิณ ด้วยวิธีการที่คล้ายกับสันติวิธี จะถือว่าใช้สันติวิธีได้หรือไม่ หรือใครก็เป็นนักสันติวิธีได้ตราบใดที่เขาใช้หันมาใช้วิธีการต่อสู้อย่างสันติ แม้ว่าเขาจะเคยใช้ความรุนแรงอย่างร้ายกาจต่อประชาชนมือเปล่าผู้บริสุทธิ์มากมายจนประจักษ์แก่ตาชาวโลกไปทั่วแล้วก็ตาม อาจารย์เชื่อจริงๆ หรือครับว่านายสุเทพเป็นคนรักสันติ 

ข้อต่อมา เท่าที่ผมเข้าใจ สันติวิธีใช้ต่อสู้เพื่อชนผู้ไร้อำนาจต่อรอง สันติวิธีใช้เพื่อต่อกรกับผู้ใช้อำนาจครอบงำ สันติวิธีเป็นอำนาจของชนชั้นผู้ยากไร้ ด้อยอำนาจ ไร้พลังต่อต้านด้วยวิธีอื่น แต่ผมแน่ใจได้ว่า การต่อสู้ของนายสุเทพและพรรคพวกไม่ได้เป็นไปเพื่อคนยากไร้ คนด้อยอำนาจตั้งแต่แรกก่อตั้งขบวนการอย่างแน่นอน การต่อสู้ของนายสุเทพและพรรคพวกได้รับการสนับสนุนจากคนมีอำนาจ อยู่ในกลุ่มชนชั้นนำทางสังคมและการเมือง เช่น นักวิชาการที่สนับสนุนการรัฐประหาร ชนชั้นกลางและชนชั้นนำที่มีรายได้สูงจำนวนมาก และยังชนชั้นสูงจากระบอบเก่าอีกกลุ่มหนึ่ง คนเหล่านี้ต่อสู้เพื่อคงอำนาจจนถึงราชศักดิ์ของตนไว้มากกว่าต่อสู้เพื่อคนด้อยอำนาจไม่ใช่หรือ ซ้ำร้าย คนเหล่านี้ยังดูถูกชนชั้นล่างๆ ลงมาในสังคม ว่าไร้การศึกษา โง่เป็นควาย ตั้งแต่แรกเร่ิมการต่อสู้ อย่างนี้แล้วการต่อสู้ของนายสุเทพและขบวนการนกหวีดจะเป็นสันติวิธีได้ด้วยหรือ 

ข้อสาม ขณะนี้ประเทศเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่จะต้องใช้สันติวิธีล้มล้างอำนาจรัฐกันแล้วหรือหรือ สันติวิธีจะใช้เมื่อไม่มีวิธีอื่นใดที่สันติกว่าหลงเหลืออยู่ในการต่อสู้อีกต่อไปแล้วใช่หรือไม่ แต่ขณะนี้เรามีรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญ มีองค์กรทางการเมืองอีกมากมาย เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระต่างๆ ศาลยุติธรรม ฯลฯ องค์กรเหล่านี้ง่อยเปลี้ย ไม่มีอำนาจ ถูกครอบงำจากพลังชั่ว ไม่สามารถคงความยุติธรรมได้แล้วจริงหรือ หากเราไม่เชื่อถือในสถาบันทางการเมืองใดๆ เลย แล้วใช้วิธีการที่ใกล้เคียงกับสันติวิธีไปเรื่อยๆ เพื่อล้มล้างทำลายสถาบันทางการเมืองไปจนถึงขีดสุด สันติวิธีจะยังเป็นวิธีการที่ถูกนำมาสร้างสันติสุขอยู่อีกหรือ เราต้องถามด้วยหรือไม่ว่า เมื่อใดกันที่สันติวิธีมีความชอบธรรม หรือเมื่อใดก็ได้ ใครก็ได้ จะใช้เพื่ออะไรหรือเพื่อใครก็ตาม หากใช้วิธีการคล้ายๆ สันติวิธีแล้ว ก็ล้วนเป็นสันติวิธีหมดหรือ 

ข้อสี่ วิธีการคล้ายสันติวิธีของนายสุเทพ เทือกสุบรรณและมวลชนนกหวีด เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยสันติ หรือเป็นการทำลายสันติสุขเพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรงกันแน่ ข้อนี้เราไม่อาจกล่าวหากันได้อย่างตรงไปตรงมาง่ายๆ แต่น่าสงสัยว่า หากไม่เกิดความรุนแรงขึ้นมาแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยในขณะนี้ตามข้อเรียกร้องของนายสุเทพและพวกได้อย่างไร หากสันติวิธีที่กระทำไปเพื่อหวังผลทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้าม ด้วยการกดดันยั่วยุจนทำให้ฝ่ายรัฐจำต้องใช้ความรุนแรงแล้ว จะยังเรียกว่าสันติวิธีได้หรือไม่ ซ้ำร้าย อาจารย์ก็น่าจะทราบดีว่า นายสุเทพและพรรคพวกพยายามเรียกร้องให้ทหารออกมาใช้กำลังรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้แล้วเรายังจะเรียกการต่อสู้นี้ว่าสันติวิธีได้อีกหรือ

สรุปแล้ว อาจารย์ชัยวัฒน์ครับ เมื่ออ่านข้อเขียนอาจารย์จนจบ ผมเข้าใจได้ไม่ยากว่าสันติวิธีไม่ได้เป็นเพียงวิธีการ แต่จะสันติวิธีจะต้องเป็นทั้งวิธีการ เป้าหมาย และหลักการทางการเมืองของขบวนการอย่างสันติเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากไปพร้อมกันตั้งแต่เร่ิมแรก แต่การใช้วิธีการคล้ายสันติวิธี โดยผู้นิยมความรุนแรง เพื่ออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อย นอกระบอบประชาธิปไตย จนเป็นการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดการรัฐประหารโดยการใช้กำลังรุนแรง จะถือว่าเป็นสันติวิธีตั้งแต่แรกจนถึงขณะนี้ด้วยหรือครับ 

ด้วยความนับถือ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ