Skip to main content
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

 
ผมเคยเขียนงานชิ้นหนึ่งส่งอาจารย์ตอนเรียนปริญญาเอกเมื่อเกือบสิบปีก่อน หนึ่งในความเห็นที่อาจารย์ให้มาคือ "งานคุณอ่านแล้วเป็น magical realism มากเลย" 
 
อาจารย์ผมคนนี้ชื่อ Kirin Narayan เป็นนักมานุษยวิทยาที่เขียนนิยายด้วย เธอสอนวิชาการเขียนกับวิชาคติชนวิทยา ผมเรียนด้วยทั้งสองวิชา ในวิชาคติชนวิทยา ผมเขียนถึงคติความเชื่อเรื่อง "เงือก" ของชาวลาวที่อพยพไปอยู่ที่อเมริกา หลักๆ คือได้สัมภาษณ์พี่หรั่งกับพี่จัน ขอเล่าอย่างสั้นๆ
 
พี่หรั่งกับพี่จันเล่าถึงชีวิตในลาวก่อนสงครามระหว่างอเมริกันกับอินโดจีนที่มีไทยหนุนหลังอเมริกัน สองคนเล่าโดยโยงกับผีเงือกตลอด ผมจึงสนใจอยากรู้ว่า เงือกคืออะไร
 
พี่ทั้งสองบอกว่า เงือกเหมือนงูใหญ่ อาศัยตามวังน้ำ พี่หรั่งเล่าว่าตนเคยถูกผีเงือกเล่นงานบ่อย จากเรื่องเล่าหลายๆ เรื่อง ผมได้ข้อสรุปอย่างหนึ่งว่า ผีเงือกชอบเล่นงานคนทำไม่ดี มีตอนหนึ่งพี่หรั่งเล่าเรื่องผีเงือกถูกพวกคอมมิวนิสต์จับมาฆ่ากลางถนน คนจึงกลัวพวกคอมมิวนิสต์มาก
 
ผมตีความว่า เงือกเป็นสัญลักษณ์ของการแลกเปลี่ยน "ความดี" ในความหมายที่เล่าผ่านผีเงือกจึงเป็นความสมดุลของการแลกเปลี่ยน การตอบแทนกัน ช่วยเหลือกัน รวมทั้งการไม่เอาเปรียบธรรมชาติ คือความดีที่จะได้รับการคุ้มครอง แต่ผิดจากนี้จะถูกเงือกเล่นงาน ที่น่าสนใจคือท้ายสุด พี่สองคนรู้สึกเหมือนว่า  "ความดี" ได้ถูกทำลายลงด้วยพวกคอมมิวนิสต์
 
ผมถามพี่หรั่งว่า "แล้วในอเมริกามีเงือกไหม" พี่หรั่งบอกว่า "มี มีตัวหนึ่งชอบแปลงกายเป็นผู้หญิงมาตามเล่นงานพี่อยู่บ่อยๆ" พี่หรั่งเล่าอย่างจริงจังพร้อมการสนับสนุนรายละเอียดและความน่าสะพรึงกลัวเป็นระยะๆ จากพี่จัน
 
เรื่องของพี่หรั่งกับพี่จันคงมีความเป็นแมจิค่อล เรียลิสซึ่มในความหมายที่มากกว่าแค่การอยู่กับเงือกอย่างปกติธรรมดา แต่พี่หรั่งกับพี่จันยังบอกเล่าชีวิตหลังยุคสิ้นสุดของความหวังจากมุมของคนที่แทบจะไม่สามารถหวังอะไรได้มากเกินการทำชีวิตประจำวันให้เดินหน้าต่อไป
 
มาร์เกซเขียนถึงการต่อสู้ของประชาชน เขียนถึงความสูญเสียที่กัดกินชีวิตประจำวันของนักต่อสู้ที่ในที่สุดก็ต้องพ่ายแพ้ไร้คนจดตำ เขียนถึงความสูญค่าของการล้มตาย เขียนถึงการจ่อมจมอยู่กับโลกน่าอัศจรรย์ในสายตาชาวโลกสมัยใหม่ แต่ก็กลับเป็นชีวิตอย่างปกติธรรมดาของชาวโลกส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางการติดต่อสังสรรค์กับคนต่างภพ เขียนถึงชีวิตสิ้นหวังหลังการต่อสู้เพื่อความหวัง
 
มาร์เกซคงบอกเล่าชีวิตของคนในยุคนี้ ที่ไม่รู้จะเรียกว่ายุคอะไรดี ได้อย่างจับใจ จนใครๆ ก็อ่านกัน ผมคิดว่า งานมาร์เกซคงไม่จับใจนักปฏิวัติรุ่นก่อนหน้าเขา ที่มีความหวังกับโลก และที่ยังคิดแทน วาดหวังให้ พร้อมอุ้มชูเป็นผู้นำให้กับชนผู้ทุกข์ยาก
 
ผมไม่คิดว่าจะมีนักคิดนักเขียนไทยยุค 60s, 70s คนไหนบ้างที่คร่ำครวญถึงงานมาร์เกซ ผมเดาว่า พวกเขาคงไม่อ่านมาร์เกซ ส่วนคนรุ่นผม ไม่รู้ทำไม งานที่ชวนให้สิ้นหวัง จมปลัก หลอกหลอนตนเองอยู่กับภพภูมิอื่น จึงส่งอิทธิพลให้มากนัก
 
ชีวิตหลังยุคอุดมการณ์ หรือที่บางคนเรียกว่าหลังประวัติศาสตร์ คงไม่เพียงเป็นความสิ้นสุดลงของอุดมการณ์ทางเลือกเพื่อความเสมอภาคแบบคอมมิวนิสต์ แล้วกลายเป็นการครอบงำของประชาธิปไตยแบบตะวันตกหรอก 
 
ในขณะเดียวกันกับที่นักประชาธิปไตยยุคหลังอาณานิคมกำลังค้นหาแหล่งอ้างอิงประชาธิปไตยใหม่ๆ นอกโลกตะวันตกอยู่ หลังการเข้าร่วมต่อสู้กับนักโฆษณาขายความหวัง ผู้คนจำนวนมากกำลังสิ้นหวัง โดดเดี่ยว จมจ่อมกับชีวิตกึ่งฝันกึ่งจริงในทุกเมื่อเชื่อวัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ